Tuesday, July 24, 2012

การเตรียมตัวสำหรับส่งรูปขายออนไลน์ Part 2

จากบล็อกที่แล้วได้แนะนำการเตรียมตัวเบื้องต้น ตั้งแต่ทำหนังสือเดินทางไว้ยืนยันตัวตนกับทางตัวแทนขายภาพ จากนั้นก็สมัคร PayPal เพื่อเอาไว้รับเงินโอนจากตัวแทนขายภาพเมื่อมีรายได้ถึงยอดที่กำหนดไว้ และเรื่องการเตรียมอุปกรณ์ถ่ายภาพ

ในตอนที่ 2 นี้ จะเป็นเรื่องต่อเนื่องจากหัวข้อที่ "4) เทคนิคการภาพ" สำหรับส่งขายออนไลน์ โดยเกริ่นนำไปแล้ว 2 หัวข้อคือ

     4.1) ต้องไม่ใช้ภาพแนว Snapshot
     4.2) ต้องเป็นภาพที่คมชัด



เรามาต่อในหัวข้อถัดไปกันเลยครับ

     4.3) ต้องเป็นภาพที่วัดแสงพอดี
คำว่าแสงพอดี ก็เป็นเรื่องน่าปวดหัวเหมือนกันครับ บางรูปที่เราคิดว่าแสงโอเคแล้ว ไม่น่าจะมืดไป (Under) หรือสว่างเกินไป (Over) ก็อาจจะคาดผิดได้ มันขึ้นอยู่หลายปัจจัย เช่น รูปเราถ่ายมาแสงพอดีแล้ว แต่เมื่อนำมาดูผ่านจอคอมพิวเตอร์แล้วทำไมดูมืดผิดปกติ หรือดูสว่างไป หรือค่าระดับความเปรียบต่างของแสงสูงมาก (Constrast) หรือไม่ก็ดูสีมันเพี้ยนๆจากที่เคยเห็นใน LCD ของกล้อง ปัญหาแรกคือจอภาพที่ดูยังไม่ได้ปรับหน้าจอให้ได้มาตราฐาน (Monitor Color Calibration) เบื้องต้นก็ลองค้นหาวิธีการปรับจอผ่านเน็ตดูก่อนน่ะครับ มีหลายเว็บแนะนำไว้แล้ว เช่น http://www.wikihow.com/Calibrate-Your-Monitor (ถ้ามีเวลาจะมาอธิบายวิธีปรับจออีกที)

เมื่อแก้ปัญหาหน้าจอคอมพิวเตอร์แสดงแสงและสีได้ถูกต้องแล้ว ก็มาถึงคราวของข้อมูลต้นทางอย่างตัวภาพถ่ายกันครับ ในการตัดสินภาพถ่ายว่าแสงพอดีหรือยัง ไม่มืดไป ไม่สว่างไป หลายคราก็อาศัยประสบการณ์ของช่างภาพเอง แต่ก็มีตัวช่วยอยู่เหมือนกัน นั่นคือกราฟฮีสโตแกรม "Camera Histogram" หรือกราฟแสดงความมืด-สว่าง ของภาพถ่าย

ตัวอย่างภาพและกราฟ Histogram

กราฟ Histogram นี้จะมีให้ดูในตัวกล้องเองและทั้งโปรแกรมแต่งภาพทั่วไป โดยถ้ากราฟส่วนใหญ่เอียงไปทางซ้ายมือแสดงว่าภาพจะมืดไป ถ้าเอียงไปด้านขวามือมากๆแสดงว่าภาพสว่างไป ถ้ากราฟกองอยู่ตรงกลางเป็นส่วนใหญ่ นั่นก็ถือว่าแสงพอดีแล้ว ดังนั้นเป็นตัวช่วยตรวจเช็คความพอดีของแสงในภาพถ่ายได้เป็นอย่างดีครับ

ในหัวข้องวัดแสงพอดีนี้ผมขอใส่เรื่อง "แสงแข็ง" และ "แสงนุ่ม" มาเพิ่มในส่วนนี้ละกัน เพราะลืมใส่ไว้ในหัวข้อใหญ่

"แสงแข็ง" เป็นลักษณ์ภาพที่ทางตัวแทนขายภาพไม่ค่อยชอบ ต่างจาก "แสงนุ่ม" ทางตัวแทนขายภาพจะชอบมากๆ ก็เพราะว่าแสงนุ่มหรือแสงเคลียร์ นั่นคือไม่ว่าถ่ายวัตถุใดๆ ดอกไม้ บุคคล อาหาร ฯลฯ ทุกๆส่วนของภาพจะได้รับแสงพอดี ไม่มีส่วนใดสว่างไป หรือมืดไปจนไม่เห็นรายละเอียด ภาพแนวแสงนุ่มจะขายได้ง่ายกว่าและเป็นที่นิยม

ส่วนภาพที่เป็นแสงเข็ง ก็อาจจะมีวางขายอยู่บ้าง แต่ไม่ค่อยนิยมซื้อกันซักเท่าไหร่ (ยกเว้นว่าภาพนั้นออกแนว Abstract แบบโดนๆ ก็เป็นอีกเรื่องนึง) ดังนั้นการถ่ายภาพหรือคัดเลือกภาพถ่ายก็ไม่ควรเลือกภาพแสงแข็งส่งไปขายเพราะส่วนใหญ่จะไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ตรวจภาพ ดูตัวอย่างดังรูปด้านล่างครับ

ตัวอย่างภาพที่มีแสงแข็งเกินไป

ตัวอย่างภาพที่มีแสงนุ่ม :)

     4.4) ต้องเป็นภาพที่ไม่มี Noise
Noise คือจุดเล็กๆ ที่อยู่ในภาพหรือความหยาบกระด้างในภาพ (ผมใช้คำซ่ะดูรุ่นแรง) ภาพที่มี Noise เยอะๆ จะไม่ค่อยเป็นที่นิยมซื้อจากลูกค้า เพราะถือว่าภาพนั้นมีตำหนิหรือไม่ค่อยสมบูรณ์ เปรียบดั่งเวลาเราไปซื้อผลไม้ เราก็ต้องการผลไม้สดๆ ผิวสะอาดๆ และไม่มีริ้วรอยใดๆ ยกเว้นไม่มีให้เลือก 555+

แน่นอนเหล่าลูกค้าที่จะซื้อภาพ เขาก็ต้องเลือกภาพที่คุณภาพดีที่สุด มีตำหนิน้อยสุด ดังนั้นทางผู้ส่งภาพขายก็ต้องส่งผลงานคุณภาพไปให้ลูกค้าเลือกด้วยเช่นกัน ซึ่งปัญหา Noise นี้ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไรมาก เพราะเราสามารถควบคุมมันได้ ปัญหา Noise เกิดจากสองสาเหตุ หนึ่งเกิดจากการตั้ง ISO สูงๆ และสองเกิดจากการเปิดหน้ากล้อง (Shutter Speed) นานๆ ปกติแล้วผมจะตั้งค่า ISO ไว้ที่ 100-200 สูงสุดไม่เกิน 400 เพราะถ้ามากกว่านั้น Noise จะเริ่มเยอะมากครับ

ภาพที่ถ่าย ISO สูง ก็จะมี Noise เกิดขึ้น

ในหัวข้อนี้ผมจะรวมเรื่อง "ฝุ่น" ที่เกาะอยู่บนเซ็นเซอร์รับภาพ แล้วส่งผลให้เกิดเป็นเม็ดฝุ่นขึ้นในภาพ ถ้ามีฝุ่นหรือพวก Hot Pixel ปรากฎอยู่ในภาพ ถ้าทำได้ก็ต้องลบฝุ่นออกให้หมด ก่อนส่งภาพขายด้วยน่ะครับ

ตัวอย่างภาพที่มีเม็ดฝุ่นปรากฏให้เห็น

     4.5) ต้องเป็นภาพที่สีไม่เพี้ยน
ภาพสีเพี้ยน หมายถึงภาพที่ปรับสมดุลย์สีขาว (White Balance - WB) ไม่ถูกต้อง จึงทำให้สีเพี้ยนจากความเป็นจริงที่ควรจะเป็น เช่นเราตั้งใจถ่ายกระดาษสีขาว แล้วตั้ง WB ผิด จากกระดาษสีขาวอาจกลายเป็นกระดาษสีฟ้าหรือสีเหลืองก็เป็นได้ ปกติเรื่อง WB ผมเองก็ไม่ค่อยแม่นเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ผมเลยถ่ายเป็น RAW เอาไว้ก่อนทุกรูป จากนั้นค่อยมาปรับแต่งผ่านโปรแกรม Camera Raw ใน photoshop อีกที

แต่ถ้าช่างภาพคนไหนแม่นเรื่องนี้แล้วก็สามารถปรับแต่ง WB ให้ถูกต้องเสียตั้งแต่ตอนถ่าย จะได้ไม่เหนื่อยตอนแต่งภาพ (Post Processing) ผมเองก็มีภาพเก่าๆที่ถ่ายไว้เป็น JPG เกือบหมด ก็มาเลือกภาพที่สีไม่เพี้ยนส่งขายก็พอมีอยู่บ้าง ส่วนภาพสีเพี้ยนก็มีอยู่เยอะ ก็อาศัยต้อง photoshop เพื่อแก้สีอีกทีครับ

ตัวอย่างภาพสีเพี้ยน
จากรูปถ่ายด้านบน ผมถ่ายรูปสร้อยตั้งอยู่บนกระดาษสีขาว และใช้โคมไฟฟลูออเรสเซนต์ ตอนถ่ายก็ไม่ได้สนใจเรื่อง WB พอถ่ายออกมาสีก็เลยเพี้ยน เป็นโทนสีฟ้าแทนที่จะเป็นโทนสีขาว

อีกประเด็นปัญหาคือภาพมี "ขอบม่วง" (Chromatic aberration) หรือภาพที่ถ่ายย้อนแสงแล้วจะเกิดขอบสีม่วงๆ บริเวณขอบวัตถุ ภาพที่มีขอบม่วงเยอะๆ ก็อาจจะไม่ผ่านการพิจารณาตัวแทนขายภาพ ขั้นต้นภาพแนวย้อนแสงก็ต้องดูก่อนว่ามีขอบม่วงหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องแก้ไขเอาขอบม่วงออก ก่อนส่งขายครับ


     4.6) ต้องเป็นภาพที่มีองค์ประกอบที่ดี
การจัดองค์ประกอบภาพ (Composition) ในส่วนนี้ก็มีประเด็นเยอะในการตัดสินว่าองค์ประกอบภาพนี้ดีหรือไม่ดี บางครั้งภาพถ่ายของเราก็ตั้งใจถ่ายแนวอาร์ตๆ อยากถ่ายนางแบบมุมแปลกๆ อยากถ่ายแนวขอบฟ้าแบบเอียงๆ เลือกถ่ายภาพอาหารแบบครึ่งจาน อะไรทำนองนี้ ซึ่งคำว่าองค์ประกอบภาพดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของคนตรวจภาพ (Inspector) บางคนก็ให้ผ่านง่ายๆ บางคนก็ผ่านยากครับ

การจัดองค์ประกอบภาพมันไม่มีกฏตายตัวครับ กฎคือไม่มีกฎ ดังนั้นผมเลยคัดรูปที่ไม่ผ่านเพราะเหตุผลจัดองค์ประกอบภาพไม่ดี(ตรวจโดย Shutterstock) มาให้ดูเป็นตัวอย่างละกันครับ

รูปตัวอย่างภาพที่ไม่ผ่านเพราะเหตุผล Composition

     4.7) ต้องเป็นภาพที่ไม่มีโลโก้สินค้าใดๆอยู่ในภาพ
ภาพที่เลือกส่งขายออนไลน์มีกฎอยู่ข้อนึงที่ต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด คือห้ามมีโลโก้สินค้าใดๆอยู่ในภาพนั้น และรวมไปถึงสิ่งใดๆก็ตามที่มีรูปลักษณะที่มีเจ้าของลิขสิทธิ์ที่ชัดเจน เช่น ตุ๊กตาโดเรมอน ก็มีเจ้าของลิขสิทธิ์น่ะครับ

รูปที่เราถ่ายเพื่อนำไปขาย จะถูกตีความหมายว่าใช้เพื่อการค้า นั่นคือเอารูปนั้นไปขายแล้วเอาเงินเข้ากระเป๋าเราเอง ซึ่งไม่ดีเป็นแน่ถ้าเรานำเอาลิขสิทธิ์ของผู้อื่นไปแสวงหากำไร ดังนั้นเรื่องนี้จากตัวแทนขายภาพก็ป้องกันปัญหาที่จะตามมา จึงไม่รับภาพที่มีโลโก้หรือไม่ก็สิ่งของใดๆก็ตามที่มีการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ไว้แล้ว

ดังนั้นเวลาถ่ายภาพ เราก็ต้องเลือกถ่ายในสิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์ ไม่มีโลโก้ เป็นกฎเบื้องต้นครับ ตัวอย่างเช่น อยากถ่ายรูปเสือยืดเพื่อขาย สิ่งที่ต้องระวังอยางแรกคือโลโก้ยี่ห้อเสื้อ ถัดมาถ้ามีลายสกรีนบนเสื้อก็ต้องระวังด้วยเพราะอาจจะเป็นลายที่มีเจ้าของผลงานอยู่ เช่น มีลายกรีนรูปนก Angry Birds หรือ Mickey Mouse อย่างนี้ก็ไม่ผ่านแน่นอน ปัญหาเหล่านี้รวมไปถึงห้ามไปถ่ายผลงานศิลปะภาพวาด ประติมากรรม อะไรทำนองนี้ เพราะถือว่าไปละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นด้วยครับ

กรณีที่เคยถ่ายรูปที่มีโลโก้ไว้ ก็สามารถแก้ไขโดยการใช้กำลังภายในวิชา Photoshop ช่วยในการ Retouch ออกให้หมดก่อนส่งขายครับ ผมก็โดนประเด็นนี้พอสมควร เช่น ถ่ายรูปเรือประมง ซึ่งข้างเรือประมงไทยส่วนใหญ่จะมีชื่อเรือเขียนลวดลายไว้ ซึ่งลวดลายที่ว่านี้ก็ทำให้ไม่ผ่าน ถ้าจะให้ผ่านก็ต้อง Retouch ชื่อเรือออกก่อนครับ  (- -")

รูปที่โดน rejected เพราะประเด็นเรื่อง Trademark

จากรูปด้านบนที่โดน Rejected ในประเด็นปัญหา Tradmark อย่างรูปแรกเป็นรูปปั้นกินรีในวัดพระแก้ว ปกติรูปที่ผมส่งไปขายแบบไม่ตัดขอบ (Die Cut) ทางผู้ตรวจก็ให้ผ่าน ก็คงเห็นว่าเป็นศิลปะที่อยู่ในวัด แต่พอผมไดคัทเอาฉากหลังออก พอส่งไปอีกรอบ ก็โดนประเด็น Tradmark ทันทีครับ ส่วนรูปเรือก็ดังที่ได้ยกตัวอย่างไป สำหรับอีกรูปก็เป็นฟิล์มถ่ายรูป ผม Retouch คำว่า Kodak ออก ก็คิดว่าแค่นี้คงพอแต่ที่ไหนได้ก็ไม่ผ่านเหมือนกัน ผมว่าน่าจะโดนตรงคำว่า SUPER CLEAR 400 สำหรับรูปสุดท้าย รถไฟไทย ก็โดนเรื่อง Tradmark ได้ด้วยน่ะครับผม :)

แนวทางแก้ปัญหาอย่างนึงสำหรับรูปที่มีโลโก้หรือสิ่งที่ทางตัวแทนขายภาพกังวลเรื่องลิขสิทธิ์ เราสามารถส่งไปขายได้ โดยส่งขายในประเภท "Editorial" หรือ "ภาพข่าว" ซึ่งประเภทนี้สามารถมีโลโก้อยู่ในภาพได้ ยกตัวอย่างใกล้ๆ นี้จะมีกีฬาโอลิมปิกที่ประเทศอังกฤษ แล้วมีช่างภาพสมัครเล่นไปถ่ายภาพการแข่งขันกีฬาวิ่งไว้ ซึ่งก็ต้องมีโลโก้ Adidas บนเสื้อ บนกางเกง บนรองเท้า และโลโก้สปอนเซอร์ตามป้ายข้างสนามอยู่ในภาพแน่นอน ถ้าเขาส่งรูปนี้ไปขายออนไลน์ ก็ต้องส่งแบบ Editorial ซึ่งแน่นอนทางตัวแทนขายภาพยินดีรับรูปพวกนี้เป็นอย่างมาก เพราะมีสำนักข่าวทั่วโลกที่ไม่มีช่างภาพมาถ่ายภาพข่าวได้ที่ประเทศอังกฤษ ต่างก็รอซื้อภาพเหล่านี้อยู่ ^^


     4.8) ต้องเป็นภาพที่ไม่แต่งภาพจนโอเวอร์
การปรับแต่งภาพ (Post Processing) เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอนในวงการดิจิตอล อยู่ที่ว่าจะปรับแต่งมากหรือน้อยแค่นั้้นเอง สำหรับทางไมโครสต็อกหรือตัวแทนขายรูปเอง ก็อยากได้รูปในแบบที่ไม่ต้องปรับแต่งมาก เพราะเวลาลูกค้าซื้อรูปไปก็อาจจะนำไปปรับแต่งต่ออยู่แล้ว เช่น ถ้าเรานำภาพมาปรับค่าระดับความเปรียบต่าง (Contrast) เยอะๆ เพื่ออยากให้าภาพเด่นขึ้น ไปปรับความอิ่มตัวของสี (Color Saturation) ให้สีจัดขึ้น ไปปรับความคมชัด (Sharpen) ขึ้นเพื่อให้ภาพคมชัดมากชึ้น คุณภาพของรูปถ่ายก็จะด้อยลง และเมื่อลูกค้าต้องการนำไปปรับแต่งไปอีกแบบ(ที่ไม่เหมือนกับเราปรับไว้) ก็จะยิ่งลำบากมากกว่าส่งรูปถ่ายแบบเดิมๆ ดังนั้นจะเป็นการดีกว่าที่ต้องการรูปถ่ายที่ไม่ต้องปรับแต่งอะไรมาก

ตัวอย่างรูปที่ปรับแต่งมากเกินไป

จากรูปด้านบนถ้ามองแบบเผินๆ รูปที่ปรับแต่งมากๆ ก็มองแล้วดูเด่นและสวยดี ทำให้รูปที่ปรับแต่งมาน้อยดูหมองไปเลย แต่นั้นแหละครับ รูปที่ปรับแต่งมาน้อยจะมีคุณภาพไฟล์ดีกว่านำไปใช้งานได้ยืดหยุ่นกว่าครับ

การปรับแต่งแบบไหนหละที่เรียกว่ามากเกินไป อันนี้เป็นจุดที่ต้องลองปรับดูครับ 555+ มันระบุชัดๆ ไม่ได้จริงๆ มันก็แล้วแต่รูปถ่ายนั้นเป็นอย่างไร ถ้าเอาแบบสไตล์ผมก็คือต้องปรับแต่งบ้าง ไม่งั้นภาพของเราจะดูหมองๆ ไม่โดดเด่น เพราะคู่แข่งที่ขายอยู่ก็เยอะแยะทั่วโลก ส่วนใหญ่ที่ผมปรับก็มีความสว่างของภาพขึ้นนิดหน่อย ปรับความเปรียบต่างบ้าง ปรับสีให้เข้มขึ้นนิดนึง ปรับความคมชัดนิดเดียว แล้วที่เหลือก็มี Corp ภาพบ้าง แก้ WB บ้าง Retouch สิ่งกวนตาออกบ้าง ก็ปรับเยอะเหมือนกันเนอะ 555+

ตัวอย่างรูปก่อนและหลังปรับแต่ง(นิดหน่อย)

จากรูปเมล็ดกาแฟ ก็มีการปรับแต่งบ้าง ตั้งแต่ Crop ภาพ ปรับแสงให้สว่างขึ้น ปรับความเปรียบต่างนิดหน่อย ปรับแก้ WB แล้วก็เพิ่มความคมชัดนิดนึงครับ ^^

     4.9) ถ้ามีรูปคนอยู่ในภาพต้องมีเอกสารเซ็นยินยอมจากคนนั้น
รูปถ่ายแนวบุคคลส่วนใหญ่ถ้าสื่ออารมณ์ดีๆ ก็จะขายได้ดีมาก แต่รูปถ่ายที่มีคนอยู่ด้วยจะต้องมีเอกสารยินยอมจากคนคนนั้นก่อน ซึ่งทางตัวแทนขายภาพทุกแห่งก็มีแบบฟอร์ม (Model Release Form) เหล่านี้ เตรียมให้ช่างภาพดาว์นโหลดไปให้ตัวแบบเหล่านั้นเซ็นต์ยินยอม

รูปถ่ายที่มีคนอยู่ในรูปด้วยนั้น อาจจะเห็นทั้งตัว(หัวจรดเท้า) หรือเห็นแค่บางส่วน แต่ถ้าพอระบุตัวตนได้ว่าเป็นใคร ก็ต้องส่งแบบฟอร์ม Model Release ครับ ในบางกรณีอาจจะไม่ต้องแนบแบบฟอร์ม Model Release เช่น ถ่ายแค่บางส่วนของร่างกาย อาทิ แขน ขา เท้า นิ้วมือ สะดือ ฯลฯ โดยถ้ารูปไหนทางผู้ตรวจเห็นว่าควรแนบ Model Release ก็จะโดน Rejected ดังรูปด้านล่างครับ

ตัวอย่างรูปที่ไม่ผ่านเพราะไม่ได้แนบ Model Release

จากรูปคน 2 คนเดินเที่ยววัดแถวอยุธยา ผมคิดว่าเห็นข้างหลังไกลๆ คงไม่เป็นไร ก็ส่งขายแบบธรรมดา แต่แล้วก็ไม่รอดครับ

ส่วนใหญ่การถ่ายรูปที่มีนางแบบ/นายแบบ อยู่ในรูป ช่างภาพแนวสต๊อกหลายๆคน จะไม่เลือกรูปแนวนี้ส่งไปขายในช่วงแรก เพราะกระบวนการมันเยอะและยุ่งยากกว่า ก็รวมตัวผมเองด้วย ช่วงแรกๆ ก็ส่งแต่ รูปดอกไม้ ใบหญ้า วัด พระพุทธรูป ผลไม้ ฯลฯ เพราะง่ายกว่ากันครับ

สำหรับรูปแนวงานประเพณี กิจกรรมต่างๆ ที่มีคนอยู่ร่วมในงานจำนวนมาก เราสามารถส่งรูปแนวนี้ขายได้ ให้ส่งขายในแบบ "Editorial" ครับ

     4.10) ถ้ามีรูปสิ่งก่อสร้างอยู่ในภาพต้องมีเอกสารเซ็นยินยอมจากเจ้าของสิ่งก่อสร้างนั้น
สุดท้ายแล้วครับสำหรับข้อแนะนำเบื้องต้นในการพิจารณาเลือกรูปสำหรับส่งขายออนไลน์ ในหัวข้อนี้ก็คล้ายๆ กับหัวข้อก่อนหน้านี้ เพียงแต่เปลี่ยนจากคนมาเป็นสิ่งปลูกสร้าง โดยเรียกแบบฟอร์มสำหรับเซ็นต์ยินยอมจากเจ้าของสิ่งปลูกสร้างว่า "Property Release"

คงไม่ใช่ว่าสิ่งปลูกสร้างทุกสิ่งจะต้องแนบเอกสารยินยอมหมดทุกกรณีหรอกครับ เช่น กระท่อมปลายนา บ้านเรือนทั่วๆไป ก็ไม่ต้องแนบครับ แต่ถ้าสิ่งปลูกสร้างนั้นดูแล้วมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ตึกของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีเอกลักษณ์เด่นชัดมากๆ พอเห็นรูปปุ๊ปเจ้าของตึกรู้ได้ทันทีว่าเป็นตึกของเขา อันนี้นี่แหละที่ควรส่งเอกสารยินยอม

เท่าที่ผมส่งรูปมาโดนประเด็นนี้น้อยน่ะครับ อาจเพราะผมไม่ค่อยส่งรูปตึกราบ้านช่องเท่าไหร่ แต่รูปแนววัด โบสถ์ เกี่ยวกับศาสนาก็ไม่ค่อยโดนเรื่องนี้น่ะครับ ผู้ตรวจคงอนุโลมให้เพราะเป็นสิ่งก่อสร้างสาธารณะ

สำหรับรูปที่มีสิ่งก่อสร้างที่คาดว่าจะโดนให้แนบเอกสารยินยอม Property Release ก็ส่งขายแบบ "Editorial" แทนก็ได้ครับ ในส่วนตัวผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ยากมากในการที่จะให้เจ้าของตึกใหญ่ๆ อย่างเช่น "ตึกใบหยก" มาเซ็นต์เอกสารให้กับช่างภาพมือสมัครเล่นอย่างเรา จริงป่ะ 555+

5). เริ่มต้นการขายรูป
ผ่านไปแล้วสำหรับกฎ 10 ข้อ ในการถ่ายรูปและคัดเลือกรูปสำหรับส่งขายออนไลน์ มาถึงหัวข้อนี้เป็นการแนะนำ การเริ่มส่งรูปขายไปยังตัวแทนขายภาพ (Micro stock agencies) ผมขอแนะนำ 5 เว็บชั้นนำ โดยเรียงจากง่ายไปยากตามประสบการณ์ของผมน่ะครับ

     1. 123RF  (ดูบล็อกอธิบายการสมัครขายรูปที่ 123RF)
     2. Dreamstime (ดูบล็อกอธิบายการสมัครขายรูปที่ Dreamstime)
     3. Fotolia
     4. Shutterstock
     5. iStockphoto

สำหรับการเริ่มต้น ผมแนะนำให้สมัครขายรูปที่ 3 เว็บแรกนี่ก่อน คือ 123rf, Dreamstime และ Fotolia จากนั้นก็คัดเลือกรูปที่ผ่านการอนุมัติจากทั้ง 3 เว็บ จำนวน 10 รูปที่ดีที่สุด เพื่อส่งไปสอบที่เว็บ Shutterstock แล้วเมื่อสอบผ่านแล้ว ก็ให้คัดเลือกรูปที่ดีที่สุดจาก Shutterstock จำนวน 3 รูปที่ดีที่สุดมากๆ (ต้องดีมากจริงๆ) เพื่อส่งไปสอบที่ iStock ครับผม

ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพกันน่ะครับ ^^

47 comments:

  1. ขออบคุณครับ

    ReplyDelete
    Replies
    1. ยินดีและดีใจครับที่มีคนสนใจ :)

      Delete
  2. ขอบคุณค่ะ
    และขอสอบถามเรื่อง resolution ค่ะ
    ถ้าภาพมี resolution แค่ 72 dpi
    จะส่งขายได้มั๊ยคะ

    ReplyDelete
    Replies
    1. ผมคิดว่าจะน้อยไปครับ คงต้องไม่ต่ำกว่า 180 dpi ก็จะดีมากครับ

      Delete
  3. เพิ่งมาอ่านตอนนี้ ที่ส่งรูปไปขายได้เกือบ 2 เดือนละ อ่านแล้วเข้าใจเหตุผลชัดเจนเลย ว่าทำไมรูปเราถึงโดร reject ทำไมต้องมี MR, PR แสงน้อย แสงจ้าเกิน มืดไป ขาวไป องค์ประกอบ...ฯลฯ ขอบคุณครับ...

    ReplyDelete
  4. ..อยากถามว่า ถ้าสมัครแล้วแต่ล่ะเวบต้องรอเวลาสอบกี่วันค่ะ เพราะส่งไปแล้ว 4-5 วัน แต่ยังไม่เห็นตอบกลับมาเลยค่ะ....แล้วการถ่ายภาพต้องเน้นว่าสวย ชัด และต้องเก่งจริงๆใช่ไหมค่ะ...มือสมัครเล่นอย่างดิฉันจะมีโอกาศไหมค่ะ...ขอบคุณคำตอบนะค่ะ

    ReplyDelete
    Replies
    1. เว็บที่ต้องส่งรูปไปสอบเช่น Shutterstock อาจจะใช้เวลารอนานเป็นอาทิตย์หรือมากกว่านั้นครับ แต่เว็บที่ไม่ต้องสอบ และสามารถส่งรูปไปตรวจได้เลย เช่น 123rf, dreamstime, fotolia ฯลฯ จะใช้เวลาในการตรวจประมาณ 1-2 สำหรับนักถ่ายภาพมือสมัครเล่นก็สามารถส่งขายได้ครับ ไม่ต้องกลัวครับ ลุยได้เลย ^^

      Delete
  5. รบกวนถามว่า ส่งรูปขายแบบ editorial สมัครยังไงคะ

    ReplyDelete
    Replies
    1. การขายภาพหรือวิดีโอแบบ "Editorial" หรือ "ขายแบบใช้งานด้านบทความข่าวเท่านั้น ห้ามใช้งานภาพนี้ในการโฆษณาหรือเพื่อวัตถุ​ประสงค์ในการส่งเสริมการขาย" ในการอัพโหลดส่งขึ้นไปขาย ก็ทำเหมือนขั้นตอนการขายภาพปกติทั่วไป แต่ในขั้นตอนการใส่รายละเอียดของภาพก่อนจะ Submit ส่งตรวจนั้น จะต้องติ๊กเลือกที่หัวข้อ "Editorial" และจำเป็นต้องใส่ Title ของภาพให้อยู่ในรูปแบบของภาพข่าว ซึ่งในแต่ละเว็บสต๊อกอาจจะกำหนดรูปแบบเฉพาะของตัวเอง แต่ก็ไม่ต่างกันมาก ยกตัวอย่างของ shutterstock จะกำหนดรูปแบบไว้ดังนี้

      CITY, STATE/COUNTRY – MONTH DAY: Factual description of the image content on [date] in [location]. Qualifying newsworthy second sentence (if necessary).

      ยกตัวอย่างภาพเรือขายผลไม้ที่ตลาดดำเนินสะดวก ก็เขียนดังนี้

      RATCHABURI, THAILAND - JULY 5: Fruit boats at Damnoen Saduak floating market on July 5, 2009 in Ratchaburi, Thailand. Damnoen Saduak is a very popular tourist attraction in Thailand.

      Delete
  6. ขอบคุณมาก ครับ

    ReplyDelete
  7. ขอถามเรื่องค่าตอบแทนครับ ปรพมาณเท่าไหร่ ครับ

    ReplyDelete
    Replies
    1. อืม อันนี้ตอบเป็นตัวเลขเป๊ะๆ ลำบากครับ ลองดูบล็อกที่ผมสรุปรายได้ 2 ปีที่ทำสต๊อกตามลิ้งค์นี้ก่อนน่ะครับ http://foto76-stock-photos.blogspot.com/2012/05/two-year-anniversary.html

      Delete
  8. ขอถามนิดนึงค่ะ เราต้องใส่ลายน้ำในรูปก่อนส่งภาพไปขายที่เวบนั้นๆป่าวค่ะ ขอบคุณมากๆนะคะ สำหรับข้อมูลทุกสิ่งอย่าง :)

    ReplyDelete
    Replies
    1. ไม่ต้องใส่ลายน้ำครับ ก็ทำรูปปกติส่งไปที่เว็บสต๊อกต่างๆ ส่วนลายน้ำที่เห็นนั้น ทางเว็บสต๊อกโฟโต้จะใส่ลายน้ำให้อัตโนมัติ

      Delete
  9. ขอบคุณมากนะคะสำหรับคำคอบ ใจดีจังค่ะ ((^_^))

    ReplyDelete
  10. แล้วเวลาถ่ายภาพต้องใช้กล้องประมาณไหนคะ กล้องมือถือได้หรือเปล่า

    ReplyDelete
    Replies
    1. กล้องมือถือเดี๋ยวนี้ก็ถ่ายได้ความละเอียดสูงแล้วครับ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ โดยมีเว็บที่ขายรูปจากมือถือโดยเฉพาะ เช่น clashot (ลองหาดาวน์โหลดแอพดูครับ) แต่ถ้าพอมีงบหน่อยก็แนะนำให้ซื้อกล้อง DSLR รุ่นเล็กๆซักตัวก็พอแล้วครับ ถ่ายรูปส่งขายได้สบายๆเลยครับ

      Delete
  11. ในปีนี้ 2014 ผมว่าอาจต้องเรียงลำดับความยากง่ายใหม่แล้วหล่ะ
    4. iStockphoto
    5. Shutterstock
    ผมมีภาพจาก iStockphoto มากกว่า 26 ภาพ แต่ยังสอบ Shutterstock ไม่ผ่านเลย (555 ติด Pure )

    ReplyDelete
    Replies
    1. ใช่ๆ พักหลัง Shutterstock โหดมากจริงๆครับ สู้ๆ ^_^

      Delete
  12. 3 ภาพที่สอบผ่านแล้วของ iStock ต้องส่งเข้าไปใหม่มั๊ยครับ.. หรือ iStock เอาขึ้นขายให้เลย เหมือนที่อื่นๆ

    ReplyDelete
    Replies
    1. 3 ภาพที่ใช้สำหรับสอบที่ iStock นั้น เมื่อสอบผ่านแล้ว จะต้องส่งไปขายใหม่อีกรอบครับผม

      Delete
  13. ขอบคุณครับ @Korn Foto76 :)

    ReplyDelete
  14. สอบผ่าน iStock แล้ว

    ReplyDelete
  15. ภาพเดียวสามารถส่งขายหลายๆ ที่ได้ป่าวคะ

    ReplyDelete
    Replies
    1. ได้ครับผม ส่งภาพเดียวภาพนั้น ส่งไปขายหลายๆเว็บได้ครับ

      Delete
  16. ผมผ่าน istock ในรอบแรกเลย เหมือน เค้าจะลดความเข้มงวดลง รึเปล่า
    ส่วน shutter stock ผมคัดที่ลงผ่าน fotolia ไป 10 รูป ผ่านแค่ 3 รูป นอกนั้นเจอข้อหา noise ทั้งหมดเลย..

    ReplyDelete
    Replies
    1. iStock ลดความเข้มงวดลงเยอะครับ ผมก็สอบไม่ผ่านตั้งหลายครั้ง ส่วนประเด็น noise ก็ให้ตั้งค่า ISO ถ่ายไว้ต่ำๆครับประมาณ ISO100-200 ครับ

      Delete
  17. ได้ความรู้มากเลยครับ ^___^ ขอบคุณครับบบ

    ReplyDelete
  18. ลองส่งภาพขายใน clashot มีขึ้นว่า file too small คือว่า มันคือเป็นอ่ะไรแล้วมีวิธีแก้ไหมคะ ปล.ใช้กล้อง olympus em10 ค่ะ ปล1 กล้องตัวนี้ลงรูปขายในเว็บไหนได้อีกไหมคะ เป็นมือใหม่เพิ่งหัดถ่ายแบบจริงจังค่ะ

    ReplyDelete
    Replies
    1. กล้องรุ่น Olympus OM-D E-M10 ถือว่าสเป็คดีมากแล้วครับผม สามารถส่งขายเว็บสต๊อกได้ทุกเว็บครับ ประเด็น file too small ที่ clashot คือภาพที่ส่งไปมันมีขนาดเล็กเกินไป ผมคิดว่าคงตั้งค่า JPEG quality levels ไว้ต่ำไป ให้ลองเช็คดูในกล้องนะครับว่าตั้งไว้เท่าไหร่ ผมแนะนำว่าควรตั้งเป็น Super fine ครับ :)

      Delete
    2. ขอบคุณค่ะ จะลองดูนะคะ 😶แล้วขอถามอีกหน่อยค่ะ ก่อนส่งรูป แล้วควรแต่งภาพจาก photoshop มาก่อนไหมค่ะ หรือแก้รูป พอมีสอนวิธีหรือแต่งไหมคะ พอดีใช้ไม่เป็น😓 ช่วยแนะนำด้วยค่ะ เพิ่งหัดเริ่มแบบขริงจังค่ะ

      Delete
    3. ในช่วงแรกที่ยังแต่งรูปไม่เก่งก็ยังไม่ต้องแต่งก่อนก็ได้ครับ ถ่ายมายังไงก็ส่งตามนั้นไปก่อนครับ แล้วเราก็ทยอยฝึกใช้โปรแกรม photoshop ไปพอเริ่มใช้งานได้ ก็แต่งรูปส่งได้ครับ ส่วนวิธีใช้ PS ก็ศึกษาได้ตามหนังสือหรือตาม youtube ก็ได้ครับ มีให้เลือกหลายช่องทางครับผม

      Delete
  19. จะลองถ่ายสต๊อกบ้าง ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ

    ReplyDelete
  20. แล้วถ้าเราส่งแล้วไม่ผ่าน เค้าจะบอกไม๊รูปไหนผ่านไม่ผ่าน แล้วถ้าส่งรูปไปอีกครั้งในขั้นตอนการสอบ คือต้องส่งทั้ง 10 รูปใหม่เลยหรือแค่บ้างส่วนครับ

    ReplyDelete
    Replies
    1. บอกครับผมว่ารูปไหนผ่าน รูปไหนไม่ผ่าน เช่นที่ Shutterstock ส่งสอบ 10 รูป จะต้องผ่านอย่างน้อย 1 รูป ถ้าไม่ผ่านเลยสักรูป ก็จะต้องส่งรูปสอบ 10 รูปใหม่อีกครั้งครับ

      Delete
  21. เราจะทราบได้อย่างไรว่ารูปเรานำขึ้นเว็บเพื่อจำหน่ายแล้วคะ คือเสิร์ชหารูปตัวเองไม่เจอทั้งที่ shutterstock เมลมาบอกว่า approved แล้ว

    รูปที่เขาบอกว่า approved แล้ว มันขึ้นว่าแบบนี้ค่ะ

    Released: N (N คือ NO หรือเปล่าคะ)
    Status: Approved

    ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบค่ะ

    ReplyDelete
  22. เยียมมากเลยครับ ได้ความเข้าใจมากเลย ขอบคุณฒากครับ

    ReplyDelete
  23. ถ้าเป็นรูปตัวเองก็ต้องส่งเอกสาร Model Release ใช่มั้ยคะ แล้วถ้าเป็นรูปที่ถ่ายต่างวันและเวลา ต้องเซ็นเอกสารใหม่ทุกรอบเลยหรือเปล่าคะ

    ReplyDelete
  24. ขอบคุณมากครับ

    ReplyDelete