Wednesday, June 20, 2012

Yuri Arcurs - ช่างภาพสต๊อกชั้นแนวหน้าของโลก

Yuri Arcurs / photos credit: www.arcurs.com

"ยูริ อาร์เตอร์ส" กับคำนิยามของตัวเขาที่ว่า "Yuri Arcurs - the world’s top selling stock photographer" ซึ่งเขาเป็นกรณีตัวอย่างที่ดี ในการเป็นต้นแบบช่างภาพที่เอาดีทางด้านการขายภาพในไมโครสต๊อกแล้วประสบความสำเร็จมากคนหนึ่ง

ผมได้อ่านบทสัมภาษณ์ Yuri ในนิตยาสาร Digital Camera Magazine, August 2011 ฉบับภาษาไทย เห็นว่ามีประโยชน์มาก เลยนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ข้อความพาดหัวในนิตยารได้น่าสนใจมากว่า "ทำอย่างไร ถึงจะขายได้ 2,000 ภาพ ในแต่ละวัน" เห็นแค่นี้ก็แทบจะพลิกอ่านต่อแทบไม่ทัน เพราะผมเองยังขายได้แค่หลักสิบภาพต่อวัน hahaha+

เท่าทีผมดูผลงานของยูริ เอาเฉพาะที่ iStockphoto ที่เดียวเขามีไฟล์ออนไลน์อยู่หมื่นกว่าไฟล์ ซึ่งประกอบไปด้วย Photos มากกว่าพันรูป, Video ประมาณ 300 คลิป และ Audio ประมาณพันกว่าคลิป แล้วเขามียอดดาวน์โหลดเฉพาะที่ iStockphoto นี้รวมแล้ว 1,300,000 downloads โดยที่เริ่มขายมาตั้งแต่ October 2005 ก็เป็นเวลากว่า 7 ปีแล้ว
ถ้าใครเคยติดตามผลงานของเขา แนวภาพส่วนใหญ่ของยูริก็จะเป็นภาพบุคคลซ่ะส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นแนวที่ตลาดมีความต้องการมาก แล้วในแง่การถ่ายก็ยุ่งยากกว่าการถ่ายแนวธรรมชาติหรือแนวอื่น เพราะนอกจากการเซ็ตฉาก เซ็ตไฟ สถานที่ แต่งหน้า เสื้อผ้าแล้ว นายแบบนางแบบยังต้องยอมเซ็นใบ Model Release Forms เพื่ออนุญาติให้นำภาพเขาและเธอไปขายได้

ก็ไม่แปลกใจเลยที่ภาพของยูริ จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก นอกจากภาพแล้วยูริก็ยังขยายไปสู่การขายคลิปวิดีโอ (footage) และไฟล์เสียงด้วย (audio) เพราะโอกาสในการขายรออยู่และเขาเองก็มีทีมงานและศักสภาพต่างๆ พร้อมอยู่แล้ว

คำถามที่ว่า หลักการการถ่ายภาพสต๊อกพื้นฐานของเขาเป็นอย่างไร เขากล่าวว่า "หลายคนถ่ายภาพตามที่พวกเขาต้องการจะให้เป็น แต่สำหรับผม แค่อยากถ่ายภาพให้ดีที่จะตอบสนองลูกค้า ไม่ใช่ตัวผม เช่นนั้นผมจึงได้ขาย อีกทั้งผมไม่มีภาระในส่วนของ 'วิสัยทัศน์ทางศิลปะ' ที่อาจเข้ามากวนใจผมจากเป้าหมายที่จะทำ" แปลจากไทยเป็นไทยได้ว่า... ช่างภาพสต๊อกทั่วไปถ่ายรูปตามใจตัวเอง แต่ยูริถ่ายรูปตามใจลูกค้านั่นเอง

photo credit: www.arcurs.com

คำถามที่ว่า ไปมายังไงถึงมาทำอาชีพนี้ เขาบอกว่าเริ่มจากทำเพราะหาเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาแค่นั่นเอง โดยเขาเริ่มถ่ายภาพครั้งแรกเมื่อสมัยเป็นนักศึกษาสาขาการถ่ายภาพในสายข่าว แต่ต่อมาเขาเปลี่ยนไปเรียนด้านจิตวิทยา แล้วพอขายไปเรื่อยๆ เขารู้สึกว่ามันเป็นงานที่สนุกมาก จึงยึดเป็นอาชีพหลัก

ในช่วงการขายภาพช่วงแรก เขาถูกเยาะเย้ยว่า ภาพของเขาเป็นภาพที่จืดชืดธรรมดาสุดๆ แต่เขายึดแนวทางนี้มาตลาดเพราะ ภาพแนวนี้เป็นแนวที่ทำเงิน ไม่ใช่ภาพแนวศิลปะ แต่ที่ผมดูแล้วภาพเขาก็ไม่ได้ดูจืดชืดเล้ย ถ่อมตัวจริงๆ

"แค่ถ่ายภาพธรรมดาๆ ไม่พอหรอก มันมีเส้นบางๆ กั้นอยู่ระหว่างการทำในสิ่งที่ผู้คนต้องการ แต่ก็ต้องทำในสิ่งที่พวกเขาไม่เคยเห็นมาก่อนเช่น นี่น่าจะเป็นส่วนที่ยากที่สุดของงาน ซึ่งก็คือการทำให้ภาพของคุณดูโดดเด่นที่สุด งานนี้แหละที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์" ยูริกล่าวประโยคเด็ดปิดท้าย

กล้องที่ Yuri Arcurs ใช้
ระดับนี้แล้วไม่ได้ใช้แค่ตัวเดียว ค่ายเดียวเป็นแน่ เท่าที่เขาบอกไว้มีกล้อง Hasselblad, Canon 1Ds Mk III, Canon EOS 5D Mk II, Canon EOS 7D และ Nikon D3x อุปกรณ์เทพก็คู่ควรกับเทพจริงๆ ^^

จำนวนทีมงานของ Yuri Arcurs
เขามีทีมงานรวมแล้ว 50 กว่าชีวิต ตั้งแต่ Sound engineer ไปจนถึงคนหาอุปกรณ์ประกอบ

เกลิ่นเรื่องของยูริไว้แค่แน่ก่อนน่ะครับ ตอนหน้าจะรวบรวม 22 เคล็ดลับของยูริ ในการสร้างสรรค์งานสต็อกให้ทำเงินได้ดี

2 comments:

  1. แล้วภาพแนวไหนล่ะครับ ที่จะตอบสนองใจลูกค้าได้
    ตามความเข้าใจของผม ก็น่าจะเป็นภาพอะไรก็ตาม ที่คิดว่าลูกค้าไม่เคยเห็น
    แปลกตา สวยงาม ไม่ซ้ำซาก หรือเปล่าครับ สร้างสรรค์กันสุดๆ

    ReplyDelete
    Replies
    1. ก็เป็นส่วนนึงอย่างที่คุณไก่บอกครับ ภาพไหนแปลกตา ไม่ซ้ำใคร ก็น่าจะมีโอกาสขายได้ดีครับ ในส่วนที่ยูริ เค้าแนะนำ ประมาณว่าเค้าจะเน้นถ่ายภาพเรียบๆ ไม่หวีอหวามาก เพราะสามารถขายได้ยาวๆ อะไรประมาณนั้นครับ :)

      Delete