Sunday, October 27, 2013

สร้างรายได้จากกล้องของคุณ! จาก DCM Thailand

Author: Angela Nicholson
Credit: Digital Camera Magazine (Thailand)

ผมได้อ่านบทความนึงจากนิตยสาร Digital Camera ฉบับภาษาไทย ได้เขียนถึงช่องทางการสร้างรายได้ของช่างภาพเอาไว้ เห็นว่าดีมีประโยชน์เลยขออนุญาติมาเล่าสู่กันฟังครับ (ท่านใดอยากอ่านละเอียดก็อุดหนุนนิตยาสาร DCM กันได้น่ะครับ)

ผู้เขียนบทความ (Angela Nicholson) ได้พยายามสรุปออกมาให้เห็นว่ากล้องถ่ายภาพ เสนส์และอุปกรณ์เสริมต่างๆ ราคาก็ไม่ใช่ถูกๆเลย ที่เหล่าช่างภาพอย่างเราๆ ครอบครองอยู่นั้น จะดีไหมถ้ามันสามารถสร้างรายได้กลับมาให้ช่างภาพเหล่านั้น

นิตยสาร Digital Camera - September 2013


ขายภาพพิมพ์

ช่างภาพที่มีผลงานภาพถ่ายที่ดูมีศิลปะอยู่ในตัว สามารถทำเงินจากภาพได้ด้วยการขายภาพพิมพ์ผลงานของตัวเอง โดยอาจจะอยู่ในรูปของ การ์ด ปฏิทิน หรือการเข้ากรอบให้สวยงาม แล้วไปฝากวางขายตามร้านหนังสือ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร หรือแกลลอรี่

การแสดงผลงานผ่านร้านอาหาร/ร้านกาแฟ (Photo credit: David Sifry / flickr.com)

แน่นอนว่าการทำวิธีนี้ ย่อมมีต้นทุนเกิดขึ้นจากการผลิตสินค้า เช่นค่าพิมพ์ ค่ากระดาษ ค่าเข้ากรอบรูป แล้วมีความยากในการติดต่อกับเจ้าของร้านต่างๆ เมื่อติดต่อได้วางผลงานแล้ว ก็ต้องมาลุ้นการขายว่าสำเร็จหรือไม่ และถ้าขายได้ แน่นอนว่าย่อมต้องมีการแบ่งส่วนรายได้ให้กับสถานที่ที่เราไปจัดแสดงด้วย

ในเมืองไทยผมว่าคอนเซ็ปนี้ก็คงพอมีบ้าง แต่ก็ไม่มากนัก แต่ผมว่าในเมืองนอกคงมีเยอะมาก แล้วก็มีการเสนอขายผลงานภาพพิมพ์ผ่านเว็บไซต์กันมากมาย ช่างภาพที่มีพอนำเสนอผลงานผ่านเว็บแกลลอรี่ได้ ก็มีโอกาสขายงานได้ทั่วโลกครับ


ส่งงานตีพิมพ์

การส่งผลงานไปตีพิมพ์ตามสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ (Photo credit: Jessica Spengler / flickr.com)

อีกช่องทางหนึ่งที่ผู้เขียนแนะนำคือการนำเสนอผลงานภาพถ่ายของเราไปยังสำนักพิมพ์ต่างๆ เพื่อขายงานไปสู่การตีพิมพ์ ในเมืองไทยผมว่าคงยากสักหน่อยเพราะสำนักพิมพ์ต่างๆ ก็คงมีช่างภาพประจำกันอยู่แล้ว ซึ่งคงน้อยในการพิจารณาซื้อภาพจากช่างภาพอิสระ และเดี๋ยวนี้วงการโฟโต้สต๊อกก็โตมาก ทำให้ตัวเลือกในการหาภาพมีมากมาย


ถ่ายภาพพิธีวิวาห์

การรับจ้างถ่ายงานแต่งงานหรือการถ่าย pre-wedding ในเมืองไทยผมว่าเป็นที่นิยมมากๆ ช่างภาพมืออาชีพฝีมือดีก็มีค่าตอบแทนที่สูงเลยทีเดียว ผู้เขียนเธอได้แนะนำว่า ถึงแม้คุณยังไม่สามารถเป็นช่างภาพหลักของงานวิวาห์นั้น แต่ก็สามารถเป็นช่างภาพเสริมเพื่อช่วยถ่ายภาพในมุมอื่นๆ (มุมแปลกๆ) และภาพเบื้องหลัง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่น่าประทับใจไม่น้อย

การถ่ายรูปงานแต่งงาน (Photo credit: Daniel Ramirez / flickr.com)

ผู้เขียนเธอไม่ได้พูดถึงช่างภาพถ่ายงานรับปริญญาเอาไว้ ผมคิดว่าในไทยถือว่าเป็นการหารายได้อย่างหนึ่ง ที่เป็นบันไดก้าวแรกของการหารายได้ในรูปแบบอื่น เริ่มแรกช่างภาพมือใหม่ขอแค่ไปฝึกถ่ายให้ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในแบบกันเองไปก่อน ซักพักการว่าจ้างในราคาย่อมเยาว์ก็จะตามมา และผ่านไปสู่ค่าตัวที่สูงขึ้นในอนาคตครับ

การถ่ายภาพรับปริญญา (Photo credit: Will Folsom / flickr.com)


ถ่ายภาพสำหรับสต๊อก

แล้วก็มาสู่ประเด็นหลักที่ผมจะมาเล่าสู่กันฟัง ก็การขายภาพถ่ายภาพเว็บโฟโต้สต็อก ผู้เขียนเธอได้ให้คำนิยามไว้ว่า "ห้องสมุดภาพถ่าย"

"ความต้องการภาพใหม่ๆ ของห้องสมุดภาพเป็นสิ่งที่ไม่มีวันจบสิ้น แต่คุณต้องคิดด้วยว่าภาพไหนที่จะขายได้" เธอกล่าว คือความจริงที่สะท้อนถึงวงการโฟโต้สต๊อก เพราะมีเพื่อนผมหลายคนถามว่า "รูปทุกอย่างก็มีช่างภาพเค้าถ่ายกันหมดแล้ว แล้วเราจะถ่ายภาพอะไรส่งไปขายดี?" หรือไม่ก็ถามว่า "แล้วภาพแบบนี้จะขายได้เหลอ?" ผมก็ตอบไปว่า อย่าไปกังวลมีโอกาสขายได้เสมอ เพียงแค่ว่าจะขายได้ช้าหรือเร็ว แล้วถ้ารูปที่คิดว่ามันจะไปซ้ำกับภาพอื่นๆ และถ้าเราคิดนำเสนอในมุมมองใหม่ๆ แปลกตา เหล่าลูกค้าที่รอซื้อรูปใหม่อยู่ เค้าก็ไม่รีรอที่จะซื้อรูปแปลกๆเหล่านั้น 555+

การส่งขายภาพภ่ายในโฟโต้สต๊อก (Photo credit: Robert Couse-Baker / flickr.com)

ผู้เขียนบอกถึงจุดประสงค์ของห้องสมุดภาพไว้ว่า เป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างช่างภาพและผู้คน บริษัท องค์กรที่ซื้อภาพถ่าย ห้องสมุดทำการจัดเก็บภาพถ่ายจำนวนมากที่แบ่งประเภทเอาไว้ และผู้ซื้อสามารถค้นหาภาพที่ต้องการผ่านทาง keywords จากนั้นก็สามารถเข้าสู่กระบวนการจ่ายเงินได้ในทันที

ในบทความได้สัมภาษณ์ Alan Capel ผู้เชี่ยวชาญจากเว็บ alamy.com ในพาดหัวที่ว่า "เคล็ดลับวงในจาก Alamy"
  


เว็บ alamy.com

Q: ทุกๆคนส่งงานได้ใช่ไหม?
A: แน่นอน แต่ภาพต้องผ่านเกณฑ์คุณภาพก่อน ที่ alamy มีภาพจากมือสมัครเล่นฝีมือดี ไปจนถึงช่างภาพมือรางวัลระดับโลก

Q: คุณจะแนะนำกล้องรุ่นไหนเป็นพิเศษไหม?
A: โดยทั่วไปเราแนะนำให้ใช้กล้อง DSLR ที่มีความละเอียด 6 ล้านพิกเซลหรือสูงกว่านั้น

Q: คุณมองหาอะไรในภาพถ่าย?
A: เราตรวจสอบเฉพาะคุณภาพทางเทคนิคเท่านั้น alamy จะไม่กำหนดโชคชะตาของภาพถ่ายให้ขึ้นอยู่กับผู้ตรวจภาพคนเดียว เพราะความสวยงาม ความเหมาะสมนั้นมักจะขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ใช้งาน เรามีตัวอย่างจำนวนมากสำหรับภาพที่ถูกตีกลับโดยเอเยนซี่อื่นๆ แต่สามารถขายได้ที่ alamy

Q: อะไรคือสาเหตุหลักของการตีกลับ?
A: กล้องไม่เหมาะสม ภาพมีความเบลอและไร้ความชัดเจน ภาพที่ไม่มีการกำจัดริ้วรอยหรือเม็ดฝุ่น

Q: ส่วนใหญ่แล้วลูกค้าต้องการภาพแบบไหน?
A: เราขายภาพถ่ายทุกๆอย่าง แต่ก็มีบางแนวที่ขายดีแบบเทน้ำเทท่า อย่างเช่นภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวที่คนนิยม ภาพธุรกิจและไลฟ์สไตล์ที่มีภาพคนก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน

นอกจากนี้ Alan ได้กล่าวเสริมอีกว่า... "ถ่ายสิ่งที่คุณชอบและถ่ายด้วยสไตล์ที่สามารถแสดงให้เห็นถึงพรสวรรค์ของคุณ แค่นี้ตลาดก็จะมาหาคุณเอง คุณจำเป็นต้องมีพื้นฐานที่ดี แสงที่ดี องค์ประกอบภาพที่สวยงาม เวลาที่คุณถ่ายภาพคุณต้องถามตัวเองว่า คุณจะสามารถนำภาพนี้ไปใช้ได้อย่างไร? ถ้าคุณตอบคำถามนี้ไม่ได้ คุณก็ไม่ควรส่งภาพนี้มา!"... แรงส์... โดนใจผมจริงๆ เจ็บจี๊ดๆ 555+

หมายเหตุ: คำถาม/คำตอบ ของคุณ Alan ผมยกมานำเสนอแค่บางส่วน รายละเอียดเพิ่มเติมหาอ่านได้ในนิตยสาร DCM น่ะครับ

ไว้เจอกันใหม่บล็อกหน้าครับ ^^

No comments:

Post a Comment