Tuesday, July 24, 2012

การเตรียมตัวสำหรับส่งรูปขายออนไลน์ Part 2

จากบล็อกที่แล้วได้แนะนำการเตรียมตัวเบื้องต้น ตั้งแต่ทำหนังสือเดินทางไว้ยืนยันตัวตนกับทางตัวแทนขายภาพ จากนั้นก็สมัคร PayPal เพื่อเอาไว้รับเงินโอนจากตัวแทนขายภาพเมื่อมีรายได้ถึงยอดที่กำหนดไว้ และเรื่องการเตรียมอุปกรณ์ถ่ายภาพ

ในตอนที่ 2 นี้ จะเป็นเรื่องต่อเนื่องจากหัวข้อที่ "4) เทคนิคการภาพ" สำหรับส่งขายออนไลน์ โดยเกริ่นนำไปแล้ว 2 หัวข้อคือ

     4.1) ต้องไม่ใช้ภาพแนว Snapshot
     4.2) ต้องเป็นภาพที่คมชัด



เรามาต่อในหัวข้อถัดไปกันเลยครับ

     4.3) ต้องเป็นภาพที่วัดแสงพอดี
คำว่าแสงพอดี ก็เป็นเรื่องน่าปวดหัวเหมือนกันครับ บางรูปที่เราคิดว่าแสงโอเคแล้ว ไม่น่าจะมืดไป (Under) หรือสว่างเกินไป (Over) ก็อาจจะคาดผิดได้ มันขึ้นอยู่หลายปัจจัย เช่น รูปเราถ่ายมาแสงพอดีแล้ว แต่เมื่อนำมาดูผ่านจอคอมพิวเตอร์แล้วทำไมดูมืดผิดปกติ หรือดูสว่างไป หรือค่าระดับความเปรียบต่างของแสงสูงมาก (Constrast) หรือไม่ก็ดูสีมันเพี้ยนๆจากที่เคยเห็นใน LCD ของกล้อง ปัญหาแรกคือจอภาพที่ดูยังไม่ได้ปรับหน้าจอให้ได้มาตราฐาน (Monitor Color Calibration) เบื้องต้นก็ลองค้นหาวิธีการปรับจอผ่านเน็ตดูก่อนน่ะครับ มีหลายเว็บแนะนำไว้แล้ว เช่น http://www.wikihow.com/Calibrate-Your-Monitor (ถ้ามีเวลาจะมาอธิบายวิธีปรับจออีกที)

เมื่อแก้ปัญหาหน้าจอคอมพิวเตอร์แสดงแสงและสีได้ถูกต้องแล้ว ก็มาถึงคราวของข้อมูลต้นทางอย่างตัวภาพถ่ายกันครับ ในการตัดสินภาพถ่ายว่าแสงพอดีหรือยัง ไม่มืดไป ไม่สว่างไป หลายคราก็อาศัยประสบการณ์ของช่างภาพเอง แต่ก็มีตัวช่วยอยู่เหมือนกัน นั่นคือกราฟฮีสโตแกรม "Camera Histogram" หรือกราฟแสดงความมืด-สว่าง ของภาพถ่าย

ตัวอย่างภาพและกราฟ Histogram

กราฟ Histogram นี้จะมีให้ดูในตัวกล้องเองและทั้งโปรแกรมแต่งภาพทั่วไป โดยถ้ากราฟส่วนใหญ่เอียงไปทางซ้ายมือแสดงว่าภาพจะมืดไป ถ้าเอียงไปด้านขวามือมากๆแสดงว่าภาพสว่างไป ถ้ากราฟกองอยู่ตรงกลางเป็นส่วนใหญ่ นั่นก็ถือว่าแสงพอดีแล้ว ดังนั้นเป็นตัวช่วยตรวจเช็คความพอดีของแสงในภาพถ่ายได้เป็นอย่างดีครับ

ในหัวข้องวัดแสงพอดีนี้ผมขอใส่เรื่อง "แสงแข็ง" และ "แสงนุ่ม" มาเพิ่มในส่วนนี้ละกัน เพราะลืมใส่ไว้ในหัวข้อใหญ่

"แสงแข็ง" เป็นลักษณ์ภาพที่ทางตัวแทนขายภาพไม่ค่อยชอบ ต่างจาก "แสงนุ่ม" ทางตัวแทนขายภาพจะชอบมากๆ ก็เพราะว่าแสงนุ่มหรือแสงเคลียร์ นั่นคือไม่ว่าถ่ายวัตถุใดๆ ดอกไม้ บุคคล อาหาร ฯลฯ ทุกๆส่วนของภาพจะได้รับแสงพอดี ไม่มีส่วนใดสว่างไป หรือมืดไปจนไม่เห็นรายละเอียด ภาพแนวแสงนุ่มจะขายได้ง่ายกว่าและเป็นที่นิยม

ส่วนภาพที่เป็นแสงเข็ง ก็อาจจะมีวางขายอยู่บ้าง แต่ไม่ค่อยนิยมซื้อกันซักเท่าไหร่ (ยกเว้นว่าภาพนั้นออกแนว Abstract แบบโดนๆ ก็เป็นอีกเรื่องนึง) ดังนั้นการถ่ายภาพหรือคัดเลือกภาพถ่ายก็ไม่ควรเลือกภาพแสงแข็งส่งไปขายเพราะส่วนใหญ่จะไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ตรวจภาพ ดูตัวอย่างดังรูปด้านล่างครับ

ตัวอย่างภาพที่มีแสงแข็งเกินไป

ตัวอย่างภาพที่มีแสงนุ่ม :)

     4.4) ต้องเป็นภาพที่ไม่มี Noise
Noise คือจุดเล็กๆ ที่อยู่ในภาพหรือความหยาบกระด้างในภาพ (ผมใช้คำซ่ะดูรุ่นแรง) ภาพที่มี Noise เยอะๆ จะไม่ค่อยเป็นที่นิยมซื้อจากลูกค้า เพราะถือว่าภาพนั้นมีตำหนิหรือไม่ค่อยสมบูรณ์ เปรียบดั่งเวลาเราไปซื้อผลไม้ เราก็ต้องการผลไม้สดๆ ผิวสะอาดๆ และไม่มีริ้วรอยใดๆ ยกเว้นไม่มีให้เลือก 555+

แน่นอนเหล่าลูกค้าที่จะซื้อภาพ เขาก็ต้องเลือกภาพที่คุณภาพดีที่สุด มีตำหนิน้อยสุด ดังนั้นทางผู้ส่งภาพขายก็ต้องส่งผลงานคุณภาพไปให้ลูกค้าเลือกด้วยเช่นกัน ซึ่งปัญหา Noise นี้ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไรมาก เพราะเราสามารถควบคุมมันได้ ปัญหา Noise เกิดจากสองสาเหตุ หนึ่งเกิดจากการตั้ง ISO สูงๆ และสองเกิดจากการเปิดหน้ากล้อง (Shutter Speed) นานๆ ปกติแล้วผมจะตั้งค่า ISO ไว้ที่ 100-200 สูงสุดไม่เกิน 400 เพราะถ้ามากกว่านั้น Noise จะเริ่มเยอะมากครับ

ภาพที่ถ่าย ISO สูง ก็จะมี Noise เกิดขึ้น

ในหัวข้อนี้ผมจะรวมเรื่อง "ฝุ่น" ที่เกาะอยู่บนเซ็นเซอร์รับภาพ แล้วส่งผลให้เกิดเป็นเม็ดฝุ่นขึ้นในภาพ ถ้ามีฝุ่นหรือพวก Hot Pixel ปรากฎอยู่ในภาพ ถ้าทำได้ก็ต้องลบฝุ่นออกให้หมด ก่อนส่งภาพขายด้วยน่ะครับ

ตัวอย่างภาพที่มีเม็ดฝุ่นปรากฏให้เห็น

     4.5) ต้องเป็นภาพที่สีไม่เพี้ยน
ภาพสีเพี้ยน หมายถึงภาพที่ปรับสมดุลย์สีขาว (White Balance - WB) ไม่ถูกต้อง จึงทำให้สีเพี้ยนจากความเป็นจริงที่ควรจะเป็น เช่นเราตั้งใจถ่ายกระดาษสีขาว แล้วตั้ง WB ผิด จากกระดาษสีขาวอาจกลายเป็นกระดาษสีฟ้าหรือสีเหลืองก็เป็นได้ ปกติเรื่อง WB ผมเองก็ไม่ค่อยแม่นเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ผมเลยถ่ายเป็น RAW เอาไว้ก่อนทุกรูป จากนั้นค่อยมาปรับแต่งผ่านโปรแกรม Camera Raw ใน photoshop อีกที

แต่ถ้าช่างภาพคนไหนแม่นเรื่องนี้แล้วก็สามารถปรับแต่ง WB ให้ถูกต้องเสียตั้งแต่ตอนถ่าย จะได้ไม่เหนื่อยตอนแต่งภาพ (Post Processing) ผมเองก็มีภาพเก่าๆที่ถ่ายไว้เป็น JPG เกือบหมด ก็มาเลือกภาพที่สีไม่เพี้ยนส่งขายก็พอมีอยู่บ้าง ส่วนภาพสีเพี้ยนก็มีอยู่เยอะ ก็อาศัยต้อง photoshop เพื่อแก้สีอีกทีครับ

ตัวอย่างภาพสีเพี้ยน
จากรูปถ่ายด้านบน ผมถ่ายรูปสร้อยตั้งอยู่บนกระดาษสีขาว และใช้โคมไฟฟลูออเรสเซนต์ ตอนถ่ายก็ไม่ได้สนใจเรื่อง WB พอถ่ายออกมาสีก็เลยเพี้ยน เป็นโทนสีฟ้าแทนที่จะเป็นโทนสีขาว

อีกประเด็นปัญหาคือภาพมี "ขอบม่วง" (Chromatic aberration) หรือภาพที่ถ่ายย้อนแสงแล้วจะเกิดขอบสีม่วงๆ บริเวณขอบวัตถุ ภาพที่มีขอบม่วงเยอะๆ ก็อาจจะไม่ผ่านการพิจารณาตัวแทนขายภาพ ขั้นต้นภาพแนวย้อนแสงก็ต้องดูก่อนว่ามีขอบม่วงหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องแก้ไขเอาขอบม่วงออก ก่อนส่งขายครับ


     4.6) ต้องเป็นภาพที่มีองค์ประกอบที่ดี
การจัดองค์ประกอบภาพ (Composition) ในส่วนนี้ก็มีประเด็นเยอะในการตัดสินว่าองค์ประกอบภาพนี้ดีหรือไม่ดี บางครั้งภาพถ่ายของเราก็ตั้งใจถ่ายแนวอาร์ตๆ อยากถ่ายนางแบบมุมแปลกๆ อยากถ่ายแนวขอบฟ้าแบบเอียงๆ เลือกถ่ายภาพอาหารแบบครึ่งจาน อะไรทำนองนี้ ซึ่งคำว่าองค์ประกอบภาพดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของคนตรวจภาพ (Inspector) บางคนก็ให้ผ่านง่ายๆ บางคนก็ผ่านยากครับ

การจัดองค์ประกอบภาพมันไม่มีกฏตายตัวครับ กฎคือไม่มีกฎ ดังนั้นผมเลยคัดรูปที่ไม่ผ่านเพราะเหตุผลจัดองค์ประกอบภาพไม่ดี(ตรวจโดย Shutterstock) มาให้ดูเป็นตัวอย่างละกันครับ

รูปตัวอย่างภาพที่ไม่ผ่านเพราะเหตุผล Composition

     4.7) ต้องเป็นภาพที่ไม่มีโลโก้สินค้าใดๆอยู่ในภาพ
ภาพที่เลือกส่งขายออนไลน์มีกฎอยู่ข้อนึงที่ต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด คือห้ามมีโลโก้สินค้าใดๆอยู่ในภาพนั้น และรวมไปถึงสิ่งใดๆก็ตามที่มีรูปลักษณะที่มีเจ้าของลิขสิทธิ์ที่ชัดเจน เช่น ตุ๊กตาโดเรมอน ก็มีเจ้าของลิขสิทธิ์น่ะครับ

รูปที่เราถ่ายเพื่อนำไปขาย จะถูกตีความหมายว่าใช้เพื่อการค้า นั่นคือเอารูปนั้นไปขายแล้วเอาเงินเข้ากระเป๋าเราเอง ซึ่งไม่ดีเป็นแน่ถ้าเรานำเอาลิขสิทธิ์ของผู้อื่นไปแสวงหากำไร ดังนั้นเรื่องนี้จากตัวแทนขายภาพก็ป้องกันปัญหาที่จะตามมา จึงไม่รับภาพที่มีโลโก้หรือไม่ก็สิ่งของใดๆก็ตามที่มีการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ไว้แล้ว

ดังนั้นเวลาถ่ายภาพ เราก็ต้องเลือกถ่ายในสิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์ ไม่มีโลโก้ เป็นกฎเบื้องต้นครับ ตัวอย่างเช่น อยากถ่ายรูปเสือยืดเพื่อขาย สิ่งที่ต้องระวังอยางแรกคือโลโก้ยี่ห้อเสื้อ ถัดมาถ้ามีลายสกรีนบนเสื้อก็ต้องระวังด้วยเพราะอาจจะเป็นลายที่มีเจ้าของผลงานอยู่ เช่น มีลายกรีนรูปนก Angry Birds หรือ Mickey Mouse อย่างนี้ก็ไม่ผ่านแน่นอน ปัญหาเหล่านี้รวมไปถึงห้ามไปถ่ายผลงานศิลปะภาพวาด ประติมากรรม อะไรทำนองนี้ เพราะถือว่าไปละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นด้วยครับ

กรณีที่เคยถ่ายรูปที่มีโลโก้ไว้ ก็สามารถแก้ไขโดยการใช้กำลังภายในวิชา Photoshop ช่วยในการ Retouch ออกให้หมดก่อนส่งขายครับ ผมก็โดนประเด็นนี้พอสมควร เช่น ถ่ายรูปเรือประมง ซึ่งข้างเรือประมงไทยส่วนใหญ่จะมีชื่อเรือเขียนลวดลายไว้ ซึ่งลวดลายที่ว่านี้ก็ทำให้ไม่ผ่าน ถ้าจะให้ผ่านก็ต้อง Retouch ชื่อเรือออกก่อนครับ  (- -")

รูปที่โดน rejected เพราะประเด็นเรื่อง Trademark

จากรูปด้านบนที่โดน Rejected ในประเด็นปัญหา Tradmark อย่างรูปแรกเป็นรูปปั้นกินรีในวัดพระแก้ว ปกติรูปที่ผมส่งไปขายแบบไม่ตัดขอบ (Die Cut) ทางผู้ตรวจก็ให้ผ่าน ก็คงเห็นว่าเป็นศิลปะที่อยู่ในวัด แต่พอผมไดคัทเอาฉากหลังออก พอส่งไปอีกรอบ ก็โดนประเด็น Tradmark ทันทีครับ ส่วนรูปเรือก็ดังที่ได้ยกตัวอย่างไป สำหรับอีกรูปก็เป็นฟิล์มถ่ายรูป ผม Retouch คำว่า Kodak ออก ก็คิดว่าแค่นี้คงพอแต่ที่ไหนได้ก็ไม่ผ่านเหมือนกัน ผมว่าน่าจะโดนตรงคำว่า SUPER CLEAR 400 สำหรับรูปสุดท้าย รถไฟไทย ก็โดนเรื่อง Tradmark ได้ด้วยน่ะครับผม :)

แนวทางแก้ปัญหาอย่างนึงสำหรับรูปที่มีโลโก้หรือสิ่งที่ทางตัวแทนขายภาพกังวลเรื่องลิขสิทธิ์ เราสามารถส่งไปขายได้ โดยส่งขายในประเภท "Editorial" หรือ "ภาพข่าว" ซึ่งประเภทนี้สามารถมีโลโก้อยู่ในภาพได้ ยกตัวอย่างใกล้ๆ นี้จะมีกีฬาโอลิมปิกที่ประเทศอังกฤษ แล้วมีช่างภาพสมัครเล่นไปถ่ายภาพการแข่งขันกีฬาวิ่งไว้ ซึ่งก็ต้องมีโลโก้ Adidas บนเสื้อ บนกางเกง บนรองเท้า และโลโก้สปอนเซอร์ตามป้ายข้างสนามอยู่ในภาพแน่นอน ถ้าเขาส่งรูปนี้ไปขายออนไลน์ ก็ต้องส่งแบบ Editorial ซึ่งแน่นอนทางตัวแทนขายภาพยินดีรับรูปพวกนี้เป็นอย่างมาก เพราะมีสำนักข่าวทั่วโลกที่ไม่มีช่างภาพมาถ่ายภาพข่าวได้ที่ประเทศอังกฤษ ต่างก็รอซื้อภาพเหล่านี้อยู่ ^^


     4.8) ต้องเป็นภาพที่ไม่แต่งภาพจนโอเวอร์
การปรับแต่งภาพ (Post Processing) เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอนในวงการดิจิตอล อยู่ที่ว่าจะปรับแต่งมากหรือน้อยแค่นั้้นเอง สำหรับทางไมโครสต็อกหรือตัวแทนขายรูปเอง ก็อยากได้รูปในแบบที่ไม่ต้องปรับแต่งมาก เพราะเวลาลูกค้าซื้อรูปไปก็อาจจะนำไปปรับแต่งต่ออยู่แล้ว เช่น ถ้าเรานำภาพมาปรับค่าระดับความเปรียบต่าง (Contrast) เยอะๆ เพื่ออยากให้าภาพเด่นขึ้น ไปปรับความอิ่มตัวของสี (Color Saturation) ให้สีจัดขึ้น ไปปรับความคมชัด (Sharpen) ขึ้นเพื่อให้ภาพคมชัดมากชึ้น คุณภาพของรูปถ่ายก็จะด้อยลง และเมื่อลูกค้าต้องการนำไปปรับแต่งไปอีกแบบ(ที่ไม่เหมือนกับเราปรับไว้) ก็จะยิ่งลำบากมากกว่าส่งรูปถ่ายแบบเดิมๆ ดังนั้นจะเป็นการดีกว่าที่ต้องการรูปถ่ายที่ไม่ต้องปรับแต่งอะไรมาก

ตัวอย่างรูปที่ปรับแต่งมากเกินไป

จากรูปด้านบนถ้ามองแบบเผินๆ รูปที่ปรับแต่งมากๆ ก็มองแล้วดูเด่นและสวยดี ทำให้รูปที่ปรับแต่งมาน้อยดูหมองไปเลย แต่นั้นแหละครับ รูปที่ปรับแต่งมาน้อยจะมีคุณภาพไฟล์ดีกว่านำไปใช้งานได้ยืดหยุ่นกว่าครับ

การปรับแต่งแบบไหนหละที่เรียกว่ามากเกินไป อันนี้เป็นจุดที่ต้องลองปรับดูครับ 555+ มันระบุชัดๆ ไม่ได้จริงๆ มันก็แล้วแต่รูปถ่ายนั้นเป็นอย่างไร ถ้าเอาแบบสไตล์ผมก็คือต้องปรับแต่งบ้าง ไม่งั้นภาพของเราจะดูหมองๆ ไม่โดดเด่น เพราะคู่แข่งที่ขายอยู่ก็เยอะแยะทั่วโลก ส่วนใหญ่ที่ผมปรับก็มีความสว่างของภาพขึ้นนิดหน่อย ปรับความเปรียบต่างบ้าง ปรับสีให้เข้มขึ้นนิดนึง ปรับความคมชัดนิดเดียว แล้วที่เหลือก็มี Corp ภาพบ้าง แก้ WB บ้าง Retouch สิ่งกวนตาออกบ้าง ก็ปรับเยอะเหมือนกันเนอะ 555+

ตัวอย่างรูปก่อนและหลังปรับแต่ง(นิดหน่อย)

จากรูปเมล็ดกาแฟ ก็มีการปรับแต่งบ้าง ตั้งแต่ Crop ภาพ ปรับแสงให้สว่างขึ้น ปรับความเปรียบต่างนิดหน่อย ปรับแก้ WB แล้วก็เพิ่มความคมชัดนิดนึงครับ ^^

     4.9) ถ้ามีรูปคนอยู่ในภาพต้องมีเอกสารเซ็นยินยอมจากคนนั้น
รูปถ่ายแนวบุคคลส่วนใหญ่ถ้าสื่ออารมณ์ดีๆ ก็จะขายได้ดีมาก แต่รูปถ่ายที่มีคนอยู่ด้วยจะต้องมีเอกสารยินยอมจากคนคนนั้นก่อน ซึ่งทางตัวแทนขายภาพทุกแห่งก็มีแบบฟอร์ม (Model Release Form) เหล่านี้ เตรียมให้ช่างภาพดาว์นโหลดไปให้ตัวแบบเหล่านั้นเซ็นต์ยินยอม

รูปถ่ายที่มีคนอยู่ในรูปด้วยนั้น อาจจะเห็นทั้งตัว(หัวจรดเท้า) หรือเห็นแค่บางส่วน แต่ถ้าพอระบุตัวตนได้ว่าเป็นใคร ก็ต้องส่งแบบฟอร์ม Model Release ครับ ในบางกรณีอาจจะไม่ต้องแนบแบบฟอร์ม Model Release เช่น ถ่ายแค่บางส่วนของร่างกาย อาทิ แขน ขา เท้า นิ้วมือ สะดือ ฯลฯ โดยถ้ารูปไหนทางผู้ตรวจเห็นว่าควรแนบ Model Release ก็จะโดน Rejected ดังรูปด้านล่างครับ

ตัวอย่างรูปที่ไม่ผ่านเพราะไม่ได้แนบ Model Release

จากรูปคน 2 คนเดินเที่ยววัดแถวอยุธยา ผมคิดว่าเห็นข้างหลังไกลๆ คงไม่เป็นไร ก็ส่งขายแบบธรรมดา แต่แล้วก็ไม่รอดครับ

ส่วนใหญ่การถ่ายรูปที่มีนางแบบ/นายแบบ อยู่ในรูป ช่างภาพแนวสต๊อกหลายๆคน จะไม่เลือกรูปแนวนี้ส่งไปขายในช่วงแรก เพราะกระบวนการมันเยอะและยุ่งยากกว่า ก็รวมตัวผมเองด้วย ช่วงแรกๆ ก็ส่งแต่ รูปดอกไม้ ใบหญ้า วัด พระพุทธรูป ผลไม้ ฯลฯ เพราะง่ายกว่ากันครับ

สำหรับรูปแนวงานประเพณี กิจกรรมต่างๆ ที่มีคนอยู่ร่วมในงานจำนวนมาก เราสามารถส่งรูปแนวนี้ขายได้ ให้ส่งขายในแบบ "Editorial" ครับ

     4.10) ถ้ามีรูปสิ่งก่อสร้างอยู่ในภาพต้องมีเอกสารเซ็นยินยอมจากเจ้าของสิ่งก่อสร้างนั้น
สุดท้ายแล้วครับสำหรับข้อแนะนำเบื้องต้นในการพิจารณาเลือกรูปสำหรับส่งขายออนไลน์ ในหัวข้อนี้ก็คล้ายๆ กับหัวข้อก่อนหน้านี้ เพียงแต่เปลี่ยนจากคนมาเป็นสิ่งปลูกสร้าง โดยเรียกแบบฟอร์มสำหรับเซ็นต์ยินยอมจากเจ้าของสิ่งปลูกสร้างว่า "Property Release"

คงไม่ใช่ว่าสิ่งปลูกสร้างทุกสิ่งจะต้องแนบเอกสารยินยอมหมดทุกกรณีหรอกครับ เช่น กระท่อมปลายนา บ้านเรือนทั่วๆไป ก็ไม่ต้องแนบครับ แต่ถ้าสิ่งปลูกสร้างนั้นดูแล้วมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ตึกของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีเอกลักษณ์เด่นชัดมากๆ พอเห็นรูปปุ๊ปเจ้าของตึกรู้ได้ทันทีว่าเป็นตึกของเขา อันนี้นี่แหละที่ควรส่งเอกสารยินยอม

เท่าที่ผมส่งรูปมาโดนประเด็นนี้น้อยน่ะครับ อาจเพราะผมไม่ค่อยส่งรูปตึกราบ้านช่องเท่าไหร่ แต่รูปแนววัด โบสถ์ เกี่ยวกับศาสนาก็ไม่ค่อยโดนเรื่องนี้น่ะครับ ผู้ตรวจคงอนุโลมให้เพราะเป็นสิ่งก่อสร้างสาธารณะ

สำหรับรูปที่มีสิ่งก่อสร้างที่คาดว่าจะโดนให้แนบเอกสารยินยอม Property Release ก็ส่งขายแบบ "Editorial" แทนก็ได้ครับ ในส่วนตัวผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ยากมากในการที่จะให้เจ้าของตึกใหญ่ๆ อย่างเช่น "ตึกใบหยก" มาเซ็นต์เอกสารให้กับช่างภาพมือสมัครเล่นอย่างเรา จริงป่ะ 555+

5). เริ่มต้นการขายรูป
ผ่านไปแล้วสำหรับกฎ 10 ข้อ ในการถ่ายรูปและคัดเลือกรูปสำหรับส่งขายออนไลน์ มาถึงหัวข้อนี้เป็นการแนะนำ การเริ่มส่งรูปขายไปยังตัวแทนขายภาพ (Micro stock agencies) ผมขอแนะนำ 5 เว็บชั้นนำ โดยเรียงจากง่ายไปยากตามประสบการณ์ของผมน่ะครับ

     1. 123RF  (ดูบล็อกอธิบายการสมัครขายรูปที่ 123RF)
     2. Dreamstime (ดูบล็อกอธิบายการสมัครขายรูปที่ Dreamstime)
     3. Fotolia
     4. Shutterstock
     5. iStockphoto

สำหรับการเริ่มต้น ผมแนะนำให้สมัครขายรูปที่ 3 เว็บแรกนี่ก่อน คือ 123rf, Dreamstime และ Fotolia จากนั้นก็คัดเลือกรูปที่ผ่านการอนุมัติจากทั้ง 3 เว็บ จำนวน 10 รูปที่ดีที่สุด เพื่อส่งไปสอบที่เว็บ Shutterstock แล้วเมื่อสอบผ่านแล้ว ก็ให้คัดเลือกรูปที่ดีที่สุดจาก Shutterstock จำนวน 3 รูปที่ดีที่สุดมากๆ (ต้องดีมากจริงๆ) เพื่อส่งไปสอบที่ iStock ครับผม

ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพกันน่ะครับ ^^

Monday, July 16, 2012

การเตรียมตัวสำหรับส่งรูปขายออนไลน์ Part 1

การเตรียมความพร้อมสำหรับจะขายรูปออนไลน์ผ่านไมโครสต็อก (Microstock
photography) แน่นอนครับท่านที่สนใจจะเริ่มการขายรูปออนไลน์ ต้องมีความสนใจในการถ่ายภาพในระดับหนึ่ง แต่ไม่ต้องถึงกับเป็นมืออาชีพ(ผมเองก็มือสมัครเล่นครับ) แต่ถ้ามีมืออาชีพท่านใดสนใจ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกครับ ^^

มีช่างภาพหลายท่านยังคงลังเลว่ามีความพร้อมสำหรับการนำผลงานออกขายออนไลน์ได้หรือยัง? ผมเลยขอเพิ่มความมั่นใจให้ท่านทั้งหลาย ด้วยการรวบรวมสิ่งที่มีความจำขั้นต้น ในการส่งภาพขายตามประสบการณ์ของผมเอง แน่นอนว่าในช่วงแรกก่อนส่งรูปขายผมก็มีความลังเลอยู่เหมือนกันครับ

1) ทำหนังสือเดินทาง
สิ่งแรกที่ต้องเตรียมไว้ก่อนเลยครับ ทำหนังสือเดินทางหรือ Passport รอไว้ก่อนเลยครับ เพราะต้องใช้สำหรับยืนยันตัวตนกับทางตัวแทนขายภาพ (Micro stock agencies) เดี๋ยวนี้ราชการเค้าทำรวดเร็วทันใจครับ แล้วรอรับอีกประมาณ 3-7 วัน มีค่าใช้จ่ายในการทำพันกว่าบาทครับ (ดูระเบียบการขอหนังสือเดินทาง)


2) สมัคร PayPal
ถัดมาก็ต้องเปิดบัญชีธนาคารออนไล์กับ PayPal เพื่อเป็นแหล่งพักเงินแบบถูกกฎหมาย 555+ ก่อนที่จะโอนเป็นเงินเข้าธนาคารในไทยอีกที ขั้นตอนการเปิดบัญชีกับ PayPal อาจจะมีหลายขั้นตอนซักหน่อยแต่ก็ไม่เกินไปครับ ดูวิธีการสมัคร PayPal

Photo credit: paypal.com

3) เตรียมอุปกรณ์ถ่ายภาพ
เมื่อเตรียมสองอย่างแรกพร้อมแล้ว ขั้นถัดมาเป็นการเตรียมอุปกรณ์สำหรับถ่ายภาพ สำหรับท่านใดที่มีอุปกรณ์พร้อมแล้วก็อ่านเล่นๆขำๆไปก่อนละกันครับ สำหรับผมแล้วอุปกรณ์ที่สำคัญ 2 อย่างที่ขาดไม่ได้เลยในวงการขายภาพคือ กล้องดิจิตอล+เลนส์ และขาตั้งกล้องเป็นเบื้องต้นน่ะครับ ท่านใดจะมีอุปกรณ์เสริมมากกว่านี้ก็ยิ่งดีครับ

     3.1) กล้องดิจิตอล (Digital SLR Camera) ผมเน้นไปที่กล้อง DSLR น่ะครับ เพราะกล้องเล็กกว่านี้ เช่นกล้องคอมแพค (Compact Camera) จะมีคุณภาพไฟล์ไม่ละเอียดพอที่จะส่งขายครับ ซึ่งกล้องคอมแพคถ้ามองในแง่ขนาดภาพที่ถ่ายได้จะดูใหญ่โตแต่ก็คุณภาพก็ยังสู้กล้อง DSLR ที่มีขนาดภาพที่เล็กกว่ายังไม่ได้

กล้องทางค่าย Canon ที่เป็น DSLR รุ่นเล็กสุดในปัจจุบัน Canon EOS 1000D ก็สามารถนำมาถ่ายภาพแนวสต็อกได้แล้วครับ เท่าที่ผมได้ทดลองแล้วคุณภาพไฟล์ค่อนข้างดีครับ และผมก็มีรูปที่วางขายออนไลน์โดยใช้กล้อง EOS 1000D อยู่ด้วยครับ :)

ส่วนกล้องค่าย Canon ที่เก่าสุดที่ผมได้ถ่ายแล้วนำรูปไปขายก็เป็น Canon EOS 300D จะมีขนาดความละเอียดสูงสุด 6.3 ล้านพิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดขั้นต่ำในการรับรูปของไมโครสต็อกหลายแห่ง (แต่บางแห่งขั้นต่ำสุด 4 ล้านพิกเซลก็มีครับ)

Camera Max resolution Effective pixels
Canon EOS 300D 3072 x 2048 6.3 megapixels
Canon EOS 30D 3504 x 2336 8.2 megapixels
Canon EOS 1000D 3888 x 2592 10.1 megapixels
Nikon D60 3872 x 2592 10.2 megapixels
Nikon D3000 3872 x 2592 10.2 megapixels
Canon EOS 1100D 4272 x 2848 12.2 megapixels
Nikon D5000 4288 x 2848 12.3 megapixels
Nikon D3100 4608 x 3072 14.2 megapixels

จะเห็นว่าในการพิจารณาเลือกกล้องมาใช้สำหรับงานถ่ายภาพส่งขายที่ไมโครสต็อกจะเน้นไปที่ขนาดความละเอียดไฟล์ภาพเป็นสำคัญ ส่วนฟีเจอร์อื่นๆของกล้องจะไม่ใช่ประเด็นหลักเท่าไหร่ครับ

ตัวอย่างรูปถ่ายจาก Compact Camera (Canon PowerShort S90)

จากรูปตัวอย่างผมถ่ายจากกล้อง Canon PowerShot S90 ถ่ายด้วย RAW ตั้งความละเอียด 3648 x 2736, ISO-100, f/7.1, 1/500 sec. แล้ว resize ภาพให้เล็กลงเพื่อจะได้ลด noise ให้มากขึ้น เป็นความละเอียด 2900 x 2175 แล้วลอง Zoom 100% ดูจุดที่มืดๆ หน่อยก็จะเห็น noise ก็ยังมากพอควร ซึ่งภาพนี้ถ้าส่งขายก็จะโดน reject เพราะ noise เยอะเกินไปนั่นเอง

     3.2) เลนส์ (Lens) สำหรับเลนส์ที่จะใช้ในการถ่าย ไม่ว่าจะเป็นเลนส์ Kit ที่มากลับตัวกล้อง เช่น Canon EF 18-55mm ไปจนถึงเลนส์ระดับโปร ก็สามารถใช้ถ่ายได้หมดครับ ไม่มีประเด็นอะไรมากมาย

     3.3) ขาตั้งกล้อง (Tripod) สำหรับผมแล้วขาตั้งกล้องเป็นสิ่งจำเป็นขึ้นมาทันทีครับ เพราะภาพที่จะส่งขายจะต้องเป็นภาพที่คมชัด เน้นตรง "คมชัด" มากๆ ดังนี้ถ้าสถานที่ ไหนมีแสงน้อยแล้วละก็ อย่าลังเลที่จะใช้ตัวช่วยอย่างขาตั้งกล้องเลยน่ะครับ ไม่จำเป็นต้องเป็นขาตั้งที่ราคาแพงๆหรอก เอาแค่สามารถตั้งกล้องได้ก็พอแล้วครับ

4). เทคนิคการถ่ายภาพ
เมื่ออุปกรณ์พร้อมแล้ว เราก็มาสร้างสรรค์ภาพถ่ายแนวสต็อกกันเลยดีกว่า ภาพแนวสต็อกก็ไม่ได้แตกต่างจากการถ่ายภาพทั่วๆไปเท่าไหร่ครับ เวลาผมออกทริปไปเที่ยวต่างจังหวัดกับเพื่อนๆ เราก็ถ่ายโน้นนี่ไปเรื่อย ทั้งภาพหมู่ ภาพวิว ภาพแคนดิดเพื่อนๆ ภาพอาหาร ก่อนกิน อะไรทำนองนี้อยู่เป็นประจำ พอเริ่มรู้จักไมโครสต็อก ผมก็เริ่มไปค้นรูปเก่าๆ ที่เคยถ่ายไว้ตอนไปเที่ยวโน้นเที่ยวนี่ ภาพส่วนใหญ่ 95% นำมาขายไม่ได้เลยครับ 555+ เหตุผลอย่างแรกที่ไม่สามารถนำมาขายได้คือ ส่วนใหญ่เป็นภาพแนวที่ไมโครสต็อกเรียก กันว่าภาพ "สแนปช็อต" หรือ Snapshot ซึ่งมีคนให้คำนิยามไว้ว่า "การถ่ายภาพอย่างรวดเร็ว"

ภาพ Snapshot อธิบายง่ายๆ ประมาณว่าเป็นแนวภาพที่เราไม่ได้ตั้งใจถ่ายอะไรมากมาย ถ่ายขำๆ สนุกๆ ไม่คิดอะไรมาก แต่การถ่ายแบบ Snapshot ที่ว่าไม่เหมาะกับขายที่ไมโครสต็อกนี้ผมก็สามารถเลือกออกมาส่งขายได้อยู่เหมือนกัน ซึ่งรูปที่ขายเป็นอันดับหนึ่งที่ Shutterstock ผมก็ถ่ายขำๆไม่ได้เน้นอะไรเลย แต่บังเอิญว่าขายได้ครับ ^^

ดังนั้นภาพแนว Snapshot ถ้าเลือกดีๆก็ขายได้อยู่เหมือนกันครับ แล้วถ้าท่านใดมีโอกาสได้ไปเที่ยวถ่ายภาพอีก ก็ต้องมีภาพแนวสต็อกบ้างแล้วหล่ะ ส่วนภาพแนวสแนปช็อตก็ยังถ่ายได้น่ะ เพราะเพื่อนร่วมทริปยังต้องการตากล้องที่เก็บภาพบรรยากาศในการเที่ยวอยู่ดี :)

ในส่วนตัวผม ภาพแนวสต็อก ผมให้นิยามไว้ว่า "ถ่ายเน้นๆ" หรือตั้งใจถ่ายให้มากกว่าเดิม นั่นคือให้เวลากับภาพที่จะถ่ายมากขึ้น คิดก่อนถ่ายว่าจะให้ภาพมีความหมายออกมาแนวไหน เพราะภาพสต็อค ต้องการภาพที่สื่อความหมายชัดเจน เช่น ภาพธรรมชาติที่ดูสดชื่น เราก็ต้องถ่ายออกมายังไงให้มันดูสดชื่น (นี่ซิโจทย์ที่ยากมาก 555+)

แต่ก่อนไปคิดภาพที่ดูสื่อความหมาย เราก็มาโฟกัสในส่วนกฎเกณฑ์เบื่องต้นของภาพที่จะถ่ายเพื่อส่งขายออนไลน์ได้ จะต้องตรวจสอบว่าเข้าตามกฎเบื้องต้นเหล่านี้หรือไม่

  4.1) ต้องไม่ใช้ภาพแนว Snapshot
  4.2) ต้องเป็นภาพที่คมชัด
  4.3) ต้องเป็นภาพที่วัดแสงพอดี
  4.4) ต้องเป็นภาพที่ไม่มี Noise
  4.5) ต้องเป็นภาพที่สีไม่เพี้ยน
  4.6) ต้องเป็นภาพที่มีองค์ประกอบที่ดี
  4.7) ต้องเป็นภาพที่ไม่มีโลโก้สินค้าใดๆอยู่ในภาพ
  4.8) ต้องเป็นภาพที่ไม่แต่งภาพจนโอเวอร์
  4.9) ถ้ามีรูปคนอยู่ในภาพต้องมีเอกสารเซ็นยินยอมจากคนนั้น
  4.10) ถ้ามีรูปสิ่งก่อสร้างอยู่ในภาพต้องมีเอกสารเซ็นยินยอมจากเจ้าของสิ่งก่อสร้างนั้น

เป็น 10 หัวข้อเบื้องต้นที่ช่างภาพจะต้องพิจาณาก่อนส่งภาพขายหรือก่อนถ่ายภาพใหม่ทุกครั้ง ถ้าไม่ติดในประเด็นเหล่านี้ ภาพที่ท่านส่งขายก็มีโอกาสผ่านการพิจารณาได้ง่ายขึ้นครับ ลองมาดูรายละเอียดของแต่ละหัวข้อกันว่ามีความหมายว่าอย่างไร

     4.1) ต้องไม่ใช้ภาพแนว Snapshot - ดังที่ได้กล่าวไปแล้วน่ะครับ ภาพแนวนี้ไม่ใช่ว่าจะส่งไปขายไม่ได้น่ะ แต่ถ้าส่งไปก็มีแนวโน้มจะไม่ผ่านการพิจารณาจากทีมงานตรวจภาพครับ ซึ่งก็มีโอกาสที่จะผ่านก็ได้ใครจะไปรู้ :) ผมขอยกตัวอย่างภาพที่ผมส่งไปแล้วผ่านและไม่ผ่านให้ดูละกันครับ

ตัวอย่างรูปแนวสแนปช็อต ผมส่งขายที่ Shutterstock

จากรูปตัวอย่างเป็นรูปที่ผมถ่ายแนว Snapshot และพอลองส่งไปขายก็มีทั้งที่ผ่านและไม่ผ่านการพิจารณา (แต่ส่วนใหญ่ไม่ผ่าน) ผมว่าทีมงานตรวจภาพของไมโครสต็อกหรือเรียกว่ากลุ่มนี้ว่า Inspector ก็มีหลายคนมันก็หลายมาตราฐานในการตรวจ แต่ส่วนใหญ่มาตราฐานสูงมาก แต่โดยรวมแล้ว ถึงแม้เป็นภาพแนวสแนปช็อต และผ่านเกณฑ์ข้อ 4.2 - 4.10 แล้ว เค้าจะดูว่าภาพมีความหมายมั้ย ถ้าดูแล้วภาพมันสื่อความหมายได้เค้าก็คงให้ผ่านได้ไม่ยากครับ

     4.2) ต้องเป็นภาพที่คมชัด - ภาพที่ส่งขายได้ต้องคมชัดตรงส่วนที่ต้องชัด เช่น เราถ่ายภาพคนแนว portrait ซึ่งต้องชัดตรงใบหน้าโดยเฉพาะบริเวณดวงตา แต่เมื่อซูมหรือขยายเข้าไปดู 100% ของภาพแล้วปรากฏว่าดันไปชัดตรงไหล่นางแบบ แต่ส่วนใบหน้านั้นแอบเบลอนิดๆ ตัวอย่างนี้ถ้าส่งไปก็ไม่ผ่านแน่นอน ดังนั้นก็ต้องตรวจภาพแบบซูมดู 100% ทุกครั้งให้มั่นใจว่าชัดแน่นอน

ในบางครั้งถ้าเราดูภาพแบบไม่ได้ซูมเข้าไปดู 100% ก็ดูว่าชัดอยู่น่ะ แต่นั่นแหละมันดูไกลๆ ก็ว่าชัดแต่พอขยับเข้าไปใกล้ๆ มันดันเบลอซ่ะงั้น เทคนิคส่วนตัวผมแล้วเวลาถ่ายรูปผมขาดไม่ได้ที่ต้องใช้ขาตั้งกล้อง ถัดมาก็ปรับใช้ Auto fucus แน่นอน เพราะถ้าปรับ Manual focus โอกาสเบลอสูง แล้วก็จะมาดูตรงความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed) ผมจะเผื่อไว้ให้เร็วซักหน่อย และก็การเปิดรูรับแสง (Aperture) ก็จะไม่ใช้รูกว้างเกินไปในบางกรณี เพราะยิ่งเปิดกว้างมาก (ค่า f น้อยๆ) ยิ่งทำให้ความเบลอเข้ามากวนได้ง่ายครับ สำหรับเทคนิคลึกๆ ผมจะเขียนบล็อกอธิบายในภายหลังครับ

ตัวอย่างรูปถ่ายที่ไม่ชัด


ตัวอย่างรูปถ่ายที่คมชัด

จากรูปตัวอย่าง ถ้าดูรูปแบบไม่ซูมแล้วต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงก็น่าจะชัดดี แต่เมื่อซูมเข้าไปดูมันเบลอซ่ะงั้น ส่วนรูปแมวก็เป็นตัวอย่างภาพที่ขยาย 100% ขึ้นมาแล้วก็ยังคมชัด อย่างงี้ก็ส่งขายได้เลยพี่น้อง ^^

เนื่องด้วยเนื้อหา "การเตรียมตัวสำหรับส่งรูปขายออนไลน์" ค่อนข้างยาวมาก ผมขอแบ่งเป็นสองตอนละกันครับ แล้วเจอกันตอนถัดไปครับ ^^

Monday, July 9, 2012

ไมโครสต็อก ถ่ายจริง ขายจริง รับเงินจริง :)

สวัสดีหน้าฝนของเมืองหลวงอันมืดครึ้มแต่เช้า แต่ก็ยังโชคดีที่ไม่มีภารกิจต้องออกไป Outdoor ที่ไหน เลยมีเวลานั่งเขียนบล็อกเล่าประสบการณ์เล็กๆ ดั่งที่ได้พาดหัวเรื่องไว้ว่า "ไมโครสต็อก ถ่ายจริง ขายจริง รับเงินจริง" ผมจะเล่าตั้งแต่ต้นยันจบกระบวนการของภาระกิจขายรูปออนไลน์กันเลยน่ะครับ
(ต้องขออนุญาติปิดข้อมูลบางส่วน เพื่อความเหมาะสมสำหรับการแชร์ข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต)


2 พฤษภาคม 2553
ได้เดินเจอหนังสือ "แชะ รวยทะลุเลนส์ ถ่ายภาพขายออนไลน์ ธุรกิจสร้างเงินล้าน" เขียนโดย สุระ นวลประดิษฐ์ ในร้านหนังสือแห่งหนึ่ง เป็นสิ่งที่ผมอยากรู้มานานมากเกี่ยวกับวงการซื้อ-ขายรูป เพราะชอบดูรูปจากเว็บสต๊อกรายใหญ่ของโลก GettyImages และ Corbis อยู่บ่อยๆ แล้วเห็นฝรั่งเค้าขายรูปกันแพงๆ ไม่เว้นแม้แต่รูปที่ถ่ายจากเมืองไทย

photo credit: se-ed.com


6 พฤษภาคม 2553
พออ่านหนังสือจบ รู้สึกร้อนวิชาอย่างแรง ก็เลยไปควานหา CD รูปถ่ายเก่าๆ ของผม ที่เก็บไว้อย่างมากมาย มาเลือกรูป(ที่คิดว่าดีที่สุด) เพื่อลองส่งรูปไปสอบกับเว็บไมโครสต๊อกที่หนังสือแนะนำ และแน่นอนผมก็ได้เริ่มลองของกับที่แรกก่อนเลย Shutterstock นั่นเอง หลังจากกรอกข้อมูลเบื้องต้นและเบื้องลึกไปหมดแล้ว ทาง Shutterstock จะส่งอีเมลขอบคุณมาให้ดังรูปที่ 1

Figure 1  Email "Shutterstock Submission program"

ก่อนส่งรูปไปสอบเมื่อสองปีก่อนทาง Shutterstock จะให้ Contributor ส่งรูป ID ของคนนั้นไปให้ทาง Shutterstock ตรวจสอบเพื่อยืนยันตัวตน ID ที่ว่านี้ก็คือรูป Passport (เฉพาะหน้าที่มีรูปเราอยู่) สำหรับรูปบัตรประชนหรือรูปใบขับขี่ ฯลฯ ทางเค้าไม่รับ ดังนั้นก็ต้องทำ Passport เตรียมกันไว้ก่อนด้วยน่ะครับ ^^


7 พฤษภาคม 2553
มีอีเมลจากทาง Shutterstock แจ้งผลการอนุมัติ ID ว่าผ่านแล้ว ก็สำเร็จไปอีกหนึ่งด่านครับ ดังรูปที่ 2

Figure 2  Email "ShutterStock ID  approval"


8 พฤษภาคม 2553
หลังจากนั้นทางผมก็สามารถ Upload รูป 10 รูปขึ้นไปสอบได้เลย โดยจะต้องผ่าน 7 รูปขึ้นไปถึงจะสอบผ่านครับ การส่งรูปทุกครั้งไม่ว่าจะกี่รูปทาง Shutterstock จะเรียกรวมเป็นล็อตของการส่งว่า "batch" และจะส่งอีเมลมาแจ้งว่าได้หมายเลข batch อะไรเอาไว้อ้างอิง ซึ่งจะระบุข้อความไว้ในอีเมลเสมอว่าต้องรออย่างน้อย 72 ชั่วโมงในการอนุมัติผล หรือประมาณ 3 วันทำการ แต่อาจจะเร็วหรือช้ากว่านี้ก็เป็นเรื่องปกติครับ

Figure 3  Email "Shutterstock Submission"


เวลาผ่านไปไม่ถึง 24 ชั่วโมง ผมก็ได้รับอีเมลแจ้งมาว่าภาพผมผ่านการพิจารณาแล้ว ผลสอบผ่านแบบฉิวเฉียด 7 ภาพพอดี รอดอย่างหวุดหวิด ส่วนอีก 3 ภาพที่ไม่ผ่านก็โดนข้อหามี Noise เยอะเกินไปและ Composition ไม่ดี ดังรูปที่ 4

Figure 4  Email "Your account has been approved"


หลังจากรูปถ่ายผมได้ผ่านการอนุมัติและได้วางขายออนไลน์ 7 รูปแรก ในวันนั้นก็มียอดขายเข้ามาเลยทันที 4 downloads สุดยอด ดีใจมากแบบบอกไม่ถูกจริงๆ มันเป็นก้าวเล็กๆที่ภูมิใจมากครับ

หลังจากทะลุผ่านด่านการสอบเข้าไปได้ ผมก็เริ่มกระบวนการส่งภาพไปขายอย่างบ้าคลั่ง ต้องใช้คำว่าบ้าคลั่งไม่ผิดจริงๆ เพราะตั้งแต่วันที่ 9-31 พ.ค. 2553 จาก 22 วันผมส่งรูปกระหน่ำไป 40 batchs หรือ 40 ครั้ง ครั้งละ 10-30 รูป พอถึงสิ้นเดือนผมมีรูปที่ผ่านการพิจารณาและวางขายออนไลน์ 425 รูป แล้วรูปบางรูปคงบังเอิญไปโดนใจผู้ซื้อเข้าให้(คิดว่าน่ะ) เลยขายไป 313 downloads ทำให้ได้ยอดเงินร้อยกว่าเหรียญ ผมยิ้มปลื้มไปทั้งวันเลยพี่น้องช่วงนั้น ^^

และแน่นอนช่วงนั้นก็ไม่พลาดที่จะสมัคร 123rf, Fotolia และ Dreamstime และส่งรูปเซ็ตเดียวกับที่ส่งกับ Shutterstock ควบคู่กันไปตลอดครับ


20 พฤษภาคม 2553
ในเว็บของ Shutterstock ส่วนของ Contributor จะมีข้อความขึ้นมาแนะนำให้ไปกรอกรายละเอียดสำหรับการเสียภาษี เพราะถ้าไม่กรอกให้เรียบร้อยก่อนจะไม่สามารถเบิกเงินได้ จึงเข้าไปหาอ่านในเว็บของคุณสุระ (www.stockphotothailand.com) จึงได้ความว่าให้เลือกกรอกในเอกสารแบบฟอร์มหมายเลข "W-8 BEN" ซึ่งเป็นแบบฟอร์มสำหรับผู้ขายภาพที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา ดูตัวอย่างดังรูปที่ 5 (ผมขอนุญาติปิดข้อมูลบางส่วนน่ะครับ)

Figure 5  Online W-8 BEN Form

1 มิถุนายน 2553
พอขึ้นเดือนใหม่ ผมปิดยอดขายของเดือน พฤษภาค 2553 ได้เกินร้อยเหรียญมานิดหน่อย ดังตารางสรุปสถิติการขาย

Figure 6  Download Stats
และเมื่อเข้าไปดูในหัวข้อ "Payment History" ซึ่งทาง Shutterstock จะสรุปให้ว่ายอดขายรวมเท่าไหร่ เป็นผู้ซื้อในสหรัฐอเมริกาเท่าไหร่ และนอกประเทศเท่าไหร่ แล้วยอดรายได้สุทธิได้ที่เท่าไหร่ ในเดือนนี้ของผมโดนหักภาษีไป 1.88$ แล้วมีรายได้สุทธิ 110.13$ ดังรูปที่ 7

Figure 7  Payouts to Date


9 มิถุนายน 2553
ผ่านไปประมาณอาทิตย์นึงก็จะอีเมลจาก Shutterstock มาหาว่าได้โอนเงินให้คุณแล้วน่ะจ๊ะ โดยโอนให้ตามบัญชี PayPal ของผมที่ได้กรอกไว้แล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ผมก็สมัคร PayPal ไว้ก่อนหน้าเป็นปีแล้ว ตอนนั้นอยากขายของบน eBay แต่ยุ่งๆ จนป่านนี้ก็ยังไม่ได้ขายที่อีเบย์ซักที แต่ก็ยังดีที่ได้เงินจากไมโคร
สต๊อกซ่ะก่อน :)

Figure 8  Email "Shutterstock Payout"

จากนั้นผมก็รีบเข้า PayPal ไปเช็คยอดเงินเลยทันที อยากรู้ว่าเงินเข้าจริงป่าว ไม่น่าเชื่อ เงินเข้าแล้วจริงๆด้วย 555+ แต่ยอดเงินที่เห็นยังเอามาใช้งานไม่ได้ เพราะยังอยู่ในบัญชีธนาคารออนไลน์อย่าง PayPal ซึ่งเราต้องโอนออกมาอยู่ในธนาคารท้องถิ่นก่อน พอลองสำรวจวิธีการโอนออก เราต้องใส่รายละเอียดบัญชีธนาคารที่เราจะโอนเงินออกเข้าไปใน PayPal ก่อน และพอใส่เรียบร้อยแล้ว พอจะโอนเงินออกก็มีเงื่อนไขการจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับ PayPal กรณีเงินที่โอนออกยอดไม่ถึง 5,000 บาท เราต้องเสียค่าธรรมเนียม 50 บาท แต่ถ้ามากกว่านั้นก็โอนออกฟรี หรือฟรีสำหรับธนาคารในสหรัฐฯ

Figure 9  การถอนเงินจาก PayPal

ค่าธรรมเนียม 50 บาทไม่ใช่ประเด็นมากกว่า ถ้าโอนแล้วเงินไม่เข้าบัญชีในไทยหล่ะ จะน่าเซ็งกว่าเนอะ เพราะที่กังวล เหมือนผมไปอ่านในเว็บคุณสุระว่า ชื่อบัญชี(ชื่อผมภาษาอังกฤษ)ใน PayPal กับชื่อบัญชี(ภาษาอังกฤษ)ของธนาคารในไทยจะต้องตรงกัน เพื่อจะไม่ให้เกิดปัญหาการโอนเงินไม่ได้ ผมเลยใช้วิธีทดลองก่อนในครั้งแรก โดยการโอนเงินออกครั้งแรกมากมาย สูงถึง 12.08$ คิดเป็นเงินไทยขณะนั้น 383.90 บาท (exchang rate 1$=31.7798 บาท) จะต้องหัก 50 บาทด้วย คงเหลือที่จะรับจริง 333.90 บาท

Figure 10  รายละเอียดการถอนเงินจาก PayPal


ทาง PayPal ก็จะส่งอีเมลแจ้งเราด้วยว่ากำลังโอนเงินไปให้ที่แบงค์สีม่วงน่ะ (รอหน่อย)

Figure 11  Email "เรากำลังโอนเงินไปยังธนาคารของคุณ"

Note: จริงๆ ผมก็ยังงงอยู่น่ะว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่ทาง PayPal คิดให้ตอนนั้น 1$ = 31.7798 บาท เค้าเอาตัวเลขมาจากไหน เมื่อลองเข้าไปเช็คตารางอัตราแลกเปลี่ยนจากแบงค์สีม่วงช่วงนั้น (ดังรูปที่ 12) ก็ไม่เห็นว่าจะมีตัวเลข 31.7798 ให้เห็น (ใครรู้ก็บอกที งงอ่ะ)

Figure 12  SCB Currency Exchange Rates


14 มิถุนายน 2553
เมื่อได้เข้าไปเช็คยอดเงินเข้าที่เว็บไซต์ของแบงค์สีม่วง ที่ชื่อว่า "ธนาคารสีม่วงอันแสนง่ายดาย" (SCBeasy) ก็จะมีรายการเงินโอนเข้ามาจาก "Bank of America Nation" จำนวน 333.90 บาท เป็นอันโล่งอกว่าทุกกระบวนการเรียบร้อยเป็นอย่างดีครับ.... สบายใจจริงๆแท้เหลา


นี่เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งในการทำธุรกิจส่งออกของผมครับ...พี่น้องชาวไทย...
See you next time :)

Thursday, July 5, 2012

Summary of sell photos at Shutterstock

Micro stock photographer can save little by little from sale picture online. They have to be patient because they have not many pictures in their portfolio at the beginning so they will get less commission (each downloads 25 cents).

My friends asked me that you are unemployed so, what do you do? I told them I sale picture online. They asked me how much money you got from it. I told them I got 25 cents each pictures. My friends laughed at me and told me that why is so little. It is true that I got little money.

I think that I save little by little and then one day I will get much money from this job. And the important thing is that my operating result won’t be negative.

Lastest Downloads View of Shutterstock Contributor Page

The above picture is a part of webpage that photographer sale picture online at Shutterstock. It called contributor. I think that most of photographers in the world open this webpage. I also do that.

This webpage show that the ten latest pictures are sold and which where the customers download the pictures. So, I can know which country like my pictures. I feel very proud myself that I export some goods such as export coffee to USA or export woods to AUS.

The below picture is the summary of download picture statistic at Shutterstock on May 2010 which I start to sale pictures. I bought the book about teaching sale picture online that written by Mr. Sura Nualpradid. I read this book for 4-5 days. Then I sent my 10 pictures to Shutterstock to test and at least 7 pictures should be pass to become contributor. If the pictures don’t pass this month, you can send again next month.

My seven pictures were pass in that time but now it is very difficult to pass the test. This is because they got many pictures from all photographers around the world so, there are many competitors. But there are some Thai photographers sent the pictures and pass every times. Don’t be scare to send the pictures. If you are interested, you can click Become a Contributor.

Download Stats - May 2010, Shuttersotck Contribute Page

My first month start to sale the pictures online. I think that I am very lucky to got Enhanced Download which I received 28$ plus 25 cents from normal download include On Demand download. My statistic show that I got more than 100$ in my first month.

I have 1,952 images and 36 footages at Shutterstock. Most of my income comes from sale pictures. My acceptance ratio is 60%. I think most of my pictures pass the test. During I write my blog, I got 8,637 downloads now. So, I got more than 4,000$.

To withdraw money from Shutterstock, if you have money more than 100$ (can change the amount of withdraw money) in this bill date, Shutterstock will transfer money to PayPal around 6-7 days next month then PayPal will transfer money to Bank in Thailand around 5-7 working days.  I think that I will get the money around 14-15 another month.

The above statistic can be see that each downloads have a difference price. The details as given below:

Shutterstock Submitter Earnings Schedule

To calculate income per download, earning Schedule divides into 4 things:
  • Level 1 - The accumulate income not more than 500$.
  • Level 2 - The accumulate income between 500$ and 3,000$.
  • Level 3 - The accumulate income between 3,000$ and 10,000$.
  • Level 4 - The accumulate income more than 10,000$.

A new photographer will start at level 1. For myself, I am at level 3 now. It took me 2 years. But some Thai photographers took only one year to level 3.

Products Type depends on customers type as below:
  • Subscriptions(25-A-Day) – Customers download every day. The photographers will get around 0.25$ to 0.38$.
  • On Demand (Small/Medium) – Depends on customers can buy small or medium size when they want to use it. The photographers will get around 0.81$ to 1.24$.
  • On Demand (Any Size) – Depends on customers can buy any size when they want to use it. The photographers will get around 1.88$ to 2.85$.
  • Enhanced License – Depends on agreement condition between photographers and Shutterstock. The income is around 28$.
  • Single Image On Demand is the latest one. The photographers will get money by the percent of sale price which is around 20%-30%.
Note: Deduct 15% tax if the revenues come from American customers. The others countries won’t be charge.

I have not only picture or vector but also have footage. I will told you next blog.

Before I finish my blog, I have the best five pictures that I make money more than 200$. See you next blog.

Coffee beans ripening on plant / 400 Downloads

Cardboard Texture / 359 Downloads

Concrete Texture / 355 Downloads

Green palm tree leaf as a background / 192 Downloads

Sheepskin Background / 179 Downloads

สรุปผลการขายภาพที่ Shutterstock

"มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์" เป็นบทกลอนบางส่วนของท่านสุนทรภู่ เหตุที่ต้องเกลิ่นนำด้วยบทกลอนนี้ เพื่อจะนำไปสู่การสะสมรายได้ทีละเล็กละน้อยสำหรับอาชีพช่างภาพอิสระที่หารายได้จากการขายภาพออนไลน์ครับ

พอมาเป็นเวอร์ชั่นของการขายภาพออนไลน์ ผมเลยปรับแต่งใหม่เป็น "มี 25 cents พึงบรรจบให้ครบ Dollar อย่าล่าช้ารีบส่งรูปที่ประสงค์" ขำขำครับ แต่วงการนี้ต้องอดทนจริงๆ รายได้ที่ได้มาจากการขายแต่ละครั้ง มาแบบ 25 เซนต์ หรือประมาณ 7 บาทกว่าๆ เอง แต่ยังไงก็ยังมากว่าสลึงโขอยู่น่ะ haha+

เพื่อนผมเคยถามว่าช่วงนี้ทำอะไร ผมบอกว่าขายรูปถ่ายในเน็ต แล้วมันก็ถามว่ารายได้ดีมั้ยว่ะ ผมก็บอกว่า ขายได้ครั้งละ 8 บาท! เพื่อนผมมันขำกลิ้งเลย ว่าทำไมมันน้อยจัง ก็ไม่แปลกหรอกครับ ก็มันน้อยจริงๆ :)

แต่นั่นแหละของแบบนี้มันต้องสะสมจากน้อยๆ ไปเรื่อยๆ ซักวันมันก็มากขึ้นเอง สิ่งที่แน่ๆคือมันไม่มีติดลบ มันมีแต่งอกเงยขึ้นน่ะ ผมคิดในแง่ดีอย่างนี้มาตลอด

Lastest Downloads View of Shutterstock Contributor Page

ภาพด้านบนนี้เป็นส่วนหนึ่งของหน้าเว็บผู้ส่งภาพขายหรือที่ Shutterstock เรียกว่า Contributor ผมว่าเป็นหน้าเว็บที่ช่างภาพทั่วโลกเปิดทิ้งไว้เกือบทุกครั้งที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แลยทีเดียว ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ทำอย่างนั้น ^^

มันเป็นหน้าเว็บที่บ่งบอกว่าการดาวน์โหลดรูปของเราใน 10 ครั้งล่าสุดนั้น แถบประเทศไหนบ้างที่ดาวน์โหลดไป จะทำให้เห็นภาพคร่าวๆ ได้เลยว่าผลงานที่เราสร้างสรรค์ไว้นั้น ไปโดนใจผู้ซื้อในส่วนใดของโลกบ้าง บางครั้งก็แอบปลื้มว่าเราก็ทำอาชีพส่งออกเลยทีเดียว ส่งออกกาแฟไปอเมริกาบ้าง ส่งออกไม้เก่าไปออสเตรเลียบ้าง และที่ภูมิใจมากเมื่อเห็นการดาวน์โหลดมาจากประเทศไทยเอง รู้สึกดีแบบบอกไม่ถูกจริงๆครับ

ภาพด้านล่างเป็นตารางสรุปสถิติการดาวน์โหลดรูปที่ Shuttetstock ประจำเดือนพฤษภาคม 2553 ซึ่งเป็นเดือนแรกที่ผมเริ่มขาย ผมได้ซื้อหนังสือสอนการขายรูปออนไลน์ของคุณ "สุระ นวลประดิษฐ์" เมื่อต้นเดือน ใช้เวลาอ่าน 4-5 วัน จากนั้นก็เริ่มลองส่งสอบที่ Shutterstock ที่นี่เป็นที่แรก โดยเว็บนี้ต้องส่งรูปไปสอบก่อน 10 รูป จะต้องผ่านอย่างน้อย 7 รูปถึงจะเป็น Contributor ของที่นี่ได้ แต่ถ้าสอบไม่ผ่านจะต้องรอสอบใหม่อีก 1 เดือนครับ

ผมก็สอบผ่าน 7 รูปแบบฉิวเฉียด แต่พักหลังที่นี่เริ่มสอบผ่านอยากมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งผมคิดว่าด้วยจำนวนช่างภาพจากทั่วโลกที่สนใจส่งภาพมาขายเยอะขึ้นเรื่อยๆ การแข่งขันก็สูงตาม แต่ก็มีช่างภาพไทยสอบผ่านอย่างต่อเนื่องน่ะ อย่าไปกลัวครับ ---> Become a Contributor

Download Stats - May 2010, Shuttersotck Contribute Page

จากรูปสถิติบางส่วนในเดือนแรกที่ขายภาพของผม นับว่าโชคดีมากที่ได้การดาวน์โหลดแบบ Enhanced Download ซึ่งจะได้ครั้งละ 28$ เป็นสิ่งปรารถนาของช่างภาพทุกคนมาก ถือเป็นโบนัสประจำเดือนเลยก็ว่าได้ และบวกกับยอดดาวน์โหลด 25 Cents และมีแบบ On Demand บ้าง ก็พอช่วยได้ครับ

ที่เว็บ Shutterstock นี้ผมมีภาพออนไลน์อยู่ขณะนี้ 1952 images และมีวิดีโอออนไลน์อยู่ 36 footages รายได้หลักก็มาจากรูปถ่ายครับ มีอัตรารูปที่ผ่านการพิจารณา (Acceptance ratio) 60% ก็ถือว่าผ่านเยอะกว่าตก :) ผมมียอดดาวน์โหลดรวมแล้วก็ 8,637 downloads คิดเป็นรายได้รวมแล้วก็ 4 พันกว่าเหรียญสหรัฐครับ

การถอนเงินออกจากที่นี่ ถ้าในรอบเดือนมีรายได้เกิน 100$ (สามารถแก้ไขยอดขั้นต่ำได้) ทาง Shutterstock ก็จะโอนเข้า Paypal ให้ประมาณวันที่ 6-7 ของเดือนถัดไป แล้วเราก็โอนจาก Paypal เข้าบัญชีธนาคารในไทยใช้เวลาอีก 5-7 วันทำการ คิดกคร่าวๆ ก็จะได้เงินจริงๆ ประมาณวันที่ 14-15 ของเดือนถัดไปครับ

จากตารางสถิติด้านบนจะเห็นว่ารายได้จากการดาวน์โหลดแต่ละประเภทไม่เท่ากัน รายเอียดดูตามตางรางด้านล่างครับ

Shutterstock Submitter Earnings Schedule

ตาราง Earning Schedule เป็นรายละเอียดบางส่วนของการคิดคำนวณรายได้ต่อการดาวน์โหลดในแต่ละครั้ง โดยผมจะแบ่งระดับแบบง่ายๆ ออกเป็นบันได 4 ขั้นสู่ฝันดังนี้ครับ
  • บันไดขั้นที่ 1 - มียอดรายได้สะสมไม่เกิน 500$
  • บันไดขั้นที่ 2 - มียอดรายได้สะสมอยู่ระหว่าง 500$ - 3,000$
  • บันไดขั้นที่ 3 - มียอดรายได้สะสมอยู่ระหว่าง 3,000$ - 10,000$
  • บันไดขั้นที่ 4 - มียอดรายได้สะสมเกิน 10,000$
ช่างภาพที่เริ่มขายใหม่ๆ ก็จะเริ่มจากบันไดขั้นที่ 1 และการก้าวไปสู่บันไดขั้นถัดไปก็ขึ้นอยู่กับยอดขายอีกที ส่วนตัวผมเองก็อยู่ในขั้นที่ 3 ซึ่งใช้เวลาเกือบ 2 ปีน่ะ กว่าจะสะสมยอดขายขึ้นมา แต่ช่างภาพไทยบางท่านก็ทำได้เร็วกว่านี้ก็มีน่ะครับ บางท่านก็ใช้เวลาไม่ถึงปีก็ขึ้นสู่ระดับ 3 กันแล้ว เก่งจริงๆ ^^

ถัดมาเป็นประเภทของการดาวน์โหลด (Product Type) ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประเภทลูกค้า ดังนี้ 
  • Subscriptions (25-A-Day) - จะเป็นผู้ซื้อแบบดาวน์โหลดประจำทุกวัน รายได้ 0.25$-0.38$
  • On Demand (Small/Medium) - จะเป็นผู้ซื้อแบบซื้อเมื่อต้องการใช้ เฉพาะขนาดภาพเล็กและขนาดกลาง รายได้ 0.81$-1.24$
  • On Demand (Any Size) - จะเป็นผู้ซื้อแบบซื้อเมื่อต้องการใช้ ได้ขนาดไฟล์ทุกขนาด รายได้ 1.88$-2.85$
  • Enhanced License - จะเป็นผู้ซื้อแบบให้สิทธิใช้งานภาพที่กว้างขึ้น รายได้ 28$
  • Single Image On Demand - เป็นแบบใหม่ล่าสุด มีอัตราการจ่ายรายได้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากราคาที่ขายได้ อยู่ที่ 20%-30%
Note รายได้ที่กล่าวมานี้จะถูกหักภาษีประมาณ 15% ของผู้ซื้อที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาน่ะครับ

นอกจากรูปถ่ายหรือรูปเวกเตอร์แล้ว ยังมีรายได้ส่วนที่เป็นวิดีโอ (footage) อันนี้ผมค่อยกล่าวในบล็อกถัดไปน่ะครับ

ก่อนปิดรายการ มีรูปที่ขายดีสุด 5 อันดับแรกของผม โดยรูปอันดับหนึ่งของผม สามารถทำรายได้รวมกว่า 200$ เลยน่ะครับ (ก็ได้รูปเดียวนี้แหละ 555+)


Coffee beans ripening on plant / 400 Downloads

Cardboard Texture / 359 Downloads

Concrete Texture / 355 Downloads

Green palm tree leaf as a background / 192 Downloads

Sheepskin Background / 179 Downloads

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อยน่ะครับ และสุดท้ายผมก็ยังยึดหลัก "มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท" ต่อไปครับ ^^

Tuesday, July 3, 2012

Yuri Arcurs แนะนำ 22 เคล็ดลับการถ่ายภาพขายออนไลน์ (Part 2)

photo credit: arcurs.com
บล็อกที่แล้วก็ได้นำเสนอเคล็ดลับการถ่ายภาพขายออนไลน์ของ Yuri Arcurs ไปแล้ว 10 ข้อ จากทั้งหมด 22 เคล็ดลับ มาต่อกันเลยครับ (เรียบเรียงจากนิตยสาร: Digital Camera August 2011)
 
 
11. อย่าหลุดเข้าด้านมืด
ภาพที่ดูสว่างๆ หรือแนวไฮคีย์ (High-key) จะมีข้อได้เปรียบกว่าภาพที่อยู่ในโทนมืด มันสามารถแสดงให้เห็นรายละเอียดและอารมณ์ที่จะสื่อสารไปถึงผู้รับภาพได้ดี

photo credit: arcurs.com

12. ใช้ตัวแบบที่คุ้นเคย
คุณสามารถขอให้คนใกล้ตัว เพื่อนๆ มาเป็นแบบให้คุณได้ ซึ่งเป็นแบบที่มีความคุ้นเคยกันอยู่แล้ว ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปจ้างนายแบบ นางแบบมืออาชีพ และถ้าเพิ่มการจัดฉากและแต่งหน้าให้ดีขึ้นด้วยแล้วก็จะเป็นอะไรที่ดีมากเลย และอย่าลืมตรวจสอบแบบฟอร์ม Model Release ให้ถูกต้องไว้ด้วยครับ


photo credit: arcurs.com


13. เช็คอายุของพวกเขา
ในการถ่ายภาพบุคคลที่อายุยังไม่ถึง 18 ปี จำเป็นต้องได้รับคำยินยอมจากผู้ปกครองในการเซ็นยินยอมในแบบฟอร์ม Model Release ก่อน เพราะในบางประเทศจะมีข้อกฎหมายในการคุ้มครองเด็ก ดังนั้นเพื่อความสบายใจของทั้งช่างภาพ ตัวแบบ และรวมไปถึงลูกค้าที่นำภาพไปใช้ก็ควรเตรียมเรื่องนี้ให้พร้อมด้วยเสมอ

photo credit: arcurs.com


14. เลือกรูปแบบให้ถูกต้อง
จงมั่นใจเสมอว่าแบบฟอร์ม Model Release ถูกลงชื่อโดยตัวแบบ เพื่อเป็นการลงนามยินยอมให้คุณสามารถถ่ายภาพตัวแบบเหล่านั้นในวัตถุประสงค์เพื่อการค้าและการพาณิชย ซึ่งแบบฟอร์มเหล่านี้จะช่วยปกป้องผลประโยชน์ของช่างภาพในกรณีที่ตัวแบบเกิดเปลี่ยนใจหลังจากที่ถ่ายภาพไปแล้ว

photo credit: arcurs.com

15. จงรักที่ปรึกษาทางกฎหมายของคุณ
ในกรณีของยูริ เขามียอดขายภาพได้กว่าสองล้านภาพต่อปี มักจะมีกรณีเกี่ยวกับการฟ้องร้องเกี่ยวกับการนำภาพไปใช้งานในทางที่ผิดอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก เขาบอกว่าเพื่อป้องกันสิ่งเหล่านี้ เขาได้จ้างที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายเหล่านี้มาเพื่อรองรับปัญหาเหล่านี้


16. ผสมผสาน
ยูริแนะนำให้สร้างสรรค์มุมมองของภาพที่แตกต่างบ้าง โยนองค์ประกอบภาพแบบเดิมๆทิ้งไป เพื่อที่จะได้ภาพที่โดนเด่นแปลกตา อาจจะทำให้บรรณาธิการฝ่ายภาพตัดสินใจเลือกใช้ภาพของคุณได้ง่ายขึ้นก็เป็นได้


photo credit: arcurs.com
17. ถ่ายภาพกีฬาให้เยี่ยม
ภาพกีฬาเป็นอีกหัวข้อที่มีการซื้อขายกันเยอะมากเลยที่เดียว ยูริเลยแนะนำให้ไปติดต่อทีมฟุตบอลลีกในท้องถิ่นที่มีการแข่งขันกันเป็นประจำอยู่แล้ว เพื่อขอเข้าไปถ่ายภาพ ควรหลีกเลี่ยงผู้เล่นที่มีชื่อเสียงหรือโลโก้ตามเสื้อ กางเกง รองเท้า รวมถึงป้ายสปอนเซอร์ข้างสนามด้วย แต่ผมขอเพิ่มเติมอีกนิด การถ่ายภาพนักกีฬาที่มีชื่อเสียงก็ได้น่ะครับ (ยิ่งดังยิ่งดี) แล้วไปส่งขายอยู่ในหมวด Editorial ซึ่งอาจจะทำขายดีก็เป็นได้

photo credit: arcurs.com
18. น้อยคือมาก
หลักการน้อยคือมากของยูริคือว่าภาพที่ดูธรรมดาๆ ปรับแต่งกับ photoshop ไม่เยอะมาก ดูเรียบๆ ส่วนใหญ่มักจะขายได้นานๆ สม่ำเสมอตลอด แต่ถ้าภาพไหนดูโฉ่งฉ่าง ปรับกับ photoshop หนักๆ หรืออาจจะเรียกว่าภาพโชว์ ซึ่งก็จริงมันอาจจะถูกเลือกใช้งานได้แต่ไม่บ่อยเท่าภาพที่ดูเรียบง่ายกว่า

19. ทำให้สมจริง
การสร้างสรรค์ภาพถ่าย ควรสร้างความสมจริงให้กับภาพ ทั้งองค์ประกอบและอารมณ์ของภาพ เพราะถ้าจัดวางสิ่งต่างๆ ดูขัดๆ ตามหลักความเป็นจริงแล้ว ผู้ซื้อก็มองออกว่าภาพมันดูไม่สมจริง แต่สำหรับผมแล้วก็ทำทั้งสองแนวส่งไปขายนั้นแหละ มันอยู่ที่ว่าลูกค้าชอบแนวสมจริงหรือเหนือจริง เพียงแค่ว่าโอกาสการขายแบบสมจริงอาจจะขายได้ดีกว่าแค่นั้นเอง

photo credit: arcurs.com

20. คิดอย่างสร้างสรรค์กับธรรมชาติ
ภาพธรรมชาติก็เป็นอีกแนวที่มียอดขายที่ดีและมีช่างภาพจำนวนมากก็ส่งภาพแนวธรรมชาติมาเพื่อรองรับตลาดการซื้อขายนี้ ยูริเองก็เลยแนะนำให้ถ่ายภาพแนวธรรมชาติให้มันสร้างสรรค์มากกว่าเดิม หรือง่ายๆก็หามุมมองใหม่ๆ หรือเทคนิคใหม่ๆในการถ่าย ให้แตกต่างจากภาพที่มีอยู่ทั่วๆไป เมื่อสร้างความโดนเด่นออกมาแล้ว จะทำให้คู่แข่งที่มีภาพแนวนี้ก็น้อยลงไปด้วย ผมว่ามันเป็นคำแนะนำที่ง่ายแต่ก็นำไปปฎิบัติได้ยากจริงๆ

21. เลือกใช้ Keyword ให้เป็น
การถ่ายภาพและตกแต่งภาพแล้วอัพโหลดภาพไปยังตัวแทนภาพสต็อกนั่นงานยังไม่จบสิ้น ยังมีอีกหัวใจสำคัญนั่นคือการกำหนด Keyword ให้กับภาพนั้นๆ ยูริแนะนำไว้ว่าควรมีซัก 20 คำ ไม่มากไม่น้อยไปกว่านี้ถือว่ากำลังดี ไม่ควรใส่ Keyword ทุกอย่างที่เราเห็นในภาพเพราะจะดูใส่ฟุ่มเฟือยจนเกินไป และหมั่นศึกษาดูว่าภาพที่ขายดี นอกจากเทคนิคการถ่ายที่ดีแล้วเขาได้กำหนด Keyword กันอย่างอะไร


22. ภาพที่คมชัดและปราศจาก Noise
หัวข้อนี้สำหรับผมแล้ว ผมจะวางไว้เป็นหัวข้อแรกๆเลย เพราะเป็นประเด็นแรกที่ช่างภาพส่วนใหญ่จะต้องถ่ายภาพที่ปราศจาก Noise อยู่แล้ว หรือทำให้ให้ Noise มีต่ำที่สุด แต่ยูริก็แนะนำมา ผมคิดว่าภาพที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ตรวจภาพนั้น คงมีภาพที่มี Noise นิดๆ หลุดไปบ้าง แล้ว concept ภาพคงดีจริงๆ ผู้ตรวจจึงปล่อยให้ผ่านไปได้ และเมื่อภาพเหล่านั้นไปวางขายแล้ว ยูริก็แนะว่า ผู้ซื้อก็ต้องเลือกภาพที่มี Noise น้อยกว่าอยู่ดี จะทำให้เราเสียโอกาสในการขาย ทางที่ดีควรลด Noise ตั้งแต่ตอนถ่ายเลยครับ

ก็จบไปแล้วกับ 22 เคล็ดลับของ Yuri Arcurs ช่างภาพสต็อกระดับแนวหน้าของโลก ได้แนะนำมา ถ้าดูจากข้อแนะนำ ยูริได้กล่าวเกี่ยวกับภาพบุคคลก็เยอะ เหตุเพราะเค้าถนัดถ่ายภาพแนวนี้ ดังนั้นเคล็ดลับที่ยูริแนะนำก็ยังไม่ครอบคลุมไปถึง ภาพแนวอื่นหรือผู้ที่ทำภาพเวกเตอร์ส่งขายด้วย ไว้โอกาสหน้าจะหาข้อมูลดีๆ มาแบ่งปันกันครับ ^^