Tuesday, November 19, 2013

Shuttterstock เว็บสต็อกโฟโต้ชั้นนำของโลก (Part 1)

ถ้าจะให้พูดถึงเว็บสต็อกโฟโต้หรือไมโครสต็อกชั้นนำของโลก ณ จุดนี้ คงหนีไม่พ้นเว็บ Shutterstock เว็บเพิ่งที่ก่อตั้งมาได้ 10 ปี แต่ได้รับความนิยมของผู้ซื้อ (customers) และผู้ขาย (contributors) จากทั่วโลกเป็นอย่างมาก

http://www.shutterstock.com/?rid=591133
รูปที่ 1 - Shutterstock logo

ผมลองค้นดูแนวโน้มของกระแสความนิยมของ Shutterstock ใน "Google Trends" เมื่อเทียบกับเว็บเอเจนซี่ไมโครสต็อกระดับแนวหน้าด้วยกันอย่าง iStockphoto, Fotolia, Dreamstime และ 123rf ผลดังกราฟรูปที่ 2 จะเห็นว่าทิศทางการเติบโตของ Shutterstock ดีขึ้นอย่างมาก รองลงมาก็เป็น Fotolia และ 123rf ส่วนเว็บ iStockphoto จากเดิมเคยนำมากก่อน แต่ค่อนข้างจะแผ่วซ่ะแล้ว โดยระยะครึ่งปีหลังมานี้ iStockphoto มีการปรับกลยุทธ์มากมาย ตั้งแต่ลดราคาขายลงครึ่งราคา ปรับลดความเข้มงวดในการสอบเข้าก็น้อยลง และเพิ่มโควต้าการส่งรูปต่อสัปดาห์มากขึ้น เป็นต้น

รูปที่ 2 - กราฟเปรียบเทียบแนวโน้มของ 5 เว็บไมโครสต็อกชั้นนำ (ที่มา: Google Trends, เมื่อ 17 Nov 2013)

จากความโดดเด่นอย่างมากของเว็บ Shutterstock จึงทำให้น่าคิดว่าเขาใช้กลยุทธ์อะไรในการดึงช่างภาพ (photographers) ศิลปินรูปวาด (illustrators) และศิลปินวิดีโอ (videographers) ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพฝีมือดีจากทั่วโลกมาร่วมงานด้วย แล้วมีความพอใจกับส่วนแบ่งรายได้ที่ได้รับ

รูปที่ 3 - กราฟเปรียบเทียบแนวโน้มของเว็บไมโครสต็อกกับเว็บสต็อกโฟโต้แบบดั้งเดิม (ที่มา: Google Trends, เมื่อ 17 Nov 2013)

จากการแจ้งเกิดของวงการเว็บเอเจนซี่ไมโครสต็อก อาทิเช่น Shutterstock, iStockphoto, Fotolia เป็นต้น ทำให้เว็บเอเจนซี่สต็อกโฟโต้แบบดั้งเดิม (traditional stock) อย่าง Gettyimages และ Corbis ต่างก็มีแนวโน้มของกระแสความนิยมที่ตกลงเรื่อยๆ ดังรูปกราฟที่ 3 ระดับความนิยมของเว็บเอเจนซี่ยักษ์ใหญ่ทั้งสองตกลงสวนกระแสกับรุ่นน้องที่กำลังพุ่งแรง

จากข้อมูลข้างต้นผมเองก็ยังไม่เชื่อหรอกนะว่าเว็บ Shutterstock จะเป็นพระเอกในขณะนี้ จึงได้หาข้อมูล "Google PageRank" หรือตัววัดความสำคัญของเว็บโดยกูเกิล มีคะแนน 0 ถึง 10 และถ้ายิ่งมีเลขมากก็ยิ่งมีความสำคัญมาก และอีกตัววัดนึงเป็นค่า "Alexa Rank" หรือการจัดอันดับการเข้าชมเว็บจากทั่วโลกโดย alexa ซึ่งเว็บไหนมีตัวเลขยิ่งน้อยก็จะดีกว่าเว็บที่มีตัวเลขมาก

ผมได้รวบรวมเว็บไมโครสต็อกและเว็บสต็อกโฟโต้แบบดั้งเดิมเท่าที่ผมรู้จัก มาจัดเรียงอันดับความนิยมมากที่สุดไปหาน้อย อ้างอิงตามเกณฑ์ลำดับของทั้งสองค่ายดังที่กล่าวมา ตามตารางด้านล่างครับ

No. Stock Photos Google
PageRank
Alexa
Rank
1. Shutterstock 8 228
2. iStockphoto 7 350
3. 123rf 6 403
4. Fotolia 7 464
5.Dreamstime 7 727
6. Depositphotos 6 1,134
7. Bigstockphoto 6 2,087
8. Freedigitalphotos 7 2,259
9. Gettyimages 7 2,714
10. Photodune 6 3,194
11. Canstockphoto 6 4,451
12. Pond5 6 8,301
13. Colourbox 7 8,900
14. Corbis 7 9,139
15. Alamy 6 13,412
16. Veer 6 18,776
17. Yaymicro 4 19,434
18. Stockfresh 5 21,766
19. Graphicleftovers 5 35,876
20. Panthermedia 5 41,981
21. Kozzi 4 43,862
22. Crestock 5 45,345
23. Cutcaster 5 53,513
24. Pixmac 6 63,317
25. Mostphotos 4 74,087
26. Photokore 3 171,871
ตารางที่ 1 - การจัดอันดับเว็บสต็อกโฟโต้โดยใช้ Google PageRank และ Alexa Rank

ข้อมูลการจัดอันดับของผมเองใน 5 อันดับแรง เป็น Top 5 จากหนังสือของคุณสุระ ได้เขียนแนะนำไว้ นั่นคือ Shutterstock, iStockphoto, 123rf, Fotolia และ Dreamstime สำหรับช่างภาพหรือศิลปินรูปวาดท่านใด สนใจหารายได้จากเว็บสต็อกโฟโต้ ก็ให้เริ่มจาก 5 เว็บนี้ก่อนได้เลย รับรองไม่ผิดหวังครับ และถ้ามีเวลาว่างมากขึ้น ก็ทยอยส่งไปยังเว็บเอเจนซี่ที่เหลือได้เลย (ยกเว้น Gettyimages และ Corbis ที่มีการคัดกรอกช่างภาพอย่างเข้มงวด)

www.jonoringer.com
รูปที่ 4 - Jon Oringer (ที่มา: jonoringer.com)

เกริ่นนำความหล่อเท่ของ Shutterstock ไปแล้ว เรามาดูข้อมูลทั่วไปของบริษัท Shutterstock, Inc. กันซักนิดครับ เว็บ Shutterstock เริ่มออนไลน์ครั้งแรกเมื่อปี 2013 ก่อตั้งโดยนาย "Jon Oringer" มีสำนักงานอยู่ที่ New York, USA (ปัจจุบันมีพนักงานในบริษัทเกือบ 300 คน)

ปัจจุบันเว็บมีไฟล์พร้อมขายอยู่ที่ประมาณ 31 ล้านไฟล์ ประกอบด้วย ภาพถ่าย (photos), กราฟิกเวกเตอร์ (vector graphics), รูปวาด (illustrations) และคลิปวิดีโอ (video clips) ถูกผลิตขึ้นจากผู้ขายกว่า 40,000 รายทั่วโลก และมีลูกค้าทั่วโลกรอซื้ออยู่ประมาณ 750,000 ราย เว็บไซต์ให้บริการไปยัง 150 ประเทศ มีระบบภาษารองรับทั้งหมด 20 ภาษา ซึ่งหนึ่งในนั้นมี "ภาษาไทย" ด้วยครับ

บริษัท Shutterstock, Inc. เติมโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2009 บริษัทได้ซื้อกิจการเว็บไมโครสต็อกระดับกลาง "Bigstockphoto" และจากนั้นในปี 2012 ก็ได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) ในชื่อ "SSTK" (ดูกราฟราคาหุ้นได้ดังรูปที่ 7) ถัดมาก็เปิดให้เว็บแบรนด์น้องใหม่ที่ชื่อ "Offset" เพื่อเป็นเว็บให้บริการสต็อกโฟโต้ระดับคุณภาพเยี่ยม (premium stock photos) งานนี้ Shutterstock หวังปั้น Offset เข้าถ้าชนรุ่นพี่อย่าง Gettyimages และ Corbis อย่างไม่น่าสงสัย

รูปที่ 5 - หน้าแรกของเว็บ Shutterstock ระบบภาษาอังกฤษ

รูปที่ 6 - หน้าแรกของเว็บ Shutterstock ระบบภาษาไทย

จากเอกสารที่เผยแพร่สำหรับนักลงทุนในเว็บ Shutterstock ได้ยกตัวอย่างกลุ่มลูกค้าของบริษัทเอาไว้ อาทิเช่น บริษัท Apple, Oracle, Accenture, BCG, AOL, Universal, AP Associated Press, Barnes & Noble, ABC News, News Corporation,  McKinsey&Company, Corbis เป็นต้น (น่าแปลกใจที่ corbis ก็เป็นลูกค้าของ Shutterstock ^_^)

ข้อมูลของผู้ผลิตผลงาน (ประมาณ 40,000 ราย) ไปฝากขายที่เว็บ Shutterstock นั้น ก็มากมายเช่นกัน มีสถิติจากเว็บ Shutterstock ประมาณยอดไฟล์ใหม่ที่ผ่านการตรวจมีมากกว่า 150,000 ไฟล์ต่อสัปดาห์เลยทีเดียว ตกเดือนนึงมีไฟล์ใหม่ออนไลน์ในเว็บอยู่ที่ประมาณ 600,000 ไฟล์ เยอะมว้ากก...

รูปที่ 7 - กราฟราคาหุ้นของ Shutterstock (NYSE: SSTK)

ผมลองสำรวจจำนวนรูปในทุกหมวดหมู่ของเว็บ Shutterstock (ไม่รวมวิดีโอ) ดังตารางที่ 2 ก็เริ่มสังเกตเห็นว่ากระแสกราฟิกเวกเตอร์/รูปวาด กำลังมาแรงเรื่อยๆ อย่างเช่นหมวดหมู่ Illustrations/Clip-Art, Vector คือกลุ่มหลักๆที่สะสมงานประเภทนี้ไว้เยอะ และนอกจากนั้นในหมวดหมู่อื่นๆ รูปที่ติดอันดับขายดีก็มีรูปแนวเวกเตอร์ปะปนอยู่จำนวนมาก เท่าที่ประเมินด้วยสายตา รูปเวกเตอร์ขายดีกว่ารูปแนวภาพถ่ายประมาณ 2 เท่าเลยทีเดียวครับ

มองในแง่โอกาสของศิลปินนักวาดภาพแนว Illustrators ยังมีพื้นที่เปิดกว้างสำหรับท่านอยู่มาก ในส่วนช่างภาพก็ยังพอมีที่ยืนได้ถ้าผลงานเราโดดเด่น แปลกใหม่ ซึ่เว็บ Shutterstock นี้ยังเป็นขุมทองของนักล่าฝันอยู่น่ะครับ

หมวดหมู่ จำนวนรูป
(ล้านรูป)
Abstract 2.6
Animals/Wildlife 1.8
The Arts 0.7
Backgrounds/Textures 4.6
Beauty/Fashion 2.3
Buildings/Landmarks 1.6
Business/Finance 1.7
Celebrities 0.8
Editorial 1.9
Education 0.5
Food and Drink 3.8
Healthcare/Medical 0.9
Holidays 1.5
Illustrations/Clip-Art 8.5
Industrial 5.9
Interiors 3.5
Miscellaneous 1.1
Model Released Only 5.6
Nature 4.4
Objects 4.2
Parks/Outdoor 2.5
People 7.0
Religion 0.3
Science 0.1
Signs/Symbols 1.5
Sports/Recreation 1.1
Technology 0.8
Transportation 0.5
Vectors 4.1
Vintage 0.8
ตารางที่ 2 - จำนวนรูปในแต่ละหมวดหมู่ของเว็บ Shutterstock

เตรียมตัวกันก่อนที่จะลุยสมัครเป็นผู้ขายในเว็บ Shutterstock (Become a Contributor)
  •  ก่อนที่จะเป็น Contributor ที่นี่ได้ต้องผ่านการสอบคัดเลือกเสียก่อน โดยต้องส่งภาพถ่ายหรือรูปกราฟฟิกเวกเตอร์ไปสอบก่อน 10 ภาพ และต้องผ่าน 7 รูปขึ้นไป ถ้าสอบไม่ผ่านก็ต้องรอประมาณ 1 เดือน ถึงจะกลับมาสอบใหม่ได้
  • ในการส่งรูปไปสอบคัดเลือก ต้องแนบเอกสาร passport ไปพร้อมกันตั้งแต่ตอนสมัครสอบเลย ถ้าเอกสารไม่พร้อม ก็จะไม่ผ่านการพิจารณา
  • ภาพถ่ายหรือรูปแนว Illustrations กำหนดเป็นไฟล์ฟอร์แมต JPG มีความละเอียดขั้นต่ำที่ 4.0 ล้านพิกเซล (min. 4.0 megapixels)
  • กรณีเป็นไฟล์ vector กำหนดรับเป็นฟอร์แมต EPS มีขนาดใหญ่ไม่เกิน 15 MB (max. 15 MB)
  • กรณีเป็นคลิปวิดีโอ แนะนำส่งเป็นฟอร์แมต MPEG หรือ MOV ที่เป็นไฟล์ HD  หรือวิดีโอที่มีขนาดความละเอียดขั้นต่ำที่ 480 x 640 พิกเซล โดยมีความยาวไม่ต่ำกว่า 7 วินาที และไม่เกิน 60 วินาที

ในตอนแรกนี้ผมก็วิเคราะห์เบาๆ ตามความคิดตัวเองไว้แค่นี้ก่อน ส่วนบล็อกหน้า (ตอนที่2 คลิกอ่านได้แล้วครับ) เราก็มาลุยสมัครขายรูปที่ Shutterstock กันเลยครับ... ขอบคุณที่ติดตามกันน่ะครับ ^_^

Sunday, October 27, 2013

สร้างรายได้จากกล้องของคุณ! จาก DCM Thailand

Author: Angela Nicholson
Credit: Digital Camera Magazine (Thailand)

ผมได้อ่านบทความนึงจากนิตยสาร Digital Camera ฉบับภาษาไทย ได้เขียนถึงช่องทางการสร้างรายได้ของช่างภาพเอาไว้ เห็นว่าดีมีประโยชน์เลยขออนุญาติมาเล่าสู่กันฟังครับ (ท่านใดอยากอ่านละเอียดก็อุดหนุนนิตยาสาร DCM กันได้น่ะครับ)

ผู้เขียนบทความ (Angela Nicholson) ได้พยายามสรุปออกมาให้เห็นว่ากล้องถ่ายภาพ เสนส์และอุปกรณ์เสริมต่างๆ ราคาก็ไม่ใช่ถูกๆเลย ที่เหล่าช่างภาพอย่างเราๆ ครอบครองอยู่นั้น จะดีไหมถ้ามันสามารถสร้างรายได้กลับมาให้ช่างภาพเหล่านั้น

นิตยสาร Digital Camera - September 2013


ขายภาพพิมพ์

ช่างภาพที่มีผลงานภาพถ่ายที่ดูมีศิลปะอยู่ในตัว สามารถทำเงินจากภาพได้ด้วยการขายภาพพิมพ์ผลงานของตัวเอง โดยอาจจะอยู่ในรูปของ การ์ด ปฏิทิน หรือการเข้ากรอบให้สวยงาม แล้วไปฝากวางขายตามร้านหนังสือ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร หรือแกลลอรี่

การแสดงผลงานผ่านร้านอาหาร/ร้านกาแฟ (Photo credit: David Sifry / flickr.com)

แน่นอนว่าการทำวิธีนี้ ย่อมมีต้นทุนเกิดขึ้นจากการผลิตสินค้า เช่นค่าพิมพ์ ค่ากระดาษ ค่าเข้ากรอบรูป แล้วมีความยากในการติดต่อกับเจ้าของร้านต่างๆ เมื่อติดต่อได้วางผลงานแล้ว ก็ต้องมาลุ้นการขายว่าสำเร็จหรือไม่ และถ้าขายได้ แน่นอนว่าย่อมต้องมีการแบ่งส่วนรายได้ให้กับสถานที่ที่เราไปจัดแสดงด้วย

ในเมืองไทยผมว่าคอนเซ็ปนี้ก็คงพอมีบ้าง แต่ก็ไม่มากนัก แต่ผมว่าในเมืองนอกคงมีเยอะมาก แล้วก็มีการเสนอขายผลงานภาพพิมพ์ผ่านเว็บไซต์กันมากมาย ช่างภาพที่มีพอนำเสนอผลงานผ่านเว็บแกลลอรี่ได้ ก็มีโอกาสขายงานได้ทั่วโลกครับ


ส่งงานตีพิมพ์

การส่งผลงานไปตีพิมพ์ตามสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ (Photo credit: Jessica Spengler / flickr.com)

อีกช่องทางหนึ่งที่ผู้เขียนแนะนำคือการนำเสนอผลงานภาพถ่ายของเราไปยังสำนักพิมพ์ต่างๆ เพื่อขายงานไปสู่การตีพิมพ์ ในเมืองไทยผมว่าคงยากสักหน่อยเพราะสำนักพิมพ์ต่างๆ ก็คงมีช่างภาพประจำกันอยู่แล้ว ซึ่งคงน้อยในการพิจารณาซื้อภาพจากช่างภาพอิสระ และเดี๋ยวนี้วงการโฟโต้สต๊อกก็โตมาก ทำให้ตัวเลือกในการหาภาพมีมากมาย


ถ่ายภาพพิธีวิวาห์

การรับจ้างถ่ายงานแต่งงานหรือการถ่าย pre-wedding ในเมืองไทยผมว่าเป็นที่นิยมมากๆ ช่างภาพมืออาชีพฝีมือดีก็มีค่าตอบแทนที่สูงเลยทีเดียว ผู้เขียนเธอได้แนะนำว่า ถึงแม้คุณยังไม่สามารถเป็นช่างภาพหลักของงานวิวาห์นั้น แต่ก็สามารถเป็นช่างภาพเสริมเพื่อช่วยถ่ายภาพในมุมอื่นๆ (มุมแปลกๆ) และภาพเบื้องหลัง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่น่าประทับใจไม่น้อย

การถ่ายรูปงานแต่งงาน (Photo credit: Daniel Ramirez / flickr.com)

ผู้เขียนเธอไม่ได้พูดถึงช่างภาพถ่ายงานรับปริญญาเอาไว้ ผมคิดว่าในไทยถือว่าเป็นการหารายได้อย่างหนึ่ง ที่เป็นบันไดก้าวแรกของการหารายได้ในรูปแบบอื่น เริ่มแรกช่างภาพมือใหม่ขอแค่ไปฝึกถ่ายให้ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในแบบกันเองไปก่อน ซักพักการว่าจ้างในราคาย่อมเยาว์ก็จะตามมา และผ่านไปสู่ค่าตัวที่สูงขึ้นในอนาคตครับ

การถ่ายภาพรับปริญญา (Photo credit: Will Folsom / flickr.com)


ถ่ายภาพสำหรับสต๊อก

แล้วก็มาสู่ประเด็นหลักที่ผมจะมาเล่าสู่กันฟัง ก็การขายภาพถ่ายภาพเว็บโฟโต้สต็อก ผู้เขียนเธอได้ให้คำนิยามไว้ว่า "ห้องสมุดภาพถ่าย"

"ความต้องการภาพใหม่ๆ ของห้องสมุดภาพเป็นสิ่งที่ไม่มีวันจบสิ้น แต่คุณต้องคิดด้วยว่าภาพไหนที่จะขายได้" เธอกล่าว คือความจริงที่สะท้อนถึงวงการโฟโต้สต๊อก เพราะมีเพื่อนผมหลายคนถามว่า "รูปทุกอย่างก็มีช่างภาพเค้าถ่ายกันหมดแล้ว แล้วเราจะถ่ายภาพอะไรส่งไปขายดี?" หรือไม่ก็ถามว่า "แล้วภาพแบบนี้จะขายได้เหลอ?" ผมก็ตอบไปว่า อย่าไปกังวลมีโอกาสขายได้เสมอ เพียงแค่ว่าจะขายได้ช้าหรือเร็ว แล้วถ้ารูปที่คิดว่ามันจะไปซ้ำกับภาพอื่นๆ และถ้าเราคิดนำเสนอในมุมมองใหม่ๆ แปลกตา เหล่าลูกค้าที่รอซื้อรูปใหม่อยู่ เค้าก็ไม่รีรอที่จะซื้อรูปแปลกๆเหล่านั้น 555+

การส่งขายภาพภ่ายในโฟโต้สต๊อก (Photo credit: Robert Couse-Baker / flickr.com)

ผู้เขียนบอกถึงจุดประสงค์ของห้องสมุดภาพไว้ว่า เป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างช่างภาพและผู้คน บริษัท องค์กรที่ซื้อภาพถ่าย ห้องสมุดทำการจัดเก็บภาพถ่ายจำนวนมากที่แบ่งประเภทเอาไว้ และผู้ซื้อสามารถค้นหาภาพที่ต้องการผ่านทาง keywords จากนั้นก็สามารถเข้าสู่กระบวนการจ่ายเงินได้ในทันที

ในบทความได้สัมภาษณ์ Alan Capel ผู้เชี่ยวชาญจากเว็บ alamy.com ในพาดหัวที่ว่า "เคล็ดลับวงในจาก Alamy"
  


เว็บ alamy.com

Q: ทุกๆคนส่งงานได้ใช่ไหม?
A: แน่นอน แต่ภาพต้องผ่านเกณฑ์คุณภาพก่อน ที่ alamy มีภาพจากมือสมัครเล่นฝีมือดี ไปจนถึงช่างภาพมือรางวัลระดับโลก

Q: คุณจะแนะนำกล้องรุ่นไหนเป็นพิเศษไหม?
A: โดยทั่วไปเราแนะนำให้ใช้กล้อง DSLR ที่มีความละเอียด 6 ล้านพิกเซลหรือสูงกว่านั้น

Q: คุณมองหาอะไรในภาพถ่าย?
A: เราตรวจสอบเฉพาะคุณภาพทางเทคนิคเท่านั้น alamy จะไม่กำหนดโชคชะตาของภาพถ่ายให้ขึ้นอยู่กับผู้ตรวจภาพคนเดียว เพราะความสวยงาม ความเหมาะสมนั้นมักจะขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ใช้งาน เรามีตัวอย่างจำนวนมากสำหรับภาพที่ถูกตีกลับโดยเอเยนซี่อื่นๆ แต่สามารถขายได้ที่ alamy

Q: อะไรคือสาเหตุหลักของการตีกลับ?
A: กล้องไม่เหมาะสม ภาพมีความเบลอและไร้ความชัดเจน ภาพที่ไม่มีการกำจัดริ้วรอยหรือเม็ดฝุ่น

Q: ส่วนใหญ่แล้วลูกค้าต้องการภาพแบบไหน?
A: เราขายภาพถ่ายทุกๆอย่าง แต่ก็มีบางแนวที่ขายดีแบบเทน้ำเทท่า อย่างเช่นภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวที่คนนิยม ภาพธุรกิจและไลฟ์สไตล์ที่มีภาพคนก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน

นอกจากนี้ Alan ได้กล่าวเสริมอีกว่า... "ถ่ายสิ่งที่คุณชอบและถ่ายด้วยสไตล์ที่สามารถแสดงให้เห็นถึงพรสวรรค์ของคุณ แค่นี้ตลาดก็จะมาหาคุณเอง คุณจำเป็นต้องมีพื้นฐานที่ดี แสงที่ดี องค์ประกอบภาพที่สวยงาม เวลาที่คุณถ่ายภาพคุณต้องถามตัวเองว่า คุณจะสามารถนำภาพนี้ไปใช้ได้อย่างไร? ถ้าคุณตอบคำถามนี้ไม่ได้ คุณก็ไม่ควรส่งภาพนี้มา!"... แรงส์... โดนใจผมจริงๆ เจ็บจี๊ดๆ 555+

หมายเหตุ: คำถาม/คำตอบ ของคุณ Alan ผมยกมานำเสนอแค่บางส่วน รายละเอียดเพิ่มเติมหาอ่านได้ในนิตยสาร DCM น่ะครับ

ไว้เจอกันใหม่บล็อกหน้าครับ ^^

Monday, September 30, 2013

Tom Yam Koong soup with noodles, Bangkok

Canon EOS 650D + EF-S 18-55mm f3.5-5.6 IS II
1/32 sec, f4.5 at 34mm ISO 400

Date: September 27, 2013 (06:02 p.m.)
Place: ตลาดนัดรถไฟ ศรีนครินทร์ จ.กรุงเทพฯ (Train Market Srinakarindra, Bangkok)

ตลาดนัดรถไฟ เป็นตลาดนัดเกิดใหม่ในชื่อเดิม (ทีมบริหารเดิม) ซึ่งย้ายมาจากที่เก่าจากย่านจตุจักรมาที่ใหม่แถวศรีนครินทร์ อยู่ในซอยศรีนครินทร์ 51 ด้านหลังห้างซีคอนสแควร์ เปิดศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ในช่วงเย็นจนถึงดึก

เป็นแหล่งรวบรวมของเก่า ของสะสม เสื้อผ้า สินค้าสุดชิคต่างๆ และอาหารอร่อย ร้านหนึ่งที่ผมไปแวะชิม "ก๋วยเตี๋ยวต้มยำกุ้งแม่น้ำ" กุ้งตัวใหญ่ น้ำเข้มข้น อร่อยได้ในราคา 60 บาท ด้วยวิญญาณสต๊อกเกอร์ผมเลยจัดไป 4-5 รูป เอามาประดับ portfolio ซักหน่อย :)

Sunday, September 29, 2013

Lime on Tree, Narathiwat

Canon EOS 7D + EF-S 18-55mm f3.5-5.6 IS II + Tripod
1/15 sec, f5.6 at 55mm ISO 200

Date: September 15, 2013 (06:47 a.m.)
Place: สวนมะนาว อ.เมือง จ.นราธิวาส (Lime Tree Farm, Muang
Narathiwat)

3 จังหวัดชายแดนใต้เป็นพื้นที่ที่ใครๆ ก็ไม่อยากเข้าไป ด้วยความรุนแรงรายวัน ทำให้บดบังความงามที่ซ่อนอยู่อีกมากมาย

ผมเองก็เลี่ยงที่จะไปพื้นที่แห่งนี้ไม่ได้ เพราะเป็นบ้านเกิด ด้วยความจำเป็นจึงต้องละทิ้งเมืองหลวงกลับไปใช้ชีวิตที่นั่น พื้นที่ชายแดนใต้ส่วนใหญ่เป็นป่ายาง มีธรรมชาติและวัฒนธรรมหลายอย่างน่าไปถ่ายรูป แต่ด้วยบางพื้นที่มันอันตรายเกินกว่าจะเข้าไป ผมจึงได้แต่ถ่ายงานสต๊อกอยู่กับสวนมะนาวที่บ้าน ซึ่งผมเองก็เพิ่งเริ่มทดลองปลูกได้ไม่นาน

ข้อดีของงานถ่ายภาพสต๊อกคือ เรายังมีเวลาเหลือจากการถ่ายภาพและ ส่งภาพขาย ไปทำอีกหลายสิ่งอย่าง ที่เราอยากทำ และการทำสวน มะนาวก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผมอยากทำ ^_^

Monday, September 2, 2013

Architecture of The Airport, Samut Prakan

Canon EOS 650D + EF-S 18-55mm f3.5-5.6 IS II
1/50 sec, f4.5 at 18mm ISO 100

Date: August 27, 2013 (03:04 p.m.)
Place: ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ (Suvarnabhumi International
Airport, Samut Prakan)

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นสนามบินหนึ่งที่มีโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ออกแบบโดย "เฮลมุต ยาห์น" มีหอควบคุมที่สูงที่สุดในโลก (132.2 ม.) และอาคารผู้โดยสารเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลก

ผมเองอยากมีผลงานภาพถ่ายที่เกี่ยวกับสนามบิน นักท่องเที่ยว นักเดินทาง ประมาณนี้ แวะไปเก็บภาพได้นิดหน่อย ยังไม่ค่อยพอใจเท่าไหร่ เพราะยังไม่ได้เข้าไปถ่ายในส่วนอาคารเทียบเครื่องบิน รอบนี้เลยเก็บบรรยากาศภายนอกอาคารแก้ขัดไปก่อน :)

Thursday, May 9, 2013

Buddha statue for sale displayed, Bangkok


Canon EOS 5D Mark II + EF 50mm f/1.8 II
1/50 sec, f10 at 50mm ISO 320

Date: May 9, 2013 (03:58 p.m.)
Place: ถนนบำรุงเมือง จ.กรุงเทพมหานคร (Thanon Bamrung Mueang, Bangkok)

บริเวณสองข้างทางของถนนบำรุงเมือง ตั้งอยู่ในแขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร เป็นแหล่งขายสินค้าประเภทพระพุทธรูป รูปปั้น ระฆัง เครื่องสังฆภัณฑ์ต่างๆ มากมาย

ภาพจำของผมมาจากการได้เห็นภาพถ่ายของช่างภาพชาวต่างชาติที่ได้ถ่ายงานสารคดีเกี่ยวกับวิถีชีวิตคนไทย เห็นแล้วได้อารมณ์เมืองไทยในวิถีชีวิตเมืองพุทธที่แยกกันไม่ออก พอได้มีโอกาสผ่านไปย่านเสาชิงช้าก็ไม่พลาดที่จะเก็บภาพนี้เอาไว้เช่นกันครับ

Wednesday, May 8, 2013

Wat Ratchanaddaram Worawihan Roofs (Loha Prasat), Bangkok


Canon EOS 5D Mark II + EF 50mm f/1.8 II
1/100 sec, f9 at 50mm ISO 50

Date: May 8, 2013 (02:24 p.m.)
Place: โลหะปราสาท จ.กรุงเทพมหานคร (Loha Prasat, Bangkok)

โลหะปราสาท ตั้งอยู่ในวัดราชนัดดารามวรวิหาร ตั้งอยู่ใกล้กับป้อมมหากาฬ ถนนราชดำเนิน ความหมายของโลหะปราสาท คือ คฤหาสน์ที่มียอดเป็นโลหะ ก่อสร้างขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

ภาพที่ผมถ่ายมาเป็นภาพหลังคาพระอุโบสถของวัดราชนัดดารามวรวิหาร โดยถ่ายมาจากชั้น 3 ของโลหะปราสาท ความตั้งใจที่จะไปถ่ายคือการถ่ายวิวของโลหะปราสาททั้งองค์ แต่วันที่ผมไปมีการบูรณะยอดของโลหะปราสาท ทำให้ไม่สามารถถ่ายวิวปราสาทอย่างที่ตั้งใจได้ เลยต้องหามุมอื่นไปก่อน รอกลับไปถ่ายใหม่อีกครับ :)

Monday, May 6, 2013

สรุปผล 3 ปีกับการขายภาพถ่าย/วิดีโอ ผ่านเว็บ Stock Photo

สวัสดีครับพี่น้อง คนสร้างภาพทุกท่าน แป๊ปๆ เวลาผ่านไปไวจริงๆ ครับ และแล้วก็ครบ 3 ปีแล้วที่ กระผมได้ขายภาพถ่ายและขายวิดีโอผ่านเว็บ Stock Photo หรือเว็บไมโครสต๊อกนั่นเองครับ

ผมเริ่มสมัครครั้งแรกก็ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ปี 2553 และเคยได้ทำสรุปผลการขายภาพออนไลน์ครบ 2 ปีเอาไว้แล้ว (ตามอ่านคลิ๊กที่นี่) ผ่านไปอีกปีแล้ว ผมก็ได้เห็นพัฒนาการของตัวเองที่ดีขึ้น แต่ก็ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งปีนี้แหละจะมุ่งมั่นจริงจังกับวงการ Stock Photo มากขึ้น... สู้โว้ย 555+

ก่อนอื่นต้องขออภัยที่ห่างหายการอัพเดทบล็อกนี้ไป 2-3 เดือนเลยทีเดียว กลับมาคราวนี้ผมมีเวลาว่างมากขึ้นแล้วครับ จะเร่งเขียนแนะนำการสมัครเว็บ Stock Photo ทุกตัวที่ผมสมัครขายอยู่ให้ครบทุกตัว พร้อมกับเทคนิคอื่นๆ ที่พอจะมีประโยชน์กับพี่ๆ น้องๆ ที่ต้องการจะเข้าสู่วงการนี้ครับ (^_^)


เอาหล่ะ มาสรุปผลการขายกันดีกว่า มาคราวนี้ผมสรุปมาในรูปแบบตาราง เพื่อให้ดูง่ายขึ้นครับ โดยความหมายของส่วนบนของตารางมีดังนี้
  • Online images คือภาพใน Portfolio ที่ผ่านกันอนุมัติแล้ว
  • Online footages คือวิดีโอคลิปที่ผ่านการอนุมัติแล้วเช่นกัน (ผมเลือกส่งเป็นบางเว็บเท่านั้น)
  • Total sales คือยอดรวมจำนวนการดาวน์โหลดของลูกค้า
  • Total earnings (Baht) คือยอดรายได้รวม โดยผมแปลงเป็นเงินบาทแล้ว และใช้เรทในการคำนวณอยู่ที่ 29 บาท/เหรียญ

ซึ่งผมได้เรียงลำดับจากเว็บไมโครสต๊อกที่ทำรายได้มากสุดไปน้อยสุดครับ สรุปแล้วในช่วง 3 ปีผมสมัครขายภาพไป 18 เว็บ มียอดดาวน์โหลดรวมทั้งหมด 15,150 ครั้ง คิดเป็นเงินไทยประมาณ 287,312 บาท ถือว่าพอเป็นกำลังใจให้สู้ทำต่อไป แต่ยังไม่ดีมากเท่าที่คิดไว้ ยังมีอีกหลายสิ่งที่ผมต้องพัฒนาคุณภาพ แนวคิด มุมมอง เทคนิคการถ่าย เพื่อแข่งขันกับช่างภาพจากนานาชาติให้ได้

ส่วนช่างภาพชาวไทย ถ้าสนใจอยากหารายได้เสริม ผมสนับสนุนน่ะ มันคือการหารายได้เข้าประเทศของเราอีกช่องทางหนึ่งครับ พอได้ทำแล้ว ท่านก็จะเป็นอีกคนหนึ่งที่ลุ้นอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทให้อ่อนตัวมากๆ เฉกเช่นเหล่า Stocker ชาวไทยอีกหลายพันชีวิตครับ 555+


No. Stock Photos Online images Online footages Total sales Total earnings(Baht)
1. Shutterstock 2,472 101 12,249 197,403
2. Fotolia 1,909 0 1,374 24,824
3. Dreamstime 1,667 0 612 16,211
4. 123rf 2,751 7 657 16,037
5. Freedigitalphotos 826 0 113 14,471
6. Depositphotos 3,524 0 251 4,466
7. Veer 1,966 0 74 4,060
8. Photodune 3,250 0 114 2,697
9. Canstockphoto 2,889 0 66 2,349
10. Graphicleftovers 2,538 0 47 2,233
11. Bigstockphoto 298 0 3 910
12. Colourbox 3,564 0 109 850
13. iStockphoto 0 41 2 638
14. Yaymicro 2,105 0 6 137
15. Alamy 115 0 1 29
16. Photokore 1,546 0 3 17
17. Crestock 50 0 1 7
18. Pond5 9 0 0 0
     T O T A L 15,150 287,312
ตารางที่ 1 - Summary of microstock photography earnings

สำหรับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ช่างภาพท่านใดเล่นเฟสบุ๊คอยู่แล้วก็สามารถเข้าร่วมกลุ่ม ThaiMicroStocker (https://www.facebook.com/groups/thaistocker) ที่นี่มี Stocker ชาวไทยฝีมือเก่งๆ อยู่เยอะมากครับ มีข้อมูลดีๆ แบ่งปันกันเยอะ แล้วท่านจะมีแรงบันดาลใจในการหารายได้จากภาพถ่ายของท่านเองครับ

Monday, February 25, 2013

การสมัครเป็นศิลปินที่ Dreamstime (Part 3)

ผ่านไปสองตอนแล้วน่ะครับ (ตอนที่ 1, ตอนที่ 2) กับการส่งรูปไปขายที่เว็บ Dreamstime ผมคิดว่าเพื่อนๆศิลปินหลายท่านคงมีผลงานภาพถ่ายขึ้นใน Portfolio ที่เว็บ Dreamstime กันบ้างแล้ว และบางท่านคงอาจจะมียอดดาวน์โหลดมาบ้างกันแล้ว แต่สำหรับท่านใดยังไม่มียอดเข้ามาก็เป็นกำลังใจให้สู้ๆน่ะครับ :)

สำหรับช่วงเดือนแห่งความรักนี้ ทางเว็บ Dreamstime ก็ได้มีการปรับหน้าตาเว็บใหม่ ผมเข้าเว็บไปแรกๆ ก็งงๆนิดหน่อย หาเมนูไม่เจอเอาเหมือนกัน แต่พอลองเล่นไปซักพัก เท่าที่ดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็เป็นเพียงแค่การออกแบบ เมนูด้านบนใหม่ โดยเมนูสำหรับศิลปินอย่างเราๆที่ใชช้บ่อยคือ "Management area" ได้ถูกย้ายไปไว้ด้านบนสุด (ดังรูปที่ 1) และในส่วนอื่นๆ ก็ยังเหมือนเดิมน่ะครับ


รูปที่ 1 - เมนูแบบใหม่ของเว็บ Dreamstime

มาเข้าสู่ส่วนที่ติดค้างกันไว้ตั้งแต่ตอนที่แล้วเลยน่ะครับ เริ่มจากการกรอกข้อมูลภาษีของศิลปินกันก่อนเลย โดยไปตั้งต้นที่หน้า "Management area" แล้วหาไอคอนที่ชื่อว่า "Tax center" น่ะครับ


รูปที่ 2 - หน้า "Management area"

เมื่อคลิกเข้าไปที่ไอคอน "Tax center" แล้ว ก็จะเจอหน้า "Guidelines, Policies and Forms - Tax Treatment for Payments to Photographers" (ดังรูปที่ 3) ซึ่งจะให้เราเลือกก่อนว่าเราเองอยู่ในกลุ่มผู้เสียภาษีกลุ่มใด ดังนี้

Select the option that applies best in your case:
  - For individuals: I'm a US Citizen or US Resident Alien
  - For individuals: I'm NOT a US Citizen or US Resident Alien
  - For Companies: My Company is an LLC, Partnership or Corporation Organized under US Law
  - For Companies: My Company is NOT an LLC, Partnership or Corporation Organized under US Law


รูปที่ 3 - หน้า "Guidelines, Policies and Forms"

ซึ่งถ้าเป็นการขายภาพแบบส่วนตัว (ฉันทำของฉันคนเดียว) ไม่ได้ตั้งเป็นบริษัทขึ้นมาเพื่อทำธุรกิจขายภาพ และไม่ใช่พลเมืองของสหรัฐอเมริกา (แน่นอนหล่ะฉันเป็นพลเมืองสยาม) ก็ให้เลือกติ๊กที่ "For individuals: I'm NOT a US Citizen or US Resident Alien" แล้วเลื่อนหน้าเว็บลงด้านล่าง จะมีข้อความภาษาอังกฤษให้เราได้อ่านทำความเข้าใจเกี่ยวกับแบบฟอร์มภาษี "W-8BEN" จากนั้นก็จะมีลิงค์ให้คลิ๊กเพื่อเข้าสู่หน้ากรอกข้อมูล "Click here to fill online W-8BEN Form" ดังรูปที่ 4

รูปที่ 4 - หน้ากรอกแบบฟอร์มภาษี W-8BEN

แบบฟอร์ม "W-8BEN" หรือ "Certificate of Foreign Status of Beneficial Owner for United States Tax Withholding" คือแบบฟอร์มเพื่อการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของบุคคลที่อาศัยอยูนอกสหรัฐอเมริกา

ข้อมูลที่จำเป็นต้องกรอกมีดังนี้

Part I - Identification of Beneficial Owner

   1. Name of individual or organization that is the beneficial owner - คือกรอกชื่อเต็มของเรา

   2. Country of incorporation or organization - ประเทศที่เราอาศัย ซึ่งทางเว็บ Dreamstime ก็จะกำหนดให้อัตโนมัติให้แล้ว

   3. Type of beneficial owner: - ประเภทผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ ในที่นี้เราเลือกเป็น Individual

   4. Permanent residence address - ที่อยู่อย่างเป็นหลักแหล่ง ซึ่งข้อมูลก็ถูกกรอกให้อัตโนมัติ โดยนำมาจากข้อมูลที่เราเคยกรอกไว้แล้วใน user profile

   5. Mailing address (if different from above) - ที่อยู่สำหรับส่งจดหมาย ปกติจะกรอกก็ต่อเมื่อที่อยู่เราไม่ตรงกับข้อ 4. แต่ที่เว็บ Dreamstime เค้าใส่ให้อัตโนมัติ เราก็เอาตามที่เค้ากรอกให้ไว้แล้ว แต่ถ้าท่านศิลปินต้องการให้เค้าส่งจดหมายไปอีกที่ก็แก้ไขได้น่ะครับ

  Note: ข้อ 6 - 8 ไม่ต้องกรอกข้อมูลอะไร

Part II - Claim of Tax Treaty Benefits (if applicable)

  9. I certify that (check all that apply)
     a. [/] The beneficial owner is a resident of [Thailand] within the meaning of the income tax treaty between the United States and that country. - ให้ติ๊กเลือกข้อ a. นี้แล้วกรอก Thailand ในช่องระบุประเทศที่เราอาศัยอยู่

     b. [/] If required, the U.S. taxpayer identification number is stated on line 6. - ปกติข้อนี้บางเว็บไมโครสต๊อกก็ไม่ต้องติ๊กน่ะ แต่เว็บ Dreamstime จะติ๊กมาให้อัตโนมัติ เราก็ยึดเอาตามนั้นครับ

   Note: ข้อ c. - e. ไม่ต้องกรอกข้อมูลอะไร

Part III - Notional Principal Contracts - ในส่วนนี้ปล่อยว่างไว้เลย

Part IV - Certification

   - Signature of beneficial owner (or individual authorized to sign for beneficial owner): - ช่องนี้เอาไว้ให้เราลงนามรับรอง โดยการพิมพ์ชื่อเต็มภาษาอังกฤษเราในช่องด้านล่างครับ

   - Security measure for Tax Forms: please upload a copy of your ID with photo (such as identity card, passport, driver's licence, etc). Note: this is NOT a photo of yourself. - ในส่วนนี้ก็ให้อัพโหลดรูป Passport โดยมีขนาดไม่เกิน 500KB และเป็นไฟล์ jpg หรือ pdf ก็ได้ครับ

เมื่อเช็คความถูกต้องแล้วก็กดปุ่ม "SUBMIT" เพื่อส่งข้อมูลภาษีได้เลยครับ

แบบฟอร์มภาษี "W-8BEN" จะกรอกในลักษณะคล้ายๆกันหมดของทุกไมโครสต๊อกที่บริษัทอยู่ในอเมริกาน่ะครับ อาทิเช่น Shutterstock, Fotolia, Dreamstime, Depositphotos และ Veer ฯลฯ สำหรับเว็บไมโครสต๊อกนอกอเมริกาก็จะไม่มีให้กรอกข้อมูลภาษีนี้ครับ เช่น เว็บ 123RF ไม่มีให้กรอกภาษีเพราะเป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในอ่องกง

สำหรับอัตราการหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้น (US withholding tax rate) สำหรับช่างภาพจากสยามประเทศแล้ว จะมีอัตราอยู่ที่ 5% ผมลองไปนั่งอ่านดู ก็ได้ความดังนี้ครับว่า ช่างภาพในแต่ละประเทศ(ที่ไม่ใช่อเมริกา)จะถูกหักในอัตราที่ไม่เท่ากันดังตารางด้านล่าง


รูปที่ 5 - List of countries and applicable withholding rates

อัตราสูงสุดที่อเมริกาจะหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ 30% ก็มีช่างภาพอยู่หลายประเทศที่ไม่ต้องหักภาษีเลยก็มี (น่าอิจฉาจุงเบย) เช่น เยอรมัน, ฝรั่งเศษ, แคนาดา, ญี่ปุ่น ไรงี้ และมีอีกหลายประเทศที่โดนหักภาษีมากกว่าประเทศไทย เช่น จีน 10%, เกาหลี 10%, อินเดีย 15% เป็นต้น และเท่าที่ผมนั่งไล่ดูเอากลุ่มประเทศ AEC ของเราแล้ว ประเทศไทยถือว่าถูกหักภาษีต่ำสุดน่ะครับ

 - Thailand 5%
 - Indonesia 10%
 - Philippines 15%
 - Laos 30%
 - Myanmar 30%
 - Cambodia 30%
 - Vietnam 30%
 - Malaysia 30%
 - Singapore 30%
 - Brunei 30%

ทำให้ในกลุ่มประเทศสมาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ศิลปินหรือช่างภาพชาวไทยเรายังดูดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านอีก 9 ประเทศครับผม ตัวอย่างเช่น มีช่างภาพสองคน คนนึงอยู่ในไทยอีกคนอยู่มาเลเซีย ต่างก็มีลูกค้าในอเมริกาซื้อรูปแล้วมีรายได้ (US Source) 100$ และมีลูกค้าที่อยู่นอกอเมริกาซื้อรูปไปอีก (Non US Source) 100$ รวมแล้วต่างคนก็มีรายได้ (Gross) 200$ พอจะถอนเงินออก คนไทยได้รับเงินจริง (Net) 195$ โดนหักภาษี ณ ที่จ่าย (Total Withheld) ไปแค่ 5$ ส่วนช่างภาพมาเลเซียได้รับเงินจริง (Net) 170$ หักภาษี ณ ที่จ่ายไป (Total Withheld) 30$

(รู้สึกบล็อกผมดูเป็นวิชาการหน่อยก็บล็อกนี้แหละครับ 555+)

เรื่องเป็นวิชาการจบไปแล้ว มาเริ่มเรื่องปากท้องของศิลปินกันต่อเลยครับ ในหน้า "Management area" จะมีอีกไอคอนแห่งความหวังที่ชื่อว่า "My Earnings" ซึ่งเราสามารถเข้าไปดูว่ายอดขายของเรามีรายได้เท่าไหร่แล้ว และรูปไหนบ้างที่ขายได้ และขายได้ในราคาเท่าไหร่ และถ้าในส่วนรายได้นี้สะสมยอดครบ 100$ เมื่อไหร่แล้วหละก็ ศิลปินจะสามารถขอถอนเงินออกได้ ผ่านไอคอนปากท้องที่ชื่อ "Request payment" ดังรูปที่ 6

รูปที่ 6 - หน้า Request paymnet

หน้า "Request payment" นี้จะสามารถกำหนดยอดเงินที่ต้องการถอนออกได้ แต่ขั้นต่ำที่ทางเว็บ Dreamstime จะจ่ายให้คือ 100$ ในภาพผมสะสมยอดได้ 119.53$ ผมก็ถอดหมดเกลี้ยงตามนั้นแบบไม่คิดมากเลย จากนั้นก็กดปุ่ม "Request payment" เลยครับ

รูปที่ 7 - หน้า Request paymnet verification

ก็จะเข้าสู่หน้า "Request payment verification" เพื่อให้เราเลือกรูปแบบการรับเงิน สำหรับผมแล้วส่งมอบเงินผ่าน PayPal เป็นช่องทางที่สะดวกสุดครับ ก็ติ๊กเลือก PayPal แล้วก็กรอกแอคเคาท์อีเมลของ PayPal ลงช่องกรอกทั้งสองช่อง แล้วกดปุ่ม "Request payment" ส่งเรื่องขอเบิกเงินทันที ^^

รูปที่ 8 - หน้า Request paymnet confirmation

รูปที่ 8 เป็นการแสดงข้อความว่าเว็บ Dreamstime รับเรื่องไว้แล้ว และทางเว็บขอเวลาดำเนินการประมาณ 7 วันทำการ แต่เอาเข้าจริงใช่เวลาแค่ 1-2 วันเองครับ (ส่งสัยเจ้าหน้าที่งานไม่ยุ่งมาก) เงินก็ถูกโอนเข้า PayPal เรียบร้อย

ผ่านไปแล้ว 2 เรื่องหลักคือภาษีและปากท้อง หลังจากนี้ก็เป็นการเก็บตกประเด็นที่เหลือกัน เท่าที่ผมเจอบ่อยก็มีที่ไอคอน "Comments" จะมีเจ้าหน้าที่หรือผู้ใช้ใน Dreamstime ส่งข้อความเตือนว่ารูปบางรูปของผมมี Keywords ที่ไม่ถูกต้องหรือตั้ง Keywords ไม่ค่อยตรงกับภาพอะไรประมาณนั้น แน่นอนอ่านข้อความแล้วก็ต้องรีบไปแก้ไข Keywords ให้ถูกต้อง

ในการกลับไปแก้ไข Keywords ของภาพนั้น ทำได้โดยให้ไปที่ไอคอน "Online files" จากนั้นก็หารูปที่ต้องการแก้ไขข้อมูล พอเจอรูปแล้ว ด้านขวามือสุดของหน้าเว็บก็จะมีปุ่ม "Edit" ให้เรากดเข้าไป ก็จะเห็นว่าข้อมูลของรูปที่เราสามารถแก้ไขได้ก็จะมี Image name, Description, Keywords และ Rights management area เมื่อแก้ไขเสร็จแล้วก็กดปุ่ม "Submit" เพื่อบันทึกข้อมูลนั้นไปใหม่

ทิ้งท้ายด้วยไอคอน "Statistics" จะสรุปสถิติทั้งหมดของเราให้ดูกันจะจะเลยครับ อย่าลืมลองแวะเข้าไปดูน่ะครับ :)

ผ่านไป 3 ตอนของการสมัครเป็นศิลปินที่ Dreamstime แล้วน่ะครับ ผมหวังว่าคงพอเป็นแนวทางให้เพื่อนๆ ช่างภาพที่ต้องการแสวงหาโอกาสในการทำรายได้เล็กๆน้อยๆ ควบคู่ไปกับงานอดิเรกที่เรารัก และถ้าโอกาสมันดีขึ้น ก็จะได้เปลี่ยนงานอดิเรกนี้ไปเป็นงานประจำซ่ะเลย ^^

Monday, January 28, 2013

การสมัครเป็นศิลปินที่ Dreamstime (Part 2)

ความเดิมตอนที่แล้ว ผมได้เกริ่นข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเว็บ Dreamstime และได้เริ่มแนะนำการสมัครเข้าใช้งานเว็บ รวมถึงการใส่ข้อมูลประจำตัวของศิลปินที่เว็บต้องการไปแล้ว มาถึงเวลาที่จะเริ่มอัพโหลดผลงานของเราใส่เว็บ การใส่ข้อมูลของภาพให้ครบถ้วน ก่อนส่งตรวจ การกรอกข้อมูลภาษี การถอนถอนเงินไป PayPal รวมถึงแนะนำส่วนอื่นๆของเว็บที่น่าสนใจครับ

รูปที่ 1 - หน้า Management Area

มาเริ่มกันที่หน้า "Management Area" เป็นหน้าเว็บหลักของเหล่าศิลปินทั้งหลายเลยครับ เราสามารถจัดการข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการขายรูปออนไลน์ผ่านหน้านี้ได้ทั้งหมด โดยจะเริ่มจากการอัพโหลดรูปขึ้นเว็บ Dreamstime กันก่อนเลย เพียงแต่ท่านศิลปินมีรูปภาพพร้อมส่งขายแล้วใช่มั้ยครับ? ถ้ายังก็รีบไปเตรียมก่อนเลยครับ แต่ถ้าเตรียมพร้อมตั้งแต่อ่านบล็อก การสมัครขายภาพออนไลน์ที่ 123RF แล้วละก้อลุยกันเลย

มองหาไอคอนที่มีชื่อว่า "Upload Images" แล้วก็คลิกเข้าไปโฉบดูหน้าเว็บอัพโหลดไฟล์รูปกันก่อน (ดังรูปที่ 2)

รูปที่ 2 - หน้า Upload Images

ก่อนจะเริ่มอัพโหลดรูป ผมขออธิบายกฏกติกาเกี่ยวกับรูปภาพที่เราจะส่งขึ้นเว็บ Dreamstime ดังนี้ครับ
  •  ขนาดของรูปภาพจะต้องไม่ต่ำกว่า 3 Megapixels เช่นถ้าภาพถ่ายของคุณมีอัตราส่วน 3:2 ก็สามารถส่งไฟล์ที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 2140x1426 pixels ตัวเลขนี้ผมประมาณการคร่าวๆให้เห็นภาพน่ะครับ แต่ถ้าท่านมีไฟล์ภาพขนาดใหญ่กว่านี้ก็จะยิ่งเป็นการดีครับ
  • รูปภาพจะต้องเป็นไฟล์ JPG และมีโปรไฟล์เป็น RGB เท่านั้น
  • ในครั้งแรกของการอัพโหลดรูปขึ้นเว็บ Dreamstime ทางเว็บจะกำหนดให้สามารถส่งรูปได้ 140 รูปต่อสัปดาห์ โดยจะอิงตามค่า "Approval Ratio" ที่ 100% หรืออัตราส่วนภาพที่ผ่านการพิจารณา และครั้งต่อไปถ้ารูปภาพของท่านผ่านการพิจารณาน้อยลง จะส่งผลให้โควต้าส่งรูปรายสัปดาห์จะลดลงด้วย เช่น ผมเองมี Approval ratio = 41.6% มีโควต้าส่งรูปได้เพียง 47 รูปต่อสัปดาห์ครับ

จากหน้า Upload images นี้ จะเห็นว่าได้มีแบ่งการอัพโหลดไว้ 3 ส่วนคือ อัพโหลดทีละไฟล์ (Upload single file) หรือจะอัพโหลดทีละหลายไฟล์ (Upload multiple files) และส่วนสุดท้ายเป็นการแนะนำให้อัพโหลดผ่าน FTP (Upload via FTP)

ถ้าท่านลองกดเข้าไปดูที่ "Upload via FTP" ในนั้นจะมีรายละเอียดในการกำหนดค่าสำหรับส่งไฟล์ผ่าน FTP นั้นคือ

   - FTP address: upload.dreamstime.com
   - Username (user ID): <ตัวเลขเฉพาะ ซึ่งคนละตัวกับ username เข้าระบบ> 
   - Password: <เป็นรหัสเดียวกันกับรหัสผ่านเข้าระบบ>

สำหรับผมที่ใช้บ่อยก็จะเป็น Upload multiple files ใช้ง่ายไม่ยุ่งยาก แต่ถ้าท่านศิลปินที่ต้องการใช้การอัพโหลดแบบหลายไฟล์นี้ จำเป็นต้องมีการติดตั้ง java เพิ่มเติม แต่ถ้าท่านไม่แน่ใจว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านติดตั้ง java ไว้หรือยัง ก็สังเกตุว่าถ้ามีปุ่มให้เพิ่มไฟล์ (ดูรูปที่ 2) ก็แสดงว่าผ่าน ทำงานต่อได้เลย แต่ถ้าท่านใดไม่มีในส่วนนี้ก็เข้าเว็บ www.java.com เพื่อติดตั้งเพิ่มเติมครับ

รูปที่ 3 - หน้าการเลือกรูป

เริ่มอัพโหลดรูปโดยกดปุ่ม "Add" ในส่วนของ Upload multiple files จะแสดงหน้าให้เลือกไฟล์รูป (ดังรูปที่ 3) และกดปุ่ม "Shift" ค้างไว้ แล้วก็คลิกเลือกรูปทีละหลายไฟล์ จากรูปผมจะอัพรูป 4 ไฟล์ครับ พอเลือกเสร็จแล้วก็กดปุ่ม "Open"

ไฟล์รูปที่เราได้เลือกไว้ 4 รูป ก็จะไปแสดงในหน้า Upload images (ดังรูปที่ 4) จากนั้นก็เริ่มต้นการส่งรูปขึ้นเว็บ Dreamstime โดยการกดที่ปุ่ม "Upload" ซึ่งจะมีการยืนยันรหัสผ่านการอัพโหลดอีกครั้ง (ดังรูปที่ 5) เมื่อกรอกรหัสผ่านถูกต้องแล้ว ก็จะแสดงหน้าแสดงความคืบหน้าการอัพโหลด (ดังรูปที่ 6) หลังจากนี้ก็นั่งรออย่างเดียวครับ :)

รูปที่ 4 - แสดงรูปที่เลือกไว้แล้ว

รูปที่ 5 - หน้ากรอกรหัสผ่าน

รูปที่ 6 - แสดงความคืบหน้าการอัพโหลด

เมื่อการอัพโหลดเสร็จก็จะมีข้อความแจ้งให้ทราบ "Upload completed" เราก็แค่ตอบ "Ok" เพื่อจะไปใส่รายละเอียดของภาพต่อไป โดยไปยังหน้า Management Area (ดูรูปที่ 1) แล้วมองหาไอคอนที่มีชื่อว่า "Unfinished Files" ซึ่งภายในวงเล็บด้านล่างไอคอนนี้คือจำนวนรูปที่รอการใส่รายละเอียดภาพให้ครบถ้วน


รูปที่ 7 - หน้า Unfinished Files

พอคลิกเข้าไปในหัวข้อ Unfinished Files แล้ว (ดังรูปที่ 7) จะมีรายการรูปที่เราเพิ่งอัพโหลดเข้าไปแสดงอยู่ จากนั้นให้เริ่มใส่รายละเอียดข้อมูลของรูปภาพโดยกดไปที่ปุ่ม "COMMERCIAL RF" ของรูปที่ต้องการ แล้วก็จะเข้าสู่หน้า "Image details" (ดังรูปที่ 8)

รูปที่ 8 - หน้า Image details
(คลิกที่รูปเพื่อดูรูปที่ขนาดใหญ่ขึ้น)

หน้า Image details นี้มีช่องที่เราต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนคือ Image name, Decription, Category และ Keywords สำหรับส่วนอื่นก็จะมีให้เลือกติ๊กกำหนดรูปแบบ license ที่เราต้องการขาย
  • Image name*: ใส่ชื่อของภาพ
  • Decription*: ใส่รายละเอียดของภาพ โดยต้องมีความยาว 5 คำขึ้นไป และที่สำคัญห้ามตั้ง Image name กับ Description เป็นชื่อเดียวกัน (มันช่างจุกจิกจริงๆ 55+)
  • Category*: มีให้เลือกได้ถึง 3 หมวดหมู่ ขั้นต่ำใส่หมวดหมู่เดียวก็ได้ครับ หรือใส่ครบทั้ง 3 ก็จะเป็นการดี
  • Keywords*: ใส่คำหลักหรือ keyword ของภาพ ขั้นต่ำ 10 คำ แต่ไม่เกิน 80 คำ
  • ให้ติ๊กเลือกหัวข้อ "By uploading this file I warrant that I read and agree with the terms and conditions of this website and I own all proprietary rights, including copyright." เพื่อยอมรับเงื่อนไขต่างๆของเว็บ
  • ในส่วน "Rights management area" เป็นการเลือกประเภท license ปกติผมก็จะเลือกดังภาพคือ "Web Usage" (นำไปใช้สำหรับเว็บ), "Print Usage" (นำไปใช้สำหรับพิมพ์), "Sell the rights" (Time Limited Exclusivity) อันหลังนี้ผมยังอ่านไม่ค่อยเข้าใจแต่ประมาณว่า นำไปใช้แบบพิเศษในช่วงเวลาหนึ่ง เดี๋ยวถ้ากระจ่างแล้วจะมาอธิบายเพิ่มครับ

สำหรับส่วนอื่นที่ผมไม่ได้กรอกหรือไม่ได้เลือกติ๊กก็มี
  • Comment for editor: อันนี้เอาไว้เขียนถึงผู้ตรวจรูปโดยเฉพาะ เผื่อเรามีอะไรจะอธิบายให้เค้าฟัง แต่ผมไม่มีแน่นอน 555+
  • "If this submission doesn't qualify for the commercial stock section, I agree to make it available within the free section (RF-LL license)." ---- ส่วนนี้คือถ้ารูปไม่ผ่านการตรวจก็จะอนุญาติให้เว็บเอารูปเราไปไว้ในส่วนแจกฟรี
  • "I upload this image exclusively on Dreamstime.com. I acknowledge and warrant that I have read and agree with the Exclusivity Terms and Conditions and that I am able to enter such agreement, that this image is not represented by another agency and that I will not sell it somewhere else under a Royalty Free license" --- ส่วนนี้ถ้าเลือกก็เป็นการยินยอมจะขายรูปภาพนั้นกับเว็บ Dreamstime เพียงที่เดียวเท่านั้น

เมื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมุลแล้วก็กดปุ่ม "Submit" ได้เลยครับ ถ้าติดปัญหาอะไรทางเว็บจะแจ้ง "Error" ตัวสีแดง ให้ทราบด้านบนสุดครับ

ถ้าผ่านแล้ว ทางเว็บจะไปดึงข้อมูลของรูปถัดไปมาให้เรากรอกต่อได้เลย ก็สามารถทำยาวๆ ไปจนเสร็จทุกรูป หรือถ้ายังไม่ต้องการกรอกอะไรก็กดที่ Management Area เพื่อไปที่หน้าหลักก็ได้ครับ

เมื่อรูปที่เรากรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จะย้ายไปอยู่ในไอคอนที่ชื่อ "Pending files" เราสามารถเข้าไปแก้ไขข้อมูลรูปได้ในส่วนนี้หรือลบรูปก็ได้ (ถ้าต้องการ) ที่นี่คงใช้เวลารอการตรวจประมาณ 7 วันครับ

รูปที่ผ่านการตรวจแล้วก็จะไปอยู่ในไอคอน "Online files" รูปไหนที่ไม่ผ่านก็จะไปอยู่ในไอคอน "Refused Files" ถ้าเข้าไปดูในไอคอนนี้จะแจ้งเหตุผลที่ไม่ผ่านให้ด้วย และรูปที่ไม่ผ่านนี้ทางเว็บจะทยอยลบออกอัตโนมัติ น่าจะ 1-2 เดือนมั้งถ้าผมจำไม่ผิด

รูปที่ 9 - หน้า Image earnings

ในหน้าหลัก Mangament Area นั้น (ดังรูปที่ 1) ก็ยังมีอีกไอคอนที่เราเหล่าศิลปินเฝ้าดูอย่างใจจดใจจ่อคือไอคอน "My Earnings ($0.00)" ถ้ามีตัวเลขขยับก็เป็นปลื้มมากมาย แต่ถ้าไม่ขยับก็ต้องขยั่นสร้างสรรค์ผลงานต่อไป บนเส้นทางของศิลปินอย่างเราๆ 555+

เนื่องด้วยเวลาผมมีจำกัด ผมขอยกเนื้อหาในส่วนแนะนำ การกรอกข้อมูลภาษี การถอนถอนเงินไป PayPal ฯลฯ เอาไปไว้ในเนื้อหาตอนที่ 3 น่ะครับ

ขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม เจอกันบล็อกหน้าครับ ^_^

Tuesday, January 22, 2013

แนะนำแนวทางสร้างสรรค์วิดีโอไปขายที่เว็บ iStockphoto

ผมเพิ่งได้รับเมลจาก iStockphoto แจ้งผลการตรวจคลิปวิดีโอที่ผมส่งไปกว่า 20 คลิป ไปเมื่อเกือบสองเดือนก่อน (ตรวจช้ามากครับ) ผลคือ "ไม่ผ่านยกเซ็ต" พร้อมกับข้อความในอีเมลว่า "We regret to inform you that we cannot accept your submission."

แน่นอนครับว่าเว็บ iStockphoto มาตราฐานเค้าค่อนข้างสูงมาก ก่อนหน้านี้ผมก็ดันคลิปทะลุผ่านการตรวจไป 35 คลิป (ฟลุ๊คจุงเบย) ขายได้ไป 2 ดาวน์โหลด ได้มายี่สิบกว่าเหรียญ ถือว่ายังมีสิ่งท้าทายให้ส่งคลิปไปขายที่นี่ต่อครับ ^_^


เนื้อหาในอีเมลที่แจ้งผลการตรวจล่าสุดได้มีการแนบข้อความสำหรับ "ชาวไทย" มาด้วยโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการแนะนำว่าคลิปไหนไม่อยากได้แล้ว (แบบขอร้องเลย) และคลิปที่ไหนเค้ายังอยากได้มว้าก..มว้ากกก.... ดังนี้ครับ


โปรดทราบ: คุณต้องอัปโหลดไฟล์ตัวอย่างอีกครั้งผ่านขั้นตอนการอัปโหลดปกติเพื่อรวมไฟล์เหล่านั้นไว้ในแฟ้มภาพผลงานของคุณ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงไฟล์เหล่านั้นให้เป็นความละเอียดที่สมบูรณ์แบบและตัวเข้ารหัสที่สามารถยอมรับได้ โปรดระลึกเสมอว่าไฟล์เหล่านี้จะได้รับการตรวจสอบโดยทีมตรวจสอบที่ตรวจอย่างสม่ำเสมอของเรา และไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะได้รับการยอมรับเนื่องจากทีมตรวจสอบของเรามีขั้นตอนการตรวจสอบที่เข้มงวดมาก

ในการอัปโหลดคลิป โปรดคลิกที่ลิงค์อัปโหลดที่อยู่ด้านซ้ายของแถบเมนูหลัก คุณยังสามารถสมัครบัญชี FTP ได้โดยไปตามลิงค์ในหน้าอัปโหลด

และโปรดตรวจสอบ iStock Videographer Training Manual ทั้งหมดที่ http://www.istockphoto.com/videographer_1.0_introduction.php เพื่อดูข้อกำหนดที่ยอมรับได้หรือไม่ได้สำหรับการนำเสนอ

ข้อมูลเพิ่มเติมต่อไปนี้เป็นประโยชน์สำหรับช่างภาพที่อยู่ในประเทศไทย:

เราได้สังเกตว่าช่างภาพจากประเทศไทยหลายคนกำลังให้ความสนใจในสถานที่สวยงามที่เข้าถึงได้ง่ายของประเทศ เราได้เห็นแล้วว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่สวยงามอย่างแท้จริง แต่ช่างภาพไทยหลายคนกำลังถ่ายภาพสิ่งเดียวกัน ภาพที่สวยงามของประเทศไทยและภาพธรรมชาติที่มีนั้น เกินความต้องการของเราในขณะนี้ แน่นอนว่า มีวิธีใหม่ๆ และการสร้างสรรค์ใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ และหากแนวทางศิลปะของคุณมีความเป็นเอกลักษณ์ เราจะไม่หยุดยั้งคุณ การถ่ายภาพสิ่งเดียวกันในสไตล์เดียวกันอย่างที่หลายคนทำอยู่ส่งผลให้เนื้อหาของคุณมีโอกาสเพียงน้อยนิดที่จะสะดุดตาผู้ซื้อที่กำลังมองหาสิ่งนั้น เช่น การจำกัดการค้นหาวิดีโอและการค้นหา "ผีเสื้อ" จะแสดงผลลัพธ์มากกว่า 3000 รายการ น้อยกว่า 25% ของไฟล์เหล่านี้ที่ได้รับการดาวน์โหลด โดยเหตุผลหลักคือ ไฟล์เหล่านี้คล้ายคลึงกันมากเกินไป

สิ่งที่เป็นที่ต้องการจากประเทศไทยคือวิดีโอคลิปการดำเนินชีวิตแบบร่วมสมัยของผู้คนที่ได้รับการผลิตมาเป็นอย่างดี เราต้องการเห็นผู้คนทำงาน เรียนหนังสือ เล่นกีฬา และดูแลซึ่งกันและกัน เราต้องการภาพที่นักแสดงได้ลงนามอนุญาตให้เผยแพร่ภาพของตนได้ มากกว่าภาพที่่ถ่ายจากถนนหนทาง เราพบว่าช่างภาพที่นำเสนอเนื้อหาอันเป็นเอกลักษณ์และสร้างสไตล์ในมุมมองของพวกเขาสามารถประสบความสำเร็จในระดับสูง ไฟล์เหล่านั้นคือไฟล์ที่เป็นที่ต้องการ

และการบรรจุความคิดสร้างสรรค์ของคุณลงไปในงานเป็นสิ่งสำคัญ หากคุณกำลังทำงานกับช่างภาพและช่างภาพวิดีโออื่นๆ คุณต้องสร้างสรรค์งานให้มีความแตกต่าง เมื่อคุณมีไอเดีย ให้เริ่มต้นด้วยการค้นหาหัวข้อใน iStock มีผลลัพธ์แสดงขึ้นเท่าใด สไตล์การถ่ายภาพของคุณนำเสนอรูปแบบใหม่ในหัวข้อนี้หรือไม่ งานของคุณสามารถเติมเต็มคอลเลคชั่นได้หรือไม่ หรือเป็นการทำซ้ำสิ่งที่มีอยู่แล้ว เมื่อคุณมีแผนการแล้ว ให้เขียนสตอรีบอร์ดแล้วทำตามขั้นตอนนั้น

รายการต่อไปนี้มีไว้เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจประเภทของหัวข้อที่ควรหลีกเลี่ยงและหัวข้อที่ควรค้นหา รายการเหล่านี้ไม่ได้ครอบคลุมทุกเนื้อหา เป็นเพียงเครื่องชี้แนะเท่านั้น

เว้นแต่ว่าคุณมีแนวทางหรือเทคนิคที่เป็นเอกลักษณ์ โปรดอย่าส่งคลิปของ:

- ผีเสื้อ, แมลงปอ
- ลิง
- ปลา, กบ, งู และอื่นๆ
- เมฆ
- การจราจร
- การบันทึกภาพในช่วงเวลาหนึ่ง (Time-Lapse)
- ไซต์ก่อสร้าง
- เรือบรรทุกสินค้า
- สิ่งอำนวยความสะดวกในท่าเรือตู้สินค้า
- กังหันน้ำ
- ผึ้งในดอกไม้
- ดอกไม้และต้นไม้
- น้ำตก
- พระอาทิตย์ตก
- คลื่นในทะเล
- ดอกบัว
- จานอาหาร
- และอื่นๆ

โปรดส่งคลิปของ:

- การปฏิสัมพันธ์ของผู้คน (ภาพระยะใกล้ของการแสดงความรู้สึกและปฏิกิริยา)
- ผู้คนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
- ผู้คนกำลังรับประทานอาหารร่วมกันอย่างเพลิดเพลิน, มิตรภาพ (ภาพระยะใกล้ของการแสดงความรู้สึกและปฏิกิริยา ไม่ใช่จานอาหาร)
- เด็กๆ เล่นสนุกด้วยกัน, เรียนหนังสือ, เล่นสนุกกับครอบครัว
- ภาพระยะใกล้ของกีฬา, การชกมวยไทย, และอื่นๆ
- ชีวิตยามค่ำคืน, การเข้าสังคม, การช้อปปิ้ง (ภาพระยะใกล้)
- อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ (ที่มีผู้คนและภาพระยะใกล้)
- วิทยาศาสตร์ การค้าขายและพาณิชย์ (ที่มีผู้คนและภาพระยะใกล้)
- การเฉลิมฉลองและวันหยุดตามประเพณี (ที่มีผู้คนและภาพระยะใกล้)
- การดูแลสุขภาพ (ที่มีผู้คนและภาพระยะใกล้)
- โดยทั่วไปแล้ว เราต้องการภาพของการดำเนินชีวิตแบบร่วมสมัยในประเทศไทย (โดยไม่มีตราสัญลักษณ์)

สิ่งหนึ่งที่คุณควรสังเกตจากรายการด้านบนคือ เนื้อหาที่เรากำลังต้องการมีความยากในการผลิตมากกว่าเนื้อหาที่เราไม่ต้องการ ซึ่งต้องมีการวางแผน, การกำกับ, การอนุญาต, งานเอกสาร และการฝึกฝน อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้เป็นสิ่งที่คุณต้องทำ หากต้องการประสบความสำเร็จที่ iStockphoto

คุณอาศัยอยู่ในประเทศที่มีความงดงามมีชีวิตชีวา ณ เวลานี้ โลกต้องการเห็นเรื่องราวของผู้คนที่ดำเนินชีวิตในแบบไทยๆ


พออ่านจบก็ชอบตรงประโยคสุดท้ายที่ว่า "คุณอาศัยอยู่ในประเทศที่มีความงดงามมีชีวิตชีวา โลกต้องการเห็นเรื่องราวของผู้คนที่ดำเนินชีวิตในแบบไทยๆ" ประเทศเรานั้นสวยงามเสมอในสายตาของชาวต่างชาติ รวมถึงในสายตาของคนไทยเอง

เหตุผลที่ iStockphoto ได้แนะนำมาถือว่าเป็นประโยชน์มาก สำหรับเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานวิดีโอใหม่ๆ ต่อไปครับ... ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพและถ่ายวิดีโอกันน่ะครับ ^_^

Saturday, January 5, 2013

การสมัครเป็นศิลปินที่ Dreamstime (Part 1)

สวัสดีปีใหม่ 2556 ครับ มิตรรักแฟนบล็อกศิลปินช่างภาพทุกท่าน \\ (^_^) // เริ่มต้นปีใหม่ ผมก็เริ่มด้วย บล็อกใหม่ เรื่องใหม่ ตอนใหม่ ในการแนะนำการเป็นศิลปินขายผลงานผ่านสื่อออนไลน์ที่เว็บ Dreamstime

รูปที่ 1 - Dreamstime Logo

เว็บไมโครสต๊อก Dreamstime ก็ถือว่าเป็น Top 5 ของวงการขายภาพเลยครับ โดยเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2000 ในสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีรูปออนไลน์รอขายอยู่ 15 ล้านรูป มีศิลปินหรือช่างภาพอยู่ 140,000 คน (เยอะมว้ากก..) มีลูกค้าที่รอจะซื้อรูปอยู่ 5 ล้านคน (เยอะมว้ากกว่า 555+) ไม่แปลกเลยที่จะมีสถิติการเข้าใช้งานเว็บ 11 ล้านคน/เดือน เลยทีเดียวครับ

จากจำนวนลูกค้าที่หลากหลายทั่วโลก เว็บจึงรองรับภาษาต่างๆ ได้ 12 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ, ดัตช์, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อิตาลี, โปรตุเกส, จีน, กรีก, โปแลนด์, รัสเซีย และสวีเดน ภายในเว็บได้แบ่งหมวดหมู่ของภาพออกเป็น 13 กลุ่มหลักดังนี้

1. Abstract (3.9 ล้านรูป)
2. Animals  (0.8 ล้านรูป)
3. Arts & Architecture (1.3 ล้านรูป)
4. Business (1.2 ล้านรูป)
5. Editorial (0.3 ล้านรูป)
6. Illustrations & Clipart (1.8 ล้านรูป)
7. Industries (3.0 ล้านรูป)
8. IT and Computer (0.1 ล้านรูป)
9. Nature (3.0 ล้านรูป)
10. Objects and Items (2.7 ล้านรูป)
11. People (3.0 ล้านรูป)
12. Technology (0.2 ล้านรูป)
13. Travel (1.2 ล้านรูป)

โดยผมได้สรุปจำนวนภาพที่อยู่ในหมวดหมู่เหล่านั้นไว้ด้านหลัง (รูปหนึ่งรูปสามารถกำหนดได้ 3 หมวดหมู่) จะเห็นว่าหมวดหมู่ Abstract ได้รับความนิยมมากจากมีช่างภาพหรือศิลปินที่สร้างสรรค์งานในแนวนามธรรม และหมวดหมู่ที่นิยมน้อยสุดคือ Technology และ Editorial ถ้าจะให้ผมวิเคราะห์กันแบบง่ายๆเลยว่า "แนวไหนขายดี แนวนั้นก็ถูกทำออกมาเยอะ"

รูปที่ 2 - 5 รูปขายดีของแต่ละหมวดหมู่

แต่ผมยังไม่สรุปหรอกน่ะว่าแนว Abstract จะขายดีที่สุดเพราะมีรูปในหมวดหมู่นี้มากสุด เกือบ 4 ล้านรูป ผมเลยเข้าไปดู 5 อันดับแรกที่มียอดดาวน์โหลดสูงสุดของแต่ละหมวดหมู่ เอามาแสดงโดยเรียงตามหมวดหมู่ที่มีภาพมากสุดไปน้อยสุด ดังรูปที่ 2

ถ้าลองดูคร่าวๆ ก็จะเห็นว่าภาพไหนขายดี ก็จะมีอันดับดีมากในแต่ละหมวดหมู่ที่ช่างภาพได้ระบุไว้ (สูงสุด 3 หมวดหมู่) เช่น ภาพลูกสุนัขฟังเพลง (Grooving puppy) มียอดดาวน์โหลด 565 downloads และมียอดการดู 33,082 views เป็นภาพที่ถูกระบุไว้ 3 หมวดหมู่คือ Animals, Industries และ Objects and Items ส่วนอีกภาพที่ดูแล้วสุดๆ เลยครับ คือ ภาพจูบกลางชายหาด (Wedding kiss) มียอดดาวน์โหลด 1,041 downloads และมียอดการดู 98,635 views ซึ่งน่าจะเป็นภาพที่มีสถิติที่ดีที่สุดของเว็บ Dreamstime เลยก็ว่าได้ครับ

พอเห็นภาพถ่ายที่ได้รับความนิยมขนาดนี้ ผมเลยลองเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพนี้ซ่ะหน่อย (หาข้อมูลเพื่อสร้างงานของผมเองด้วย 555+) โดยภาพ Wedding Kiss นี้เป็นผลงานของช่างภาพสุภาพสตรี ที่ใช้นามว่า "Kelliem" (ดูผลงานของเธอ) เธอมีภาพถ่ายใน portfolio เกือบ 500 ภาพ มียอดดาวน์โหลดรวม 7 พันกว่าดาวน์โหลด โดยเธอเริ่มขายรูปที่ Dreamstime ตั้งแต่ปี 2005 และได้เป็นสมาชิกแบบ Exclusive (ขายภาพที่เว็บนี้เว็บเดียว)

"I love to capture people the way they look...natural." - Kelliem กล่าว ผมดูผลงานของเธอโดยรวมก็เป็น ภาพบุคคลแนวไลฟ์สไตล์และธรรมชาติ สำหรับอุปกรณ์ประจำกายของเธอคือ "Canon 40D Telephoto 75-300, 17-85m Canon 5D Mark2 Lens 10-22m, 50mm 1.4. 85mm 1.8" ก็ถือว่าใช้อุปกรณ์ไม่เทพมาก แต่มุมมองการสร้างสรรค์ดูโดดเด่นจริงๆ ครับ (ผมดูแล้วแทบอยากหานางแบบนายแบบไปถ่ายภาพที่ทะเลซ่ะเดี๋ยวนี้เลย 555+)

รูปที่ 3 - หน้าแรกเว็บ Dreamstime

จากรูปหน้าแรกของเว็บ Dreamstime (รูปที่ 3) เราก็เกริ่นกันมาพอเป็นน้ำจิ้มแล้ว คราวนี้ก็เริ่มลุยกันเลยดีกว่า ศิลปินท่านใดยังไม่เป็นสมาชิกของเว็บ Dreamstime ก็กระแทกเมาส์ไปที่ลิงค์ "Sign up" ด้านบนของหน้าเว็บได้เลยครับ :)


รูปที่ 4 - หน้า Sign up

แล้วก็จะเข้าสู่หน้า "Sign up" จะเห็นว่าการสมัครเข้าใช้งานก็ไม่ต้องกรอกอะไรมากมายครับ (ไอ้ที่กรอกเยอะรออยู่ด้านใน 555) สำหรับศิลปินท่านใดเคยสมัครที่เว็บอื่นมาก่อนแล้ว หรืออ่านในบล็อก "การสมัครขายภาพออนไลน์ที่ 123RF" ก็จะเริ่มคุ้นเคยกับการกรอกข้อมูลบ้างแล้วใช่มั้ยครับ ก็มีรายละเอียดที่ต้องกรอกดังนี้ครับ

* กรอกข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้นน่ะครับ

1. Username

Username เป็นชื่อที่ใช้ Login เข้าเว็บ ยังเป็นชื่อใน URL ของ Portfolio ของเราที่เว็บ Dreamstime ด้วย เช่น ของผมตั้งเป็น Foto76 เลยมี URL เป็น http://www.dreamstime.com/Foto76_portfolio_pg1

ดังนั้นก็คิดชื่อเจ่งๆกันไว้เลย แต่บางชื่อที่คิดว่าดีเก๋กู๊ดแล้ว แต่อาจจะมีคนใช้ไปก่อนหน้าเราแล้ว ท่านศิลปินสามารถเช็คว่าใครใช้ชื่อนั้นไปหรือยังก็กดที่ลิงค์ "Check availability" ถ้ามีคนใช้ไปแล้ว ระบบก็จะแจ้งข้อความเตือนว่า "Username already exists. Please choose another" ผมลองพิมพ์ "aaaaaaaaaaaa" และลองเช็คดู ปรากฏว่าไม่ว่างแล้วซ่ะงั้น โอ้ววว.. แต่ถ้าว่างก็จะมีข้อความว่า "Username is available."

2. Password

รหัสผ่านสำหรับเข้าเว็บ Dreamstime ก็แน่นอนครับ ควรตั้งไว้ให้เดายากๆหน่อย ถามว่าตั้งอะไรดีให้ยากๆ ก็ลองดูข้อความด้านหลังช่องกรอกรหัสผ่าน ถ้ามีคำว่า "Too short" หรือ "Weak" ก็ยังเป็นรหัสที่ดูไม่ค่อยปลอดภัย แต่ถ้ามีข้อความ "Good" หรือ "Very Strong" ก็ถือว่ารหัสท่านแข็งมาก 555+

3. Email address

กรอกอีเมลเอาไว้รับข้อมูลข่าวสารกับทางเว็บ Dreamstime

4. Referral/promotional bonus code

เป็นรหัสอ้างอิง แต่เราไม่มีก็ไม่ต้องกรอกก็ได้ครับ

5. I agree to receive site announcement

ติ๊กเลือกเพื่อยอมรับการรับข่าวสารต่างๆจากเว็บ Dreamstime

6. Set Dreamstime as my homepage

ปล่อยว่างไว้ก็ได้ครับ แต่ถ้าอยากตั้งเว็บ Dreamstime ไว้เป็นเว็บแรกตอนเปิดเว็บบราวเซอร์ก็ติ๊กเลือกได้ครับ

7. I agree with the terms and conditions

ติ๊กเลือกเพื่อยอมรับในเงื่อนไขต่างๆของเว็บ Dreamstime แน่นอนครับยังไงก็ต้องติ๊ก ถึงแม้จะไม่เคยคิดจะอ่าน Terms and conditions ก็ตาม 555+

8. Submit

เมื่อเช็คความถูกต้องต่างๆ แล้วก็กด "Submit" เพื่อลงทะเบียนได้เลยครับ

รูปที่ 5 - หน้าต้อนรับเข้าใช้งานเว็บ Dreamstime

ถ้าทุกอย่างผ่านฉลุย เราก็จะเข้ามเจอหน้าต้อนรับศิลปินน้องใหม่ (รูปที่ 5) ทางเว็บเค้าจะดีใจมาก ถึงกับขึ้นข้อความแสดงความยินดีเลยอ่ะ "Congratulations, you are the newest member of Dreamstime." ที่เค้ายินดีเพราะ ท่านอาจจะเป็นศิลปินที่สร้างผลงานดี รายได้ดี แล้วทางเว็บก็จะได้รวยๆไปกับท่านด้วย Win-Win ครับ ^^

ด้านล่างท่านจะเห็นข้อความ "If you are a contributor, upload images here." เพื่อเป็นการเรียกท่านว่า มาทางนี้... มาทางนี้... ถ้าท่านอยากเป็นศิลปิน ท่านก็อัพโหลดรูปเลยซิค่ะ แต่ผมยังไม่ไปตามคำเรียกนั้น จะพาท่านศิลปินไปกรอกข้อมูลส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อน โดยกดที่ลิงค์ "Edit" ด้านขวาบนของหน้าเว็บครับ

รูปที่ 6 - หน้า Modify user profile

แล้วท่านศิลปินก็จะมาเจอหน้าแก้ไขข้อมูลส่วนตัว (ดังรูป 6) เข้ามาหน้านี้ครั้งแรกก็เป็นการมาใส่ข้อมูลที่จำเป็นให้ครบถ้วน ก่อนที่จะไปลุยกับการอัพโหลดรูปกันต่อไปครับ

สำหรับศิลปินที่มีประสบการณ์ในการกรอกแล้ว ก็จัดไปได้เลยน่ะครับ หลักๆ ก็บังคับกรอกข้อมูล First name, Last name, Email address, City, Address, Zip code และ Phone ส่วนท่านที่ยังไม่คุ้นเคย มีรายละเอียดดังนี้ครับ

(All written information submitted must be in English. All fields marked as * are mandatory) อย่าลืมน่ะจ๊ะกรอกเป็นภาษาอังกฤษน่ะตัวเธอ ^^

1. First name*

กรอกชื่อของศิลปิน (ไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อครับ)

2. Last Name*

กรอกนามสกุลของศิลปิน

3. Email address*

ที่อยู่อีเมลของเรา ซึ่งก็ขึ้นมาแสดงให้เลย เพราะเรากรอกไปตั้งแต่ขั้นตอนการ "Sign up" แต่ถ้าอยากเปลี่ยนก็แก้ไขได้ครับ

4. Web site

กรอกเว็บไซต์ของเรา (ถ้ามี) เอาไว้เผื่อลูกค้าชื่นชอบผลงานของเรามาก ก็จะตามไปดูข้อมูลในเว็บของเรา ก็เอาไว้อวดฝรั่งอ่ะครับ โน้นนี่นั่น ผมเองก็จัดเว็บบล็อกนี้กรอกไปครับ "http://foto76-stock-photos.blogspot.com"

5. Company

ชื่อบริษัท (ถ้ามี) กรณีถ้าเรามีสังกัดในการถ่ายภาพ แต่ศิลปินส่วนใหญ่รักอิสระน่ะผมว่า

6. City*

กรอกชื่ออำเภอ หรือชื่อเขต เอาตัวอย่างผมละกัน ผมมีภูมิลำเนาอยู่อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ส่วนนี้ก็กรอก "Muang"

7. Address*

กรอกที่อยู่ ก็อีกแหละผมยกตัวอย่างของผมละกัน (ยกเว้นบ้านเลขที่ที่เป็นของปลอม) "000 Moo 1, Kokkian Subdistrict"

8. State

กรอกจังหวัด ส่วนนี้เมืองนอกคงไม่สำคัญมั้ง ไม่เห็นมีเครื่องหมายจำเป็นต้องกรอก แต่สำหรับเมืองไทย จำเป็นน่ะ ผมว่ากรอกเหอะ ผมกรอกเป็น "Narathiwat"

9. Zip code*

กรอกรหัสไปรษณีย์ 5 หลัก จัดไป "96000"

10. Phone*

กรอกเบอร์โทรศัพท์ ก็ตามรูปแบบสากลน่ะครับ เช่น เบอร์มือถือ "6681xxxxxxx" เบอร์บ้านในเขตกรุงเทพ "662xxxxxxx" หรือเบอร์ตามต่างจังหวัด อาทิ จังหวัดนราธิวาสก็ "6673xxxxxx" หลักง่ายๆคือ เอาเลข 66 มาแทนเลข 0 ครับ

เบอร์สำหรับติดต่อนี้ ไม่ต้องห่วงน่ะครับ ว่าฝรั่งจะโทรมารบกวน สำหรับผมแล้วทำมาสองปีกว่าจะเข้าปีที่สามแล้ว ยังไม่มีวี่แววว่าฝรั่งจะโทรมากวนเลย ถ้ามีอะไรจะติดต่อเราจริงๆ ฝรั่งจะส่งเมลมาแทนครับ ^^

11. Your photo

เป็นส่วนใส่รูปประจำตัวของเรา ก็เอาไว้โชว์ฝรั่งนั่นแหละ เผื่อว่าก่อนจะซื้อรูปของเรา เค้าอยากเห็นหน้าช่างภาพซ่ะหน่อย 555+ โดยขนาดของรูปก็ไม่เล็กกว่า 180x220 pixels

12. Equipment details

เป็นส่วนที่ไว้ประกาศว่าอาวุธประจำกายเรามีอะไรบ้าง ก็กรอกพอไว้เป็นข้อมูลให้ผู้ซื้อมั่นใจว่าภาพที่เค้าซื้อเราไป มาจากอุปกรณ์ไม่ธรรมดาน่ะ แต่ถ้ายังไม่พร้อมก็ยังไม่ต้องกรอกก็ได้ครับ ^^

13. Favourite subjects

เป็นคำถามปลายเปิด ถามในวัตถุที่เราโปรด ท่านใดเก่งภาษาหน่อยก็จัดไปอย่าให้เสียชื่อคนไทยน่ะครับ ส่วนใหญ่ก็เป็นการอธิบายแนวการถ่ายภาพที่ถนัดครับ ถ้ายังไม่พร้อมกรอกก็ข้ามไปได้ครับ สำหรับผมก็จัดไปให้ให้เสียชื่อ "Travel, Nature, Closeup"

14. Bio / Artistic statement

เป็นส่วนของศิลปินไว้แถลงการณ์อะไรก็ได้ หัวข้อนี้เปิดกว้างครับ ผมเลยไม่กรอกซ่ะเลย

15. Do not show my name and location on the public website

เป็นหัวข้อให้เลือกว่าจะแสดงข้อมูล "ชื่อ" และ "ที่อยู่" (ข้อมูลอำเภอและประเทศ) ของเราในหน้า Profile ของเราใน Dreamstime หรือเปล่า ถ้าต้องการก็ไม่ต้องติ๊กเลือกไปครับ แต่ถ้าต้องการเป็นส่วนตัวหน่อยก็ติ๊กเลือกไปครับ

ข้อมูล Profile ใน Dreamstime ของผมคือ "http://www.dreamstime.com/foto76_info" หน้านี้จะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับศิลปินหลายอย่างครับ เอาไว้ค่อยอธิบายในคราวหน้าน่ะครับ

16. I agree to receive site announcements (no advertisements)

เป็นช่องให้ติ๊กเลือกว่าจะรับข่าวสารจากเว็บ Dreamstime หรือเปล่า โดยเค้าเน้นน่ะว่าไม่มีโฆษณาแน่นอน ก็ติ๊กเลือกรับไปจะดีกว่าครับ :)

17. Submit

ถ้ากรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วก็กดปุ่ม "Submit" เพื่อบันทึกข้อมูลได้เลยครับ จะสังเกตว่าจะมีข้อความเตือนอีกว่า "All written information submitted must be in English." ซึ่งผมคิดว่าคงมีศิลปินหลายท่านกรอกข้อมูลผิดเยอะมากแน่ๆ 555+

ถ้าการแก้ไขข้อมูลผ่านไปด้วยดีก็จะมีข้อความ "Operation completed successfully." แจ้งให้ทราบครับ

18. Change your password

สำหรับท่านที่้ต้องการเปลี่ยนรหัสผ่านก็กดคลิก "Change your password" จะมีช่องขึ้นมาให้กรอกรหัสเก่า และให้ใส่รหัสใหม่สองครั้ง จากนั้นก็กดปุ่ม "Submit" เป็นอันเสร็จครับ

เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการใส่ข้อมูลส่วนตัวของท่านศิลปิน ถ้าท่านศิลปินต้องการดูหน้า Profile ของตัวเองว่าเป็นอย่างไรก็สามารถกดที่ลิงค์ "My profile" ตรงด้านบนสุดด้านขวาของหน้าเว็บครับ

แหมน่าเสียดายครับท่านผู้ชม หมดเวลาซ่ะงั้น เอาเป็นว่าไว้ค่อยมาเจอกันใหม่ในตอนหน้าน่ะครับ ก่อนจากลาผมทิ้งท้ายไว้กับหน้า "Management Area" ลองหาดูครับจะมีแถบสีเขียนให้เห็นอย่างเด่นชัด เมื่อเข้าไปที่หน้า Management Area นี้แล้ว ท่านศิลปินจะเห็นอะไรมากมาย ลายตาไปหมด มันเยอะจริงไรจริงครับ ผมเลยต้องยกยอดไปตอนหน้าไงครับ ^^

รูปที่ 7 - หน้า Management Area

ติดตามอ่านต่อ ตอนที่ 2 และตอนที่ 3 ได้เลยครับ :)