Monday, December 24, 2012

การสมัครขายภาพออนไลน์ที่ 123RF (Part 3)

Beautiful satin gift bow
Merry christmas & Happy new year 2013 น่ะครับพี่น้องชาวไทย และในที่สุดโลกเราก็ไม่แตกครับ 555+

เรามาถึงตอนที่ 3 ของการสมัครขายภาพที่เว็บ 123RF กันแล้วน่ะครับ (อ่านย้อนหลัง ตอนที่ 1, ตอนที่ 2) ตอนสุดท้ายนี้ จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการดูยอดรายได้จากการขายภาพ ดูรายละเอียดที่ลูกค้าซื้อรูปของเราไป ดูวิธีการโอนเงินจากเว็บ 123RF ไปให้เราที่ PayPal

เมื่อเราทยอยส่งภาพไปซักระยะหนึ่ง ถ้าภาพโดนใจลูกค้าก็จะมียอดดาวน์โหลดหรือยอดซื้อภาพเข้ามาเร็วหน่อย (เป็นกำลังใจอย่างมาก) แต่ถ้ายังไม่โดนใจลูกค้า ก็ต้องอดทนรอกันหน่อยน่ะครับ พราะว่า "งานทุกงาน อาชีพทุกอาชีพ ไม่หมูอย่างที่คิด จริงๆน่ะ" (คำคมส่งท้ายปีของผม ^^)

สำหรับผมเองกว่าจะขายรูปแรกได้ก็เกือบ 3 เดือนครับ รูปที่ขายได้เป็นรูป "ปลีกล้วย" จำนวนรูปในตอนนั้นน่าจะประมาณสองร้อยรูป จำได้ว่าก่อนจะได้โหลดแรกมานั้น ผมก็ส่งรูปแบบเซ็งๆ เบื่อๆ กะจะหยุดส่งรูปแล้ว เพราะไม่เห็นขายได้เลย (อารมณ์นี้ผมว่าเกิดขึ้นกับทุกคนที่ส่งรูปขายน่ะ)

Banana Flower

ฉะนั้น ถ้ายอดขายอาจจะไม่มาซักที หรือนานๆมาครั้งก็ต้องอดทนน่ะครับ ไหนๆ เหล่าเพื่อนพ้องน้องพี่ "คนสร้างภาพ" ทั้งหลาย ต่างก็มีใจรักการถ่ายภาพเป็นเบื้องต้นอยู่แล้ว การขายภาพได้เป็นเรื่องรองไปเลย แค่เราได้เปิดแกลเลอรี่ออนไลน์ไว้อวดผลงาน ก็ดูเท่และภูมิใจแล้วละครับ ^^


รูปที่ 1 - เมนูด้านล่างสุดสำหรับพี่น้องช่างภาพนักล่าฝัน :)

การดูว่าเรามียอดรายได้จากการขายภาพเท่าไหร่แล้วนั้น ให้ไปที่กลุ่มเมนูด้านล่างสุด (รูปที่ 1) คลิกเข้าไปที่ลิงค์ "Earnings"

หน้า "Earnings" นี้จะแสดงข้อมูลประกอบด้วย ยอดดาวน์โหลดประจำวัน (Today's Earnings) สรุปยอดดาวน์โหลดในแต่ละเดือน (Monthly Earnings) สรุปยอดดาวน์โหลดรวมทั้งหมด (Total) แล้วด้านล้างสุดก็จะสรุปยอดเงินที่โอนให้ช่างภาพไปแล้ว (Payment received from 123RF) และยอดเงินที่ยังไม่ได้โอน (Earnings Balance)

รูปที่ 2 - หน้า Earnings เพื่อดูรายได้จากการขายภาพ

โดยรูปที่นำมาแสดงผมได้ย่อลงจะแสดงเฉพาะข้อมูลเท่าที่จำเป็นน่ะครับ และได้ปิดข้อมูลบางส่วนเอาไว้ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เกิดจิตนาการครับ 555+

โดยเว็บ 123RF จะไม่มีส่วนที่ต้องเข้าไปกรอกข้อมูลภาษีน่ะครับ (ถือว่าดีแล้ว) รายได้ที่หามาก็ได้เราเต็มๆ แล้วไม่ต้องไปจ่ายภาษีให้กับประเทศอื่น แต่ถ้าเป็นไปได้ ก็ควรเอามาคำนวณภาษีในประเทศไทยด้วยน่ะครับ :)

สำหรับข้อความด้านบนของหน้า "Earnings" ของผมจะมีข้อความ "Your contributor level : 2 | Past 12 Month Credits Total : 566" ซึ่งผมเพิ่งจะได้เลื่อนชั้นจาก ป.1 ขึ้น ป.2 ครับ โดยที่เว็บ 123RF มีการตั้งระดับของช่างภาพไว้ 10 ระดับ (รูปที่ 3) ยิ่งได้เลื่อนระดับสูงขึ้น ก็จะได้ค่า commission เยอะขึ้น โดยคิดจากยอดเครดิตสะสมในรอบ 12 เดือน ในส่วนนี้ผมยังงงๆ ในระบบเครดิตอยู่ ขอไปศึกษาเพิ่มก่อนว่าเค้าคิดกันยังไง

รูปที่ 3 - ตารางแสดงข้อมูล 123RF Commission Change

ถัดมา เราจะไปดูว่ารูปที่เราขายได้นั้น คือรูปอะไร โดยไปที่เมนูด้านล่างสุดเหมือนเคย แล้วเข้าไปที่ลิงค์ "Sell Images" ก็จะแสดงหน้าเว็บดังรูปที่ 4 แล้วก็เข้าไปที่หัวข้อ "Download" แสดงดังรูปที่ 5


รูปที่ 4 - หน้า Sell Images

รูปที่ 5 - หน้า Downloaded

หน้า "Downloaded" นี้จะแสดงรูปที่ถูกดาวน์โหลดไป โดยจะแสดงเดือนล่าสุดให้เห็น แต่ถ้าอยากย้อนกลับไปดูเดือนเก่าๆ ก็สามารถเลือกเปลี่ยนวันที่ได้ด้วย จากรูปเป็นข้อมูลบางส่วนของรูปถ่ายที่ผมขายได้ในเดือนธันวาคม 2555 ข้อมูลในส่วนนี้ก็เป็นแนวทางในการส่งรูปใหม่ๆ ไปขายครับ ยิ่งแนวรูปไหนขายดี เราก็เร่งถ่ายแนวนั้นส่งไปเพิ่ม

นอกจากนั้นก็ยังบอกด้วยว่ารูปที่ถูกดาวน์โหลดไปนั้น ลูกค้าซื้อไปแบบไหน (ในรายละเอียดความแต่ต่างในแต่ละแบบผมขอศึกษาให้ละเอียดก่อนจะนำมาเขียนอธิบายอีกทีน่ะครับ) เช่น "Sub" คือลูกค้าประเภท Subscription ซื้อรูปไป โดยช่างภาพจะได้ค่า commission น้อยสุดในประเภทนี้ และจะมีค่า commission เพิ่มขึ้นในประเภทอื่นๆ

สำหรับหน้า "Sell Images" (รูปที่ 4) ถือเป็นหน้าหลักของช่างภาพเลยครับ นอกจากมีลิงค์ "Earnings" และ "Downloads" ดังที่กล่าวไปแล้ว ก็ยังมีหัวข้ออื่นๆอีก เช่น
- "My Account" เป็นหน้าบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัวของช่างภาพ (ดูใน Part 2)
- "Profile & Portfolio" เป็นหน้าแสดงข้อมูล portfolio ของช่่างภาพ (ดูใน Part 2)
- "Faved" เป็นการกำหนดภาพในแกลเลอรี่ของเราเพื่อผลในการค้นหาที่ดีขึ้น (ผมยังทดลองใช้งานอยู่ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเพิ่มผลการค้นหาอย่างไร)
- "Donate" เป็นส่วนที่เอาไว้ระบุภาพที่จะให้ดาวน์โหลดฟรี 30 วัน เอาไว้โปรโมทผลงานของเรา
- "Releases" เป็นหน้าสำหรับจัดการเอกสาร model release และ property release
- "FAQ" เป็นส่วนของถาม-ตอบ ในประเด็นที่ถูกถามมาบ่อยๆ
- "Blog" เป็นข้อมูลบล็อกของทางเว็บ 123RF เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ

และอีกส่วนคือ "History" (รูปที่ 6) เป็นหน้าสรุปผลการอัพโหลดไฟล์ประจำเดือน โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ไฟล์ภาพถ่ายปกติ ไฟล์ภาพแบบ Editorial และไฟล์วิดีโอ หน้านี้เอาไว้บอกผลสรุปการตรวจภาพที่เราส่งไปและยังสรุปสถิติรวมทั้งหมดเอาไว้ด้านล่างสุด นอกจากนี้ยังสามารถดูข้อมูล ftp ได้ด้วย โดยเข้าไปดูได้ที่หัวข้อ "click here to process uploaded files."


รูปที่ 6 - หน้า My Upload History

พอเราขายรูปไปซักระยะหนึ่ง เมื่อสะสมยอดรายได้ถึงเกณฑ์ที่เราได้กำหนดไว้ นั่นคือ 50$ (USD) ทางเว็บ 123RF จะส่งเงินให้เราผ่านทาง PayPal ในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปแบบอัตโนมัติเลยครับ ซึ่งจะมีอีเมล์ส่งมาบอกเราด้วย ดังตัวอย่างด้านล่างครับ


รูปที่ 7 - อีเมล์แจ้งการโอนเงินของ 123RF


รูปที่ 8 - รายการเงินเข้าในเว็บ PayPal

มาถึงจุดนี้ ผมก็หมดวิชาที่จะถ่ายทอดแล้วครับ 555+ หวังว่าข้อมูลทั้ง 3 ตอนคงพอเป็นแนวทางให้กับช่างภาพท่านอื่นๆได้น่ะครับ แล้วบล็อกหน้าเตรียมพบกับการสมัครขายรูปที่เว็บ Dreamstime ครับผม...

สวัสดีปีใหม่ 2556 ครับ ^^

Monday, December 10, 2012

การสมัครขายภาพออนไลน์ที่ 123RF (Part 2)

ผมห่างหายจากการอัพเดทบล็อกไปเป็นเดือนเลย ช่วงนี้เริ่มพอมีเวลาแล้วครับ จะลุยเขียนบล็อกให้เต็มที่เลย ต้องอัพเดทบล็อกกันหน่อย เดี๋ยวแฟนๆ ของบล็อกนี้หนีหายกันหมด 555+

หลังจากที่ได้ผ่านการลงทะเบียนในบล็อกที่แล้ว "การสมัครขายภาพออนไลน์ที่ 123RF - Part 1" เราก็มี Username และ Password เอาไว้เข้าสู่ระบบจัดการของเว็บ 123RF เรียบร้อยแล้ว ในบล็อกนี้ก็จะพูดถึงขั้นตอนการแก้ไขข้อมูลส่วนตัว การส่งข้อมูล หนังสือเดินทาง (Passport) และการส่งรูปขึ้นไปขายออนไลน์ครับ

รูปที่ 1 - หน้า Login
 
เมื่อ Login เข้าระบบแล้วก็จะเข้าสู่หน้า "My Account" ซึ่งหน้าตาของหน้าเว็บได้มีการปรับเปลี่ยนไปเล็กน้อยจากเมื่อเดือนที่แล้วครับ ดังรูปที่ 2 และเมนูด้านบนก็ปรับหน้าตาใหม่ ดังรูปที่ 3
 
รูปที่ 2 - หน้า My Account แบบใหม่


รูปที่ 3 - เมนูทางด้านขวาบนแบบใหม่

ก่อนจะไปส่งรูปขายออนไลน์ เรามาเริ่มโดยการใส่รูปโปรไฟล์ของเรากันก่อน (เพื่อแสดงตัวเราให้โลกรู้ 55) โดยกดเข้าไปที่ลิงค์ "Update Your Profile" ก็จะเข้าสู่หน้า "Account Settings" แล้วกด Edit ในส่วน Profile Photo ดังรูปที่ 4

รูปที่ 4 - หน้า My Profile เพื่อใส่รูปโปรไฟล์

รูปโปรไฟล์ที่จะใส่ต้องเป็นไฟล์ JPEG (*.jpg) เท่านั้นน่ะครับ และมีขนาดไม่เกิน 48x48 pixels แต่ถ้าอัพโหลดรูปที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ไป อย่ากังวล เดี๋ยวทางเว็บจะปรับขนาดให้ (แปลกันโต้งๆเลยผม 555+) นอกจากนั้นถ้าท่านต้องการเปลี่ยนรหัสผ่านก็สามารถคลิ๊กลิงค์ Edit ในส่วน Password ได้เลยครับ (รูปที่ 5)


รูปที่ 5 - หน้า My Profile เพื่อเปลี่ยนรหัสผ่าน

จากนั้นเราก็ไปดำเนินการส่งเอกสารยืนยันตัวตนกันต่อเลยครับ ซึ่งทางเว็บ 123RF กำหนดเอกสารที่สามารถส่งไปยืนยันตัวตนดังนี้

 - Driver's licenses
 - Passports
 - Identity cards
 - Any Government Issued Identification papers with your Name and Date of birth.

สำหรับผมแล้วก็แนะนำให้ใช้ Passport จะดีกว่า หรือถ้าท่านใดมีเอกสารอื่นอยากลองส่งดูก็ได้น่ะครับ เช่น ใบขับขี่สากล หรือบัตรประชาชน ถ้าเอกสารไหนไม่ผ่านการพิจารณาทาง 123RF ก็จะแจ้งกลับมาให้ส่งใหม่ครับ ^^

การยื่นเอกสารยืนยันตัว ให้คลิ๊กที่ลิงค์ "Update Your Profile" เพื่อเข้าไปที่หน้า "My Profile" จากนั้นก็ให้เลือกหัวข้อ "Personal Information" แล้วจะเห็นหัวข้อ "Photographer Details (Photographers only)" แล้วให้คลิ๊ก Edit เพื่อเข้าสู่การแก้ไขข้อมูล (รูปที่ 6)


รูปที่ 6 - หน้า My Profile ในส่วน Photographer Details (Photographers only)

ในหน้านี้ (รูปที่ 6) จะสามารถแก้ไขช่องทางการจ่ายเงินให้กับช่างภาพและแก้ไขยอดรายได้เมื่อเราทำเงินถึงเป้านี้แล้วทางเว็บ 123RF ก็จะโอนให้ช่างภาพต่อไป แต่เราเข้ามาหน้านี้เพื่อส่งเอกสารยืนยันตัวเองกันก่อน โดยลิงค์เข้าไปตามหัวข้อนี้ "You have submitted your ID for payment verification. To resubmit, click here." (ถ้าเป็นการส่งเอกสารครั้งแรกจะมีข้อความแจ้งอีกแบบน่ะครับ) ก็จะเข้าสู่หน้าอัพโหลดเอกสาร (รูปที่ 7)

รูปที่ 7 - หน้า Upload ID

รูปของเอกสารที่จะส่งไป สามารถใช้กล้องถ่ายภาพถ่ายรูปของเอกสาร เช่น ถ้าเป็นหนังสือเดินทางก็ถ่ายหน้าที่มีรูปเราอยู่ หรือจะใช้วิธีสแกนก็ได้ (ต้องเป็นไฟล์ JPEG) ขนาดไฟล์ก็ไม่ต้องละเอียดอะไรมากมาย เอาพอให้เจ้าหน้าที่ 123RF เห็นรูป และดูชื่อจริง วันเกิด ของเราได้ก็พอครับ (ของผมส่งไปขนาด 1500x1000 pixels)

Note: ในส่วนการส่งเอกสารยืนยันตัวตนสามารถข้ามไปก่อนได้ แล้วค่อยย้อนกลับมาทำทีหลังก็ได้ครับ

เมื่อส่งรูปไปเสร็จแล้ว ก็ปล่อยทิ้งไว้ได้เลย เดี๋ยวทางเว็บก็จะแจ้งมาเองว่าผ่านหรือไม่ผ่าน สำหรับเราแล้วก็ดำเนินการส่งรูปไปสอบก่อนได้เลยครับ ก่อนจะไปส่งรูปขาย ในส่วนหน้า "My Profile" ก็จะมีอีกส่วนคือ "Personal Information" เอาไว้สำหรับแก้ไขข้อมูลของเราเอง เผื่อว่ามีการเปลี่ยนที่อยู่ เปลี่ยนชือ ก็สามารถเข้ามาแก้ไขได้ในส่วนนี้ครับ (รูปที่ 8)

รูปที่ 8 - หน้า My Profile ในส่วน Personal Information

ถัดมาก็มาถึงเวลาส่งรูปไปขายแล้วหล่ะครับ สำหรับท่านที่กำลังส่งรูปขายครั้งแรกคงตื่นเต้นไม่น้อย (เหมือนผมในช่วงแรกๆเลย 55) ดังนั้นผมจะพาท่านไปรออยู่ที่หน้าส่งรูปขายกันก่อนน่ะครับ แล้วค่อยมาบอกรายละเอียด :D

ให้เลื่อนหน้าเว็บของ 123RF ลงไปด้านล่างสุดน่ะครับ จะเจอกลุ่มลิงค์มากมายให้สังเกตุหัวข้อ "For Photographers" ดังรูปที่ 9


รูปที่ 9 - กลุ่มลิงค์สำหรับช่างภาพโดยเฉพาะ

เรากำลังจะเริ่มส่งรูปขาย ก็เริ่มด้วยลิงค์ Upload ก่อนเลยครับ (ลิงค์อื่นๆค่อยกลับมาอธิบายทีหลัง) แล้วก็จะเข้าสูหน้า "Upload" (รูปที่ 10)

รูปที่ 10 - หน้า Upload

Note: แต่สำหรับช่างภาพที่กำลังจะส่งขายภาพครั้งแรก อาจจะมีหน้าเว็บแสดงผลต่างจากของผมไปหน่อยน่ะครับ โดยอาจจะมีหน้า "123RF.com Content Contributor Agreement" ขึ้นมาให้อ่านเพื่อทำความเข้าใจกันก่อน ซึ่งผมเองก็ไม่ได้ capture หน้านั้นเก็บไว้ครับ เลยไม่มีมาแสดงให้ดู และอีกอย่างนึง เว็บไมโครสต๊อกเกือบทุกเว็บก็จะมีการปรับเปลี่ยนหน้าตาเว็บอยู่เรื่อยๆ ดังนั้นบางเว็บผมอุตส่าห์ capture หน้านั้นไว้ เมื่อเวลาผ่านไป หน้าเว็บนั้นก็ถูกเปลี่ยนไป ผมก็เลยไม่สามารถเอาหน้านั้นมาเป็นตัวอย่างได้ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับผม ^^

สำหรับในหน้า "Upload" นี้ จะมีให้เลือกก่อนว่าเราจะส่งอะไรไปขาย ก็จะมีส่งรูปถ่าย (Photos) ส่งภาพเวกเตอร์ (Illustrations) ส่งภาพแนวภาพข่าว (Editorial) และส่งวิดีโอ (Footage) ซึ่งการส่งวิดีโอขายที่เว็บ 123RF นี้ ก็เพิ่งจะมีเพิ่มเข้ามาไม่กี่เดือนนี่เอง ทำให้หนังสือที่เขียนเกี่ยวกับไมโครสต๊อกที่ออกก่อนหน้านี้ แทบจะอัพเดทไม่ทันความเปลี่ยนแปลงนี้ ดังนั้นท่านใดเวลาเข้าเว็บตามคำแนะนำในหนังสือหรือในเว็บผมแล้วมันไม่เหมือนกับที่เขียนไว้บ้าง ก็ไม่ต้องแปลกใจน่ะครับ (ออกตัวไว้ก่อนที่จะโดนบ่น 555+)

เราก็เลือก Photos (JPG) แล้วก็กดปุ่ม "Continue >>" แล้วก็จะเข้าไปสู่หน้า "Upload - Stock Photo" เพื่อที่จะเลือกวิธีการอัพโหลดรูปขึ้นเว็บ 123RF (รูปที่ 11) สำหรับการส่งรูปครั้งแรก ผมก็แนะนำแบบ Web Form Uploader จะง่ายดีครับ (ผมเองก็ใช้วิธีนี้เป็นหลัก)


รูปที่ 11 - หน้า Upload - Stock Photo เพื่อเลือกวิธีการอัพโหลด

เมื่อกดเลือก Web Form Uploader ไปแล้ว บางครั้งอาจจะมีหน้านึงแสดงขึ้นมา โดยให้เรากรอกรหัส 6 หลักก่อน เราก็กรอกรหัสที่เห็นนั้นแล้วก็กด Submit จากนั้นก็จะเข้าสู่หน้า "Upload - Stock Photo" (รูปที่ 13) เพื่อเลือกไฟล์รูปแล้วส่งขึ้นเว็บ 123RF ต่อไป

รูปที่ 12 - หน้าให้กรอกรหัส 6 หลัก

รูปที่ 13 - หน้า Upload - Stock Photo เพื่อเลือกไฟล์รูป

มาถึงขั้นนี้ ท่านผู้อ่านที่มีความประสงค์ขายรูปออนไลน์ คงมีรูปพร้อมส่งขายแล้วใช่มั้ยครับ? แต่ถ้ายังไม่ได้เลือกเอาไว้ก่อน ทางเว็บ 123RF ก็ยังมีแนวทางการเตรียมรูปสำหรับเว็บนี้ดังนี้ครับ

 - รูปภาพ ต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 6 ล้านพิกเซล โดยดูตามขนาด "กว้างxสูง" ของรูป แล้วเมื่อนำสองค่ามาคูณกันแล้ว ก็ต้องมีค่ามากว่า 6 ล้าน เช่น ขนาดของรูป กว้าง 3,072 พิกเซล สูง 2,048 พิกเซล คูณแล้วคือ 6,291,456 ก็เกิน 6 ล้านพิกเซล รูปนี้ก็ผ่านเกณฑ์ของหัวข้อนี้ครับ
 - รูปภาพ ต้องเป็นไฟล์ JPEG เท่านั้นและกำหนดการบีบอัดขนาดรูปไม่ต่ำกว่า 80% (รูปผมส่วนใหญ่กำหนดบีบอัดไว้ 100% เสมอครับ)
 - รูปภาพ ต้องไม่มีชื่อบริษัท ชื่อสินค้า วันที่ ยี่ห้อหรือโลโก้ต่างๆ
 - รูปภาพ ต้องมีขนาดไฟล์ไม่เกิน 20MB
 - ต้องไม่ใส่ชื่อเฉพาะที่มีลิขสิทธิ์ลงใน Keyword (หัวข้อนี้ผมยังไม่ค่อยเคลียร์แต่คิดว่าคงคำประมาณ doraemon อะไรทำนองนี้)

แนวทางนี่เป็นแค่กฎเกณฑ์พื้นฐานน่ะครับ ท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในหัวข้อ "การเตรียมตัวสำหรับส่งรูปขายออนไลน์ Part 1", "การเตรียมตัวสำหรับส่งรูปขายออนไลน์ Part 2" และ "การใส่ข้อมูล Title, Description และ Keywords ลงในภาพถ่าย"

เมื่อรูปถ่ายพร้อมแล้ว และถ้าให้ดีก็ควรใส่ Title, Description และ Keywords ลงในภาพให้เรียบร้อยก่อนน่ะครับ (ถ้ายังไม่ได้ใส่ ก็สามารถไปใส่รายละเอียดพวกนี้ได้อีกทีหลังจากอัพโหลดรูปขึ้นเว็บไปแล้ว)

ปกติเว็บ 123RF จะมีช่องให้เลือกไฟล์ภาพได้ครั้งละ 3 ภาพ แต่ท่านใดอยากส่งมากกว่านี้ ก็เลือกจำนวนรูปที่จะอัพโหลดได้น่ะครับ (สูงสุดต่อรอบคือ 10 รูป) แล้วก็ไปคลิ๊กเลือกตรงช่อง "I hereby warrant that the photos / illustrations that I am submitting to be sold under Commercial Royalty Free license..." เพื่อยินยอมการส่งรูปไปขายในเงื่อนไขที่เว็บ 123RF กำหนด

สำหรับอีกช่องด้านล่างสุดคือ "If my submissions are unfit for RF, I agree to allow them to be accepted into the Editorial Section provided they are deemed to be newsworthy." ช่องนี้จะคลิ๊กเลือกหรือไม่เลือกก็ได้ครับ เท่าที่ผมอ่านแล้วเข้าใจเองน่ะ ประมาณว่าถ้าท่านคลิ๊กเลือกในหัวข้อด่านล่างอันนี้แล้ว จะเป็นการยินยอมว่าถ้ารูปภาพของเราไม่ผ่านการพิจารณา ทางเว็บ 123RF ก็จะนำภาพเราไปไว้ในส่วน Editorial แทน โดยบางเว็บกรณีนี้รูปของเรามีแสดงให้เห็นออนไลน์ก็จริง แต่เป็นภาพแนวแจกฟรีครับ เราก็ไม่มีรายได้ใดๆ จากรูปนั้น แต่ที่ 123RF นี้ผมไม่แน่ใจว่านำรูปไปแจกฟรีหรือเปล่า แต่จะเหมาะสำหรับการแนะนำตัวช่างภาพอีกแบบหนึ่งครับ ถึงแจกฟรี อย่างน้อยๆ ลูกค้าประเภทชอบของฟรีก็จะรู้จักผลงานของเรามากขึ้น และอาจติดใจผลงานกลับมาซื้อของไม่ฟรีของเราก็เป็นไปได้ (แต่ผมไม่คลิ๊กเลือกน่ะ 555+)

รูปที่ 14 - หน้า Upload Results

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ก็กด "Upload!" ได้เลยครับ แล้วก็นั่งรอไฟล์อัพโหลดในหน้านี้ไปอีกพักใหญ่ (ยิ่งเลือกส่ง 10 รูปก็ยิ่งรอนาน ^^) และเมื่ออัพโหลดเสร็จก็จะเข้าสู่หน้า "Upload Results" (รูปที่ 14) ซึ่งจะแสดงรูปภาพที่เราอัพโหลดขึ้นไปให้เห็น ถ้ารูปไหนไม่ผ่านเกณฑ์ทางเว็บก็จะแจ้งชื่อไฟล์ที่ error ให้ทราบ แต่ถ้ารูปไหนผ่าน หน้านี้ก็จะเป็นขั้นตอนการกรอกรายละเอียดของรูป ถ้าท่านใดยังไม่ได้ฝังรายละเอียดไว้ก่อน ขั้นตอนนี้ก็ต้องมีงานหนักรออยู่ครับ แต่ถ้าฝังข้อมูลลงในรูปมาแล้ว ก็สบายเลยครับ ก็แค่กด "Save" ผ่านขั้นตอนนี้ไปเลย


รูปที่ 15 - หน้า Uploaded Images

จากรูปที่ 15 เป็นหน้าสรุปรูปที่ถูกอัพโหลดไปแล้วประจำวัน โดยรูปที่รอการอนุมัติก็จะขึ้นสถานะว่า "Pending" แต่ถ้ารูปไหนไม่ผ่านการพิจารณา ก็จะแสดงคำว่า "Rejected" แล้วถ้ารูปไหนผ่านก็จะแสดงว่า "Accepted" ซึ่งรอซักครึ่งวันหรือหนึ่งวัน รูปที่อนุมัติแล้วถึงจะไปแสดงใน Portfolio ของเรา การไปดู Portfolio สามารถคลิ๊กดูได้ผ่านลิงค์ด้านล่างสุดของหน้าเว้บที่ชื่อ "Profile & Portfolio" ดูตัวอย่าง Portfolio ของผมดังรูป 16

รูปที่ 16 - หน้า Portfolio ของผม (foto76)

เว็บ 123RF ยังมีอีกหลายส่วนน่ะครับผมขออธิบายในโอกาสหน้าน่ะครับ สำหรับการแนะนำการสมัครขายรูปเบื้องต้นที่เว็บ 123RF ในสองตอนที่ผ่านมา คงพอเป็นแนวทางให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ช่างภาพที่อยากทดลองส่งรูปขายออนไลน์ไม่มากก็น้อยน่ะครับ ^^

*** ติดตามอ่านต่อ Part 3

Sunday, October 28, 2012

Green Forest Background, Nan

Canon EOS 5D Mark II + EF 50mm f/1.8 II + Tripod
1/20 sec, f7.1 at 50mm ISO 160

Date: October 28, 2012 (7:37 a.m.)
Place: ทริปล่องแก่งน้ำว้าตอนกลาง จ.น่าน (Namwa Rafting, Nan)

บรรยกาศใจกลางป่าของจังหวัดน่าน มีหมอกบางๆ ปกคลุ่มผืนป่าในยามเช้าตรู่ เป็นจุดที่ตั้งแคมป์พักแรมระหว่างทางการล่องแก่งน้ำว้าช่วงตอนกลาง ผมถ่ายโดยใช้ขาตั้งกล้องขนาดเล็ก ซึงได้พกติดเรือไปด้วย (ไม่สามารถขนขาตั้งขนาดใหญ่มาด้วยได้เพราะจะลำบากในการใส่เรือยาง) ผมมาที่นี่เป็นครั้งที่สองแล้ว โดยครั้งแรกสมัยเพิ่งเริ่มถ่ายรูปใหม่ๆ มีกล้อง SLR รุ่นเล็กติดตัวมาอย่างเดียว เห็นวิวสวยมากแต่ไม่มีขาตั้ง รูปเลยออกมาไม่ค่อยชัด พอมารอบนี้เลยจัดขาตั้งมาด้วยซ่ะเลย ^^

Thursday, October 18, 2012

Grains of Ripe Corn with Water Droplets

Canon EOS 5D Mark II + EF 100mm f/2.8 Macro USM + Tripod
0.4 sec, f8 at 100mm ISO 250

Date: October 18, 2012 (0:21 p.m.)
Place: Jatujak, Bangkok

ผมซื้อข้าวโพดสดมาสองฝักจากร้านสะดวกซื้อแถวบ้าน แน่นอนผมต้องถ่ายมันก่อนที่ผมจะกินแน่ แต่การถ่ายวันแรกได้ภาพมาไม่ค่อยสวยงาม ขาดซึ่งอารมณ์ความสด พอเข้าวันที่สองผมลองถ่ายใหม่อีกครั้ง คราวนี้มาพร้อมสเปรย์ละอองน้ำ เพื่อสร้างความสดชื่น แต่ด้วยผลข้าวโพดโดนทิ้งไว้นาน มันก็เริ่มจะเหี่ยวลงนิดหน่อย แต่ก็ยังพอให้ได้อารมณ์ความสดชื่นอยู่บ้างครับ ท่านใดอยากลองถ่ายแนวผลไม้ให้ได้อารมณ์ความสดชื่นละก็ สเปรย์ฉีดละอองน้ำจะช่วยได้จริงๆครับ

Thursday, October 11, 2012

Coffee Beans In a Cup

Canon EOS 5D Mark II + EF 100mm f/2.8 Macro USM + Tripod
1/60 sec, f4.5 at 100mm ISO 200

Date: October 11, 2012 (1:43 p.m.)
Place: Jatujak, Bangkok

เมล็ดกาแฟ Blue Mountain ถุงเดิม ที่ซื้อมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ซึ่งแน่นอนแก้วกาแฟใบนั้นก็ซื้อมาเพื่อถ่ายภาพโดยเฉพาะเช่นกัน 555+ พอได้ไปเจอรูปแนวกาแฟ จึงเกิดแรงกระตุ้นให้ลุกขึ้นมาถ่ายบ้าง ผมใช้แสงแดดสะท้อนจากระเบียงห้องด้านบน และใช้ยิงแฟลชใส่อีกด้านด้านล่าง ใช้ค่า f/4.5 ต่ำนิดนึงเพื่อให้ฉากหลังเบลอนิดหน่อยครับ และสิ่งนึงที่ทำให้การถ่ายเมล็ดกาแฟเพลินเสมอคือ กลิ่นกาแฟจะติดจมูกไปทั้งวันเลยครับ ไม่เชื่อลองดู :)

Tuesday, October 9, 2012

การใส่ข้อมูล Title, Description และ Keywords ลงในภาพถ่าย

ช่วงนี้พายุ "แกมี" เข้าไทย ทำให้หมดโอกาสออกไปเก็บภาพนอกสถานที่ ก็เลยตั้งหลักเขียนบล็อกดีกว่า ^^

บล็อกนี้จะพูดถึงการฝังข้อมูลรายละเอียดภาพเอาไว้ในภาพถ่ายของเรา ก่อนหน้านี้ผมเองก็ไม่เคยรู้มาก่อนเหมือนกันครับ เพิ่งมารู้เอาตอนที่ทำรูปส่งขายตามเว็บไมโครสต๊อกต่างๆ ซึ่งตอนนี้รูปหนึ่งรูป ผมอัพโหลดส่งไปขายสิบกว่าเว็บ ตอนแรกผมก็ต้องตามไปกรอกข้อมูล ชื่อภาพ(Title) รายละเอียด(Description) และคำหลัก(Keywords) ในทุกๆเว็บที่ส่งขาย แน่นอนครับ เสียเวลาและเหนื่อยใจมาก

พอมาทราบว่าสามารถฝังข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นลงไปได้ ทีนี้แหละ มันส์เลยครับพี่น้อง เพราะเราแค่ใส่ข้อมูลในภาพนั้นเพียงครั้งเดียว เราก็สามารถส่งภาพไปหลายๆเว็บ โดยไม่ต้องกรอกข้อมูลใหม่อีกต่อไป ข้อมูลที่เราได้ใส่ไว้นั้นก็จะถูกนำไปกรอกในแบบฟอร์มของเว็บไมโครสต๊อกต่างๆ อย่างอัตโนมัติเลยครับ... อั้ยย๊ะ

รูปที่ 1 - รูปตัวอย่าง

ก่อนอื่นขออ้างถึงหลักวิชาการนิดนึงครับ แบบว่าผมได้ไปค้นหาข้อมูลในเน็ตเพื่อมาเสริมประเด็นที่ผมจะอธิบายให้ดูน่าเชื่อถือมากขึ้นครับ 555+

"รูปถ่าย" ที่เราได้ถ่ายขึ้นจาก "กล้องดิจิตอล" ในทุกวันนี้ จะมีการเก็บข้อมูลเบื้องต้นของการตั้งค่าต่างๆของกล้องเอาไว้ในภาพนั้นเลย โดยเรียกข้อมูลชุดนี้ที่เก็บเอาไว้ว่า "EXIF" (บางที่อาจจะเรียกว่า EXIF Metadata) หรือย่อมาจาก "Exchangeable Image File Format"

จากรูปถ่ายแมงมุม จะมีข้อมูล EXIF ฝังอยู่ตั้งแต่ที่ผมได้ถ่ายรูป ดังรูปด้านล่างครับ (ผมดูผ่านโปรแกรม Photoshop CS5)

รูปที่ 2 - ข้อมูล EXIF ของรูปแมงมุม

ข้อมูลที่แสดง จะเห็นว่าจะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับการถ่ายภาพนั้นๆไว้ค่อนข้างครบถ้วนครับ ตั้งแต่ ใช้กล้องอะไร รุ่นไหน เลนส์อะไร ถ่ายวันเวลาไหน ตั้งความเร็วชัตเตอร์เท่าไหร่ ตั้งค่ารูรับแสงไว้เท่าไหร่ เป็นต้น

ข้อมูลส่วนนี้เป็นส่วนที่ดีมากสำหรับการนำไปวิเคราะห์การตั้งค่าการถ่ายภาพจากช่างภาพมืออาชีพ ผมเองก็ใช้การดูข้อมูล EXIF ตรงนี้ เพื่อพัฒนาฝีมือตัวเองอยู่เรื่อยๆครับ ช่างภาพท่านใดสนใจนำเทคนิคนี้ไปใช้ก็ได้น่ะครับ ^^

ข้อมูล EXIF นี้จะอยู่กับรูปถ่ายตั้งแต่ที่เรากดชัตเตอร์ถ่ายภาพ แต่อาจจะถูกลบทิ้งในภายหลังได้ด้วย ดังนั้นถ้าไปดูข้อมูลภาพนี้แล้วไม่เจอแสดงว่าโดนลบทิ้งไปแล้วครับ ส่วนรายละเอียดเจาะลึกในเรื่องนี้ ผมขอไปหาข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนจะมาเล่าสู่กันฟังให้ละเอียดอีกทีครับ

ศัพท์วิชาการตัวถัดไปคือ "IPTC" หรือ "IPTC Metadata" ย่อมาจาก "International Press Telecommunications Council Metadata" เป็นข้อมูลอีกชุดหนึ่ง (แยกออกจาก EXIF) เพื่อเอาไว้อธิบายรูปภาพ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ภาพที่ถ่ายจากกล้องดิจิตอลเสมอไป อาจจะเป็นภาพที่ถูกสร้างจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็ได้ครับ

"IPTC" ก็เป็นชื่อของ "คณะกรรมการสภาสื่อโทรคมนาคมนานาชาติ" ซึ่งได้กำหนดการตั้งค่าเหล่านี้ลงในภาพเพื่อที่จะได้เป็นมาตราฐานเดียวกันในวงการสื่อ และใช้ประโยชน์เพื่อการสืบค้นด้วย โดยข้อมูลในส่วนนี้ประกอบด้วย ชื่อภาพ, รายละเอียดภาพ, คีย์เวิร์ด (Keyword), เจ้าของภาพ, ลิขสิทธิ์ของภาพ เป็นต้น

และแน่นอนครับ ส่วนที่เราจะสนใจเพื่อนำมาใช้สำหรับการใส่รายละเอียดภาพ ก็คือส่วนนี้นี้เอง ดังนั้นถ้าท่านมีภาพถ่าย(หรือภาพที่สร้างจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่นๆ) ที่อยากจะส่งขายออนไลน์ ยกตัวอย่างรูปแมงมุมด้านบนน่ะครับ โดยผมจะใส่ข้อมูลดังนี้เข้าไป

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
Title: Cane Spider


Description: Cane spider on green background

Keywords: asia, animal, biology, bite, black, bug, cane, close, close up, dangerous, eight, eyes, fauna, hairy, huge, insect, legs, macro, monster, natural, nature, spider, spot, tan, ugly, wild, wildlife, thailand, studio, brown, green
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -


รูปที่ 3 - เมนูใน Photoshop CS5 สำหรับเข้าไปใส่ข้อมูลภาพ

ผมก็ได้เปิดภาพแมงมุมในโปรแกรม Photoshop CS5 แล้ว ก็เข้าไปที่เมนู "File -> File Info..." ก็จะได้หน้าต่างกรอกข้อมูลดังรูปที่ 4

รูปที่ 4 - การกรอกข้อมูลภาพใน Photoshop CS5

จากนั้นก็กรอกข้อมูลที่เราเตรียมไว้แล้วลงไปในช่อง Document Title, Description และ Keywords ได้เลย ส่วนในช่องอื่นๆ จะกรอกหรือไม่กรอกก็ได้ครับ เพราะเว็บไมโครสต๊อกต่างๆ สนใจนำข้อมูลภาพไปใช้ก็ 3 หัวข้อนี้แหละครับ

เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยก็กด "OK" ได้เลย และอย่าลืมกดบันทึกภาพนั้นอีกครับ "File -> Save" ด้วยน่ะครับ

ที่จริงการใส่ข้อมูลภาพนั้นก็สามารถทำได้ผ่านหลายโปรแกรมน่ะครับ แล้วแต่ว่าท่านใดใช้โปรแกรมอะไรอยู่ ก็ลองหาตามเมนูของโปรแกรมเหล่านั้นดูน่ะครับ

เมื่อเราฝังข้อมูลภาพลงไปในภาพถ่ายเรียบร้อยแล้ว ทีนี้จะส่งรูปนี้ไปไมโครสต๊อกอีก 10 เว็บ ก็จะสบายมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องไปกรอกข้อมูลภาพใหม่ทุกครั้ง... แล้วเจอกันบล็อกหน้าครับ ^^

Wednesday, October 3, 2012

Downtown Lighning Strike, Bangkok

Canon EOS 5D Mark II + EF 50mm f/1.8 II + Tripod
6.0 sec, f4.5 at 50mm ISO 100
Date: October 3, 2012 (7:52 p.m.)
Place: เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (Jatujak, Bangkok)

ช่วงต้นเดือนตุลาคม ที่กรุงเทพฯ ฝนตกเกือบทุกวันในช่วงเย็น นานเป็นสัปดาห์ บางวันก็มีทั้งฟ้าและฝน ผมเลยอยากลองถ่ายภาพสายฟ้าผ่าดูว่าจะเก็บภาพถ่ายได้หรือเปล่า ผมลองพยายามในสองวันแรกก็ไม่สำเร็จ มาได้ภาพเอาในเย็นวันที่สาม ผมพักอยู่ในตึกชั้นที่ 5 ทำให้ระดับที่พอจะเห็นหลังคาหมู่บ้านใกล้ๆด้วย เพื่อจัดองค์ประกอบให้สมบูรณ์ และก็สังเกตก้อนเมฆที่กำลังจะมีสายฟ้า จากนั้นก็จัดองค์ประกอบภาพแล้วกดถ่ายไปเรื่อยๆ ครั้งนึงก็เปิดหน้ากล้องประมาณ 6-8 วินาที ถ่ายไปกว่า 50 รูป ติดรูปสายฟ้าอยู่ประมาณ 6-7 รูป ซึ่งถือว่า พอใจอย่างยิ่งครับ

Monday, September 24, 2012

การสมัครขายภาพออนไลน์ที่ 123RF (Part 1)

เว็บแรกที่ผมอยากจะแนะนำสำหรับช่างภาพที่กำลังจะเริ่มต้นลองขายรูปถ่ายออนไลน์ ก็คือเว็บไมโครสต๊อก 123RF เว็บนี้จะไม่มีการสอบใดๆ เพียงแค่ลงทะเบียน (Sign Up) เสร็จแล้วก็สามารถส่งรูปขายได้เลยครับ

รูปที่ 1 - 123RF Homepage

เว็บไมโครสต๊อก 123RF จัดได้ว่าอยู่ในอันดับต้นๆ ของวงการเลยครับ ผมลองเปรียบเทียบความนิยมผ่าน Google Trends โดยเทียบกับเว็บไมโครสต๊อกชั้นแนวหน้าอื่นดู ผลที่ได้ 123RF (เส้นกราฟสีฟ้า) มีความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังรูปด้านล่างครับ

รูปที่ 2 - Google Trends

ปัจจุบันเว็บ 123RF มีรูปขายออนไลน์อยู่ที่ 15.3 ล้านรูป (24 ก.ย. 2555) ประกอบด้วยภาพถ่าย(Photos) ภาพเวกเตอร์(Vectors) และวิดีโอ(Footage) เว็บสามารถรองรับการแสดงผลได้ 12 ภาษาหลัก ได้แก่ ภาษาอังกฤษ, ภาษาเยอรมัน, ภาษาสเปน, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาอิตาลี, ภาษาจีนกลาง, ภาษาจีนแบบดั่งเดิม (มีใช้ในฮ่องกงและไต้หวัน), ภาษาดัตช์, ภาษาเช็ก, ภาษาโปแลนด์, ภาษารัสเซีย, ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเกาหลี สำหรับประเทศที่เข้าใช้งานเว็บ 123RF มากสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, เยอรมัน, อินเดีย, อิตาลี, เม็กซิโก, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, สเปน, โปแลนด์และญี่ปุ่น

จากจำนวนภาษาที่มีให้บริการในเว็บ 123RF จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้ใช้งานหลักๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งผู้ซื้อและผู้ขายภาพ รวมถึงสถิติประเทศที่เข้าใช้งานมากสุด (ข้อมูลนำมาจาก Google Trends) ก็เป็นตัวบอกกลุ่มประเทศที่ใช้งานเว็บหลักๆครับ

เกริ่นข้อมูลเบื้องต้นของ 123RF ไปนิดหน่อย ก็มาสู่ขั้นตอนการสมัครขายภาพกันเลย เมื่อเข้าสู่หน้าแรกของเว็บ 123RF แล้ว สมัครโดยไปที่ปุ่ม "Sign Up" ที่อยู่ด้านบนขวาสุดของหน้าแรก 123RF จะปรากฎหน้าจอสมัครดังรูปที่ 3 ซึ่งปกติจะหมายถึงการสมัครไปเป็น "ผู้ซื้อภาพ" (Sign-up as member) แต่ถ้าเราต้องการสมัครเพื่อเป็น "ผู้ขายภาพ" (Sign-up as 123rf photographer/contributor) ก็ต้องติ๊กเลือกเพื่อสมัครเป็นผู้ขายภาพ (ดูตามหมายเลข 9 ในรูปที่ 4)

รูปที่ 3 - สมัครซื้อภาพหรือโหลดภาพฟรี

ดังนั้นถ้าท่านต้องการสมัครเพื่อเป็นสมาชิก 123RF ในการซื้อภาพหรือโหลดภาพฟรี(ในส่วนที่แบ่งปันให้นำไปใช้กันฟรี) ก็แค่กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน (ดูตัวอย่างในรูปที่ 3) และจะต้องกรอกข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้นน่ะครับ แล้วไม่เลือกหัวข้อ "Sign-up as 123rf photographer/contributor" จากนั้นก็กดปุ่ม "Register Now" ได้เลยครับ

รูปที่ 4 - สมัครขายภาพกับเว็บ 123RF

สำหรับรายละเอียดการกรอกข้อมูลในส่วนรูปที่ 4 ผมได้กำหนดตัวเลขกำกับในแต่ละจุดเอาไว้ด้วย เพื่อความชัดเจนในการอธิบายครับ

*** ข้อมูลทั้งหมดต้องกรอกเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้นน่ะครับ :)

1. Username

ชื่อ Username เอาไว้กรอกตอน Login เข้าสู่เว็บ 123RF และอีกจุดประสงค์ คือนำไปเป็นชื่อส่วนหนึ่งของ URL Portfolio ของเราเอง เช่น ผมตั้ง Username เป็น "foto76" ดังนั้น URL ผลงานรูปถ่ายทั้งหมดของผมในเว็บ 123RF อยู่ที่ http://www.123rf.com/profile_foto76

ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าที่ซื้อรูปเราประจำ สามารถจำเราได้ง่ายและกลับมาซื้อรูปเราอีกในภายหลังครับ ดังนั้นชื่อ Username นี้ก็แนะนำตั้งให้สื่อความหมายที่ดีและชัดเจนจะดีมากครับ และยิ่งใช้ชื่อนี้ในทุกเว็บที่เราขายก็จะดี เผื่อลูกค้าชอบผลงานเรามากก็สามารถค้นชื่อนี้ในเว็บไมโครสต๊อคอื่นได้อีก

ผมเห็นหลายๆท่านตั้งเป็นชื่อหรือนามสกุลตัวเองไปเลยก็ดีน่ะครับ เป็นการสร้างชื่อให้กับตัวเองไปอีกทางหนึ่งด้วยครับ :)

2. Password

ให้กรอกรหัสผ่านในการเข้าสู่เว็บ 123RF ซึ่งด้านล่างของช่องกรอกจะเห็นว่าจะมีระดับคุณภาพของรหัสผ่านว่าดีหรือไม่ดี ดังนั้นก็แนะนำให้ให้รหัสผ่านแบบยากๆ นิดนึก (แต่เราเองต้องจำมันได้ด้วยน่ะ 555) เพื่อป้องกันคนอื่นมาแอบใช้งานเว็บแทนเรา ตามหลักการตั้งรหัสผ่านทั่วๆไปดังนี้ครับ

- ความยาวไม่ต่ำกว่า 8 ตัวอักษร
- ควรประกอบด้วยตัวอักษรทั้งตัวพิมพ์เล็ก(a-z) และตัวพิมพ์ใหญ่ (A-Z)
- ควรมีตัวเลขประกอบอยู่ด้วย (0-9)
- ควรมีสัญลักษณ์พิเศษประกอบอยู่ด้วย เช่น %, *, @ เป็นต้น

และเมื่อคิดรหัสผ่านแบบสุดล้ำแล้ว เมื่อกรอกลงในช่อง Password ถ้ามีแถบสีเขียวพร้อมข้อความว่า good ถือว่าดีมากครับ :)

3. Email Address

ใส่อีเมลแอดเดรสของเรา เอาไว้สำหรับ Login เข้าระบบและไว้ติดต่อกับเว็บกรณีแจ้งลืมรหัสผ่าน

4. First Name

ใส่ชื่อของเราเอง โดยไม่ต้องใส่คำนำหน้าชื่อน่ะครับ เช่นของผม "Jeeragone"

5. Last Name

ใส่นามสกุลครับ

6. Country

เลือกประเทศที่เราอาศัย แน่นอนต้อง "Thailand" ครับ :)

7. Sign Up for newsletter

เป็นช่องให้เลือกว่าต้องการรับจดหมายข่าวสารต่างๆ จากเว็บ 123RF หรือไม่ ถ้าต้องการก็ติ๊กเลือก สำหรับผมก็เลือกรับข่าวสาร ถึงแม้จะอ่านอังกฤษลำบากก็ตาม 555+

8. I have read and agreed to Privacy Policy and Terms of Use

ติ๊กเครื่องหมายถูก เพื่อยอมรับในนโยบายและเงื่อนไขของเว็บ 123RF ก็สามารถคลิกอ่านที่ Privacy Policy และ Terms of Use ให้ละเอียดได้ครับ (แน่นอนครับ ผมยังไม่ได้อ่านเลยซักนิด)

9. Sign-up as 123rf photographer/contributor

ในส่วนนี้ติ๊กทำเครื่องหมายถูก เพื่อที่จะสมัครเพื่อขายภาพ (จะปรากฏช่องให้กรอกข้อมูลเพิ่มเติมด้านล่าง) แต่ถ้าไม่ติ๊กก็เป็นการสมัครเพื่อซื้อภาพ

10. Company Name

ช่องชื่อบริษัทนี้ ไม่จำเป็นต้องกรอกก็ได้ครับ เพราะส่วนใหญ่ช่างภาพขายแบบส่วนตัว ไม่ได้ขายในนามบริษัท แต่ถ้ามาขายในนามบริษัทก็ควรกรอกชื่อบริษัทไว้ครับ

11. Street

กรอกบ้านเลขที่ ชื่อถนนและชื่อแขวง สำหรับในกรุงเทพ ถ้าเป็นต่างจังหวัดก็เป็นบ้านเลขที่ หมู่บ้าน และตำบล

12. City

กรอกชื่อเขตในกรุงเทพฯ หรือชื่ออำเภอ

13. State

กรอกชื่อจังหวัด

14. Zip/Postal code

กรอกรหัสไปรษณีย์ของไทย 5 หลักครับ

15. Phone No

กรอกเบอร์โทรศัพท์ โดยให้นำหน้าด้วยรหัสของประเทศไทยด้วย คือ "66" เช่น หมายเลขมือถือ 081xxxxxxx ก็ให้กรอกเป็น "6681xxxxxxx" หรือเบอร์โทรศัพท์ตามบ้าน เช่น 02xxxxxxx กรอกเป็น "662xxxxxxx"

16. How did you hear about us?

ช่องนี้ให้เลือกว่าเรารับทราบหรือรับรู้เกี่ยวกับเว็บ 123RF มาจากที่ไหน ก็เลือกตามอัธยาศัยเลยครับ ทางเว็บเค้าจะได้นำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อทำการตลาดต่อไปครับ

17. Other details

ช่องนี้เค้าให้กรอกรายละเอียดเพิ่มเติมกรณีที่เราเลือกข้อ 16 ว่า Others แต่เราไม่จำเป็นต้องกรอกก็ได้ครับ

18. How we pay you?

เป็นหัวข้อสำคัญสำหรับเป้าหมายช่างภาพทุกท่าน นั่นคือเมื่อขายภาพแล้วพอได้เงินมาจะให้ทางเว็บ 123RF จ่ายคืนท่านในช่องทางไหน โดยมีให้เลือกอยู่ 3 ช่องทาง คือ

  - PayPal
  - Moneybookers
  - Check หรือ Cheque คำที่คนไทยคุ้นกว่า

แน่นอนครับ ผมแนะนำเป็น "PayPal" จะสะดวกกว่ามากครับ แต่ถ้าท่านใดสะดวกจะรับเป็น "Check" ก็ไม่แปลกครับ เพราะรูปแบบการหารายได้ผ่านเน็ตอย่างเช่น Google Adsense ก็จ่ายผ่าน "Check" เช่นกัน เห็นคนไทยทำกันเยอะเหมือนกันครับ เพราะไม่ต้องไปสมัครบัญชี PayPal ให้ยุ่งยาก

19. PayPal or Moneybookers Email Address

ในกรณีที่เลือกว่าท่านต้องการรับเงินผ่าน "PayPal" หรือ "Moneybookers" ท่านจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกรอก "Email Address" ที่ท่านได้ไปสมัครไว้กับ PayPal หรือ Moneybookers ครับ กรอกระวังๆ อย่าให้ผิดน่ะครับ ถ้ากรอกผิด เงินก็จะโอนมาไม่ถึงเราน่ะครับ 555+

20. Preferred payment limit

เป็นช่องให้เลือกว่าจะตั้งจำนวนเงินรายได้ขั้นต่ำเท่าไหร่ที่จะให้ทางเว็บโอนเงินให้ เริ่มต้นควรเลือกเป็น "USD $50" ก่อนครับ

21. Notify me whenever my images are reviewed

ติ๊กถูกในช่องด้านหน้า ถ้าต้องการให้ทางเว็บ 123RF แจ้งผลการตรวจภาพ ถ้าไม่ต้องการก็ไม่ต้องติ๊กครับ

22. Include my portfolio under the Extended License sale terms

ถ้าต้องการขายภาพในแบบ "Extended License" ก็ให้ติ๊กถูกด้านหน้า โดยปกติแล้วก็ติ๊กถูกไว้เลยก็ดีน่ะครับ เพราะการขายภาพแบบ Extended License ก็เป็นแบบที่ทำเงินให้กับช่างภาพได้มากกว่า License ปกติ

23. Register Now

จากนั้นถ้ากรอกข้อมูลครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ก็กดปุ่ม "Register Now" เพื่อลงทะเบียนได้ครับ :)

เมื่อส่งข้อมูลการลงทะเบียนไปแล้ว ถ้าไม่ติดปัญหาอะไรก็ ทางเว็บ 123rf ก็จะส่งอีเมลมาให้เราเพื่อยืนยันการลงทะเบียน โดยในอีเมลจะมีลิงค์ ให้เราคลิ๊กเพื่อเข้าสู่หน้าเว็บยืนยันตัวตน โดยให้เรากรอก "Registration Code" ซึ่งก็คือรหัสที่ได้แนบมาในอีเมลนั่นเองครับ (ต้องขออภัยในส่วนนี้ผมไม่มีภาพประกอบ)

มาถึงจุดนี้ ก็ถือว่าเราได้สมัครขายรูปที่เว็บไซต์ 123RF สำเร็จแล้ว และที่เหลือก็เป็นการส่งรูปไปให้ผู้ตรวจพิจารณาได้เลย และระหว่างรอผลการตรวจ ก็ถ่ายรูปหน้า Passport หรือ Scan ก็ได้ให้เป็นไฟล์ภาพ แล้วก็อัพโหลดส่งไปเพื่อยืนยันตัวตนครับ

เพื่อทดสอบการเข้าใช้งานเว็บ 123RF ก็ลอง Login เข้าระบบดูโดยใช้ Username(หรือ Email Address) และ Password ที่ได้ลงทะเบียนไว้ได้เลยครับ โดยปุ่ม Login จะอยู่ทางขวามือบนสุดของหน้าเว็บ (ใกล้ๆปุ่ม Sign Up) แล้วจะเข้าสู่หน้า Login ดังรูปที่ 5

รูปที่ 5 - หน้า Login

เมื่อ Login เสร็จแล้วก็จะเข้าสู่หน้า "Welcome!" ของเว็บ 123RF ซึ่งหน้านี้จำเป็นต้องกรอกรหัส 6 หลักที่แสดงให้เห็น จากนั้นก็กดปุ่ม Submit เพื่อเข้าสู่หน้าถัดไป

รูปที่ 6 - หน้า Welcome! และการกรอกรหัส 6 หลักเพื่อความปลอดภัย


จากนั้นการ Login ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยสังเกตที่แถบเมนูด้านบนสุดของเว็บจะแสดงข้อความ "Welcome, foto76" ดังรูปที่ 7

รูปที่ 7 - เมนูด้านบนสุด

หรือถ้าเลื่อนมาดูด้านล่างของหน้าเว็บก็จะมีลิ้งค์ต่างๆ สำหรับผู้ขายภาพดังรูปที่ 8 ครับ

รูปที่ 8 - เมนูด้านล่างสุด

สำหรับการอัพโหลดรูปถ่ายเพื่อส่งตรวจ และส่งรูป Passport ผมขอยกไปบล็อกหน้าน่ะครับ เพราะเรื่องมันยาวครับ ^^

ติดตามอ่าน "การสมัครขายภาพออนไลน์ที่ 123RF (Part 2)" กันได้แล้วครับผม :)

Tuesday, July 24, 2012

การเตรียมตัวสำหรับส่งรูปขายออนไลน์ Part 2

จากบล็อกที่แล้วได้แนะนำการเตรียมตัวเบื้องต้น ตั้งแต่ทำหนังสือเดินทางไว้ยืนยันตัวตนกับทางตัวแทนขายภาพ จากนั้นก็สมัคร PayPal เพื่อเอาไว้รับเงินโอนจากตัวแทนขายภาพเมื่อมีรายได้ถึงยอดที่กำหนดไว้ และเรื่องการเตรียมอุปกรณ์ถ่ายภาพ

ในตอนที่ 2 นี้ จะเป็นเรื่องต่อเนื่องจากหัวข้อที่ "4) เทคนิคการภาพ" สำหรับส่งขายออนไลน์ โดยเกริ่นนำไปแล้ว 2 หัวข้อคือ

     4.1) ต้องไม่ใช้ภาพแนว Snapshot
     4.2) ต้องเป็นภาพที่คมชัด



เรามาต่อในหัวข้อถัดไปกันเลยครับ

     4.3) ต้องเป็นภาพที่วัดแสงพอดี
คำว่าแสงพอดี ก็เป็นเรื่องน่าปวดหัวเหมือนกันครับ บางรูปที่เราคิดว่าแสงโอเคแล้ว ไม่น่าจะมืดไป (Under) หรือสว่างเกินไป (Over) ก็อาจจะคาดผิดได้ มันขึ้นอยู่หลายปัจจัย เช่น รูปเราถ่ายมาแสงพอดีแล้ว แต่เมื่อนำมาดูผ่านจอคอมพิวเตอร์แล้วทำไมดูมืดผิดปกติ หรือดูสว่างไป หรือค่าระดับความเปรียบต่างของแสงสูงมาก (Constrast) หรือไม่ก็ดูสีมันเพี้ยนๆจากที่เคยเห็นใน LCD ของกล้อง ปัญหาแรกคือจอภาพที่ดูยังไม่ได้ปรับหน้าจอให้ได้มาตราฐาน (Monitor Color Calibration) เบื้องต้นก็ลองค้นหาวิธีการปรับจอผ่านเน็ตดูก่อนน่ะครับ มีหลายเว็บแนะนำไว้แล้ว เช่น http://www.wikihow.com/Calibrate-Your-Monitor (ถ้ามีเวลาจะมาอธิบายวิธีปรับจออีกที)

เมื่อแก้ปัญหาหน้าจอคอมพิวเตอร์แสดงแสงและสีได้ถูกต้องแล้ว ก็มาถึงคราวของข้อมูลต้นทางอย่างตัวภาพถ่ายกันครับ ในการตัดสินภาพถ่ายว่าแสงพอดีหรือยัง ไม่มืดไป ไม่สว่างไป หลายคราก็อาศัยประสบการณ์ของช่างภาพเอง แต่ก็มีตัวช่วยอยู่เหมือนกัน นั่นคือกราฟฮีสโตแกรม "Camera Histogram" หรือกราฟแสดงความมืด-สว่าง ของภาพถ่าย

ตัวอย่างภาพและกราฟ Histogram

กราฟ Histogram นี้จะมีให้ดูในตัวกล้องเองและทั้งโปรแกรมแต่งภาพทั่วไป โดยถ้ากราฟส่วนใหญ่เอียงไปทางซ้ายมือแสดงว่าภาพจะมืดไป ถ้าเอียงไปด้านขวามือมากๆแสดงว่าภาพสว่างไป ถ้ากราฟกองอยู่ตรงกลางเป็นส่วนใหญ่ นั่นก็ถือว่าแสงพอดีแล้ว ดังนั้นเป็นตัวช่วยตรวจเช็คความพอดีของแสงในภาพถ่ายได้เป็นอย่างดีครับ

ในหัวข้องวัดแสงพอดีนี้ผมขอใส่เรื่อง "แสงแข็ง" และ "แสงนุ่ม" มาเพิ่มในส่วนนี้ละกัน เพราะลืมใส่ไว้ในหัวข้อใหญ่

"แสงแข็ง" เป็นลักษณ์ภาพที่ทางตัวแทนขายภาพไม่ค่อยชอบ ต่างจาก "แสงนุ่ม" ทางตัวแทนขายภาพจะชอบมากๆ ก็เพราะว่าแสงนุ่มหรือแสงเคลียร์ นั่นคือไม่ว่าถ่ายวัตถุใดๆ ดอกไม้ บุคคล อาหาร ฯลฯ ทุกๆส่วนของภาพจะได้รับแสงพอดี ไม่มีส่วนใดสว่างไป หรือมืดไปจนไม่เห็นรายละเอียด ภาพแนวแสงนุ่มจะขายได้ง่ายกว่าและเป็นที่นิยม

ส่วนภาพที่เป็นแสงเข็ง ก็อาจจะมีวางขายอยู่บ้าง แต่ไม่ค่อยนิยมซื้อกันซักเท่าไหร่ (ยกเว้นว่าภาพนั้นออกแนว Abstract แบบโดนๆ ก็เป็นอีกเรื่องนึง) ดังนั้นการถ่ายภาพหรือคัดเลือกภาพถ่ายก็ไม่ควรเลือกภาพแสงแข็งส่งไปขายเพราะส่วนใหญ่จะไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ตรวจภาพ ดูตัวอย่างดังรูปด้านล่างครับ

ตัวอย่างภาพที่มีแสงแข็งเกินไป

ตัวอย่างภาพที่มีแสงนุ่ม :)

     4.4) ต้องเป็นภาพที่ไม่มี Noise
Noise คือจุดเล็กๆ ที่อยู่ในภาพหรือความหยาบกระด้างในภาพ (ผมใช้คำซ่ะดูรุ่นแรง) ภาพที่มี Noise เยอะๆ จะไม่ค่อยเป็นที่นิยมซื้อจากลูกค้า เพราะถือว่าภาพนั้นมีตำหนิหรือไม่ค่อยสมบูรณ์ เปรียบดั่งเวลาเราไปซื้อผลไม้ เราก็ต้องการผลไม้สดๆ ผิวสะอาดๆ และไม่มีริ้วรอยใดๆ ยกเว้นไม่มีให้เลือก 555+

แน่นอนเหล่าลูกค้าที่จะซื้อภาพ เขาก็ต้องเลือกภาพที่คุณภาพดีที่สุด มีตำหนิน้อยสุด ดังนั้นทางผู้ส่งภาพขายก็ต้องส่งผลงานคุณภาพไปให้ลูกค้าเลือกด้วยเช่นกัน ซึ่งปัญหา Noise นี้ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไรมาก เพราะเราสามารถควบคุมมันได้ ปัญหา Noise เกิดจากสองสาเหตุ หนึ่งเกิดจากการตั้ง ISO สูงๆ และสองเกิดจากการเปิดหน้ากล้อง (Shutter Speed) นานๆ ปกติแล้วผมจะตั้งค่า ISO ไว้ที่ 100-200 สูงสุดไม่เกิน 400 เพราะถ้ามากกว่านั้น Noise จะเริ่มเยอะมากครับ

ภาพที่ถ่าย ISO สูง ก็จะมี Noise เกิดขึ้น

ในหัวข้อนี้ผมจะรวมเรื่อง "ฝุ่น" ที่เกาะอยู่บนเซ็นเซอร์รับภาพ แล้วส่งผลให้เกิดเป็นเม็ดฝุ่นขึ้นในภาพ ถ้ามีฝุ่นหรือพวก Hot Pixel ปรากฎอยู่ในภาพ ถ้าทำได้ก็ต้องลบฝุ่นออกให้หมด ก่อนส่งภาพขายด้วยน่ะครับ

ตัวอย่างภาพที่มีเม็ดฝุ่นปรากฏให้เห็น

     4.5) ต้องเป็นภาพที่สีไม่เพี้ยน
ภาพสีเพี้ยน หมายถึงภาพที่ปรับสมดุลย์สีขาว (White Balance - WB) ไม่ถูกต้อง จึงทำให้สีเพี้ยนจากความเป็นจริงที่ควรจะเป็น เช่นเราตั้งใจถ่ายกระดาษสีขาว แล้วตั้ง WB ผิด จากกระดาษสีขาวอาจกลายเป็นกระดาษสีฟ้าหรือสีเหลืองก็เป็นได้ ปกติเรื่อง WB ผมเองก็ไม่ค่อยแม่นเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ผมเลยถ่ายเป็น RAW เอาไว้ก่อนทุกรูป จากนั้นค่อยมาปรับแต่งผ่านโปรแกรม Camera Raw ใน photoshop อีกที

แต่ถ้าช่างภาพคนไหนแม่นเรื่องนี้แล้วก็สามารถปรับแต่ง WB ให้ถูกต้องเสียตั้งแต่ตอนถ่าย จะได้ไม่เหนื่อยตอนแต่งภาพ (Post Processing) ผมเองก็มีภาพเก่าๆที่ถ่ายไว้เป็น JPG เกือบหมด ก็มาเลือกภาพที่สีไม่เพี้ยนส่งขายก็พอมีอยู่บ้าง ส่วนภาพสีเพี้ยนก็มีอยู่เยอะ ก็อาศัยต้อง photoshop เพื่อแก้สีอีกทีครับ

ตัวอย่างภาพสีเพี้ยน
จากรูปถ่ายด้านบน ผมถ่ายรูปสร้อยตั้งอยู่บนกระดาษสีขาว และใช้โคมไฟฟลูออเรสเซนต์ ตอนถ่ายก็ไม่ได้สนใจเรื่อง WB พอถ่ายออกมาสีก็เลยเพี้ยน เป็นโทนสีฟ้าแทนที่จะเป็นโทนสีขาว

อีกประเด็นปัญหาคือภาพมี "ขอบม่วง" (Chromatic aberration) หรือภาพที่ถ่ายย้อนแสงแล้วจะเกิดขอบสีม่วงๆ บริเวณขอบวัตถุ ภาพที่มีขอบม่วงเยอะๆ ก็อาจจะไม่ผ่านการพิจารณาตัวแทนขายภาพ ขั้นต้นภาพแนวย้อนแสงก็ต้องดูก่อนว่ามีขอบม่วงหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องแก้ไขเอาขอบม่วงออก ก่อนส่งขายครับ


     4.6) ต้องเป็นภาพที่มีองค์ประกอบที่ดี
การจัดองค์ประกอบภาพ (Composition) ในส่วนนี้ก็มีประเด็นเยอะในการตัดสินว่าองค์ประกอบภาพนี้ดีหรือไม่ดี บางครั้งภาพถ่ายของเราก็ตั้งใจถ่ายแนวอาร์ตๆ อยากถ่ายนางแบบมุมแปลกๆ อยากถ่ายแนวขอบฟ้าแบบเอียงๆ เลือกถ่ายภาพอาหารแบบครึ่งจาน อะไรทำนองนี้ ซึ่งคำว่าองค์ประกอบภาพดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของคนตรวจภาพ (Inspector) บางคนก็ให้ผ่านง่ายๆ บางคนก็ผ่านยากครับ

การจัดองค์ประกอบภาพมันไม่มีกฏตายตัวครับ กฎคือไม่มีกฎ ดังนั้นผมเลยคัดรูปที่ไม่ผ่านเพราะเหตุผลจัดองค์ประกอบภาพไม่ดี(ตรวจโดย Shutterstock) มาให้ดูเป็นตัวอย่างละกันครับ

รูปตัวอย่างภาพที่ไม่ผ่านเพราะเหตุผล Composition

     4.7) ต้องเป็นภาพที่ไม่มีโลโก้สินค้าใดๆอยู่ในภาพ
ภาพที่เลือกส่งขายออนไลน์มีกฎอยู่ข้อนึงที่ต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด คือห้ามมีโลโก้สินค้าใดๆอยู่ในภาพนั้น และรวมไปถึงสิ่งใดๆก็ตามที่มีรูปลักษณะที่มีเจ้าของลิขสิทธิ์ที่ชัดเจน เช่น ตุ๊กตาโดเรมอน ก็มีเจ้าของลิขสิทธิ์น่ะครับ

รูปที่เราถ่ายเพื่อนำไปขาย จะถูกตีความหมายว่าใช้เพื่อการค้า นั่นคือเอารูปนั้นไปขายแล้วเอาเงินเข้ากระเป๋าเราเอง ซึ่งไม่ดีเป็นแน่ถ้าเรานำเอาลิขสิทธิ์ของผู้อื่นไปแสวงหากำไร ดังนั้นเรื่องนี้จากตัวแทนขายภาพก็ป้องกันปัญหาที่จะตามมา จึงไม่รับภาพที่มีโลโก้หรือไม่ก็สิ่งของใดๆก็ตามที่มีการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ไว้แล้ว

ดังนั้นเวลาถ่ายภาพ เราก็ต้องเลือกถ่ายในสิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์ ไม่มีโลโก้ เป็นกฎเบื้องต้นครับ ตัวอย่างเช่น อยากถ่ายรูปเสือยืดเพื่อขาย สิ่งที่ต้องระวังอยางแรกคือโลโก้ยี่ห้อเสื้อ ถัดมาถ้ามีลายสกรีนบนเสื้อก็ต้องระวังด้วยเพราะอาจจะเป็นลายที่มีเจ้าของผลงานอยู่ เช่น มีลายกรีนรูปนก Angry Birds หรือ Mickey Mouse อย่างนี้ก็ไม่ผ่านแน่นอน ปัญหาเหล่านี้รวมไปถึงห้ามไปถ่ายผลงานศิลปะภาพวาด ประติมากรรม อะไรทำนองนี้ เพราะถือว่าไปละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นด้วยครับ

กรณีที่เคยถ่ายรูปที่มีโลโก้ไว้ ก็สามารถแก้ไขโดยการใช้กำลังภายในวิชา Photoshop ช่วยในการ Retouch ออกให้หมดก่อนส่งขายครับ ผมก็โดนประเด็นนี้พอสมควร เช่น ถ่ายรูปเรือประมง ซึ่งข้างเรือประมงไทยส่วนใหญ่จะมีชื่อเรือเขียนลวดลายไว้ ซึ่งลวดลายที่ว่านี้ก็ทำให้ไม่ผ่าน ถ้าจะให้ผ่านก็ต้อง Retouch ชื่อเรือออกก่อนครับ  (- -")

รูปที่โดน rejected เพราะประเด็นเรื่อง Trademark

จากรูปด้านบนที่โดน Rejected ในประเด็นปัญหา Tradmark อย่างรูปแรกเป็นรูปปั้นกินรีในวัดพระแก้ว ปกติรูปที่ผมส่งไปขายแบบไม่ตัดขอบ (Die Cut) ทางผู้ตรวจก็ให้ผ่าน ก็คงเห็นว่าเป็นศิลปะที่อยู่ในวัด แต่พอผมไดคัทเอาฉากหลังออก พอส่งไปอีกรอบ ก็โดนประเด็น Tradmark ทันทีครับ ส่วนรูปเรือก็ดังที่ได้ยกตัวอย่างไป สำหรับอีกรูปก็เป็นฟิล์มถ่ายรูป ผม Retouch คำว่า Kodak ออก ก็คิดว่าแค่นี้คงพอแต่ที่ไหนได้ก็ไม่ผ่านเหมือนกัน ผมว่าน่าจะโดนตรงคำว่า SUPER CLEAR 400 สำหรับรูปสุดท้าย รถไฟไทย ก็โดนเรื่อง Tradmark ได้ด้วยน่ะครับผม :)

แนวทางแก้ปัญหาอย่างนึงสำหรับรูปที่มีโลโก้หรือสิ่งที่ทางตัวแทนขายภาพกังวลเรื่องลิขสิทธิ์ เราสามารถส่งไปขายได้ โดยส่งขายในประเภท "Editorial" หรือ "ภาพข่าว" ซึ่งประเภทนี้สามารถมีโลโก้อยู่ในภาพได้ ยกตัวอย่างใกล้ๆ นี้จะมีกีฬาโอลิมปิกที่ประเทศอังกฤษ แล้วมีช่างภาพสมัครเล่นไปถ่ายภาพการแข่งขันกีฬาวิ่งไว้ ซึ่งก็ต้องมีโลโก้ Adidas บนเสื้อ บนกางเกง บนรองเท้า และโลโก้สปอนเซอร์ตามป้ายข้างสนามอยู่ในภาพแน่นอน ถ้าเขาส่งรูปนี้ไปขายออนไลน์ ก็ต้องส่งแบบ Editorial ซึ่งแน่นอนทางตัวแทนขายภาพยินดีรับรูปพวกนี้เป็นอย่างมาก เพราะมีสำนักข่าวทั่วโลกที่ไม่มีช่างภาพมาถ่ายภาพข่าวได้ที่ประเทศอังกฤษ ต่างก็รอซื้อภาพเหล่านี้อยู่ ^^


     4.8) ต้องเป็นภาพที่ไม่แต่งภาพจนโอเวอร์
การปรับแต่งภาพ (Post Processing) เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอนในวงการดิจิตอล อยู่ที่ว่าจะปรับแต่งมากหรือน้อยแค่นั้้นเอง สำหรับทางไมโครสต็อกหรือตัวแทนขายรูปเอง ก็อยากได้รูปในแบบที่ไม่ต้องปรับแต่งมาก เพราะเวลาลูกค้าซื้อรูปไปก็อาจจะนำไปปรับแต่งต่ออยู่แล้ว เช่น ถ้าเรานำภาพมาปรับค่าระดับความเปรียบต่าง (Contrast) เยอะๆ เพื่ออยากให้าภาพเด่นขึ้น ไปปรับความอิ่มตัวของสี (Color Saturation) ให้สีจัดขึ้น ไปปรับความคมชัด (Sharpen) ขึ้นเพื่อให้ภาพคมชัดมากชึ้น คุณภาพของรูปถ่ายก็จะด้อยลง และเมื่อลูกค้าต้องการนำไปปรับแต่งไปอีกแบบ(ที่ไม่เหมือนกับเราปรับไว้) ก็จะยิ่งลำบากมากกว่าส่งรูปถ่ายแบบเดิมๆ ดังนั้นจะเป็นการดีกว่าที่ต้องการรูปถ่ายที่ไม่ต้องปรับแต่งอะไรมาก

ตัวอย่างรูปที่ปรับแต่งมากเกินไป

จากรูปด้านบนถ้ามองแบบเผินๆ รูปที่ปรับแต่งมากๆ ก็มองแล้วดูเด่นและสวยดี ทำให้รูปที่ปรับแต่งมาน้อยดูหมองไปเลย แต่นั้นแหละครับ รูปที่ปรับแต่งมาน้อยจะมีคุณภาพไฟล์ดีกว่านำไปใช้งานได้ยืดหยุ่นกว่าครับ

การปรับแต่งแบบไหนหละที่เรียกว่ามากเกินไป อันนี้เป็นจุดที่ต้องลองปรับดูครับ 555+ มันระบุชัดๆ ไม่ได้จริงๆ มันก็แล้วแต่รูปถ่ายนั้นเป็นอย่างไร ถ้าเอาแบบสไตล์ผมก็คือต้องปรับแต่งบ้าง ไม่งั้นภาพของเราจะดูหมองๆ ไม่โดดเด่น เพราะคู่แข่งที่ขายอยู่ก็เยอะแยะทั่วโลก ส่วนใหญ่ที่ผมปรับก็มีความสว่างของภาพขึ้นนิดหน่อย ปรับความเปรียบต่างบ้าง ปรับสีให้เข้มขึ้นนิดนึง ปรับความคมชัดนิดเดียว แล้วที่เหลือก็มี Corp ภาพบ้าง แก้ WB บ้าง Retouch สิ่งกวนตาออกบ้าง ก็ปรับเยอะเหมือนกันเนอะ 555+

ตัวอย่างรูปก่อนและหลังปรับแต่ง(นิดหน่อย)

จากรูปเมล็ดกาแฟ ก็มีการปรับแต่งบ้าง ตั้งแต่ Crop ภาพ ปรับแสงให้สว่างขึ้น ปรับความเปรียบต่างนิดหน่อย ปรับแก้ WB แล้วก็เพิ่มความคมชัดนิดนึงครับ ^^

     4.9) ถ้ามีรูปคนอยู่ในภาพต้องมีเอกสารเซ็นยินยอมจากคนนั้น
รูปถ่ายแนวบุคคลส่วนใหญ่ถ้าสื่ออารมณ์ดีๆ ก็จะขายได้ดีมาก แต่รูปถ่ายที่มีคนอยู่ด้วยจะต้องมีเอกสารยินยอมจากคนคนนั้นก่อน ซึ่งทางตัวแทนขายภาพทุกแห่งก็มีแบบฟอร์ม (Model Release Form) เหล่านี้ เตรียมให้ช่างภาพดาว์นโหลดไปให้ตัวแบบเหล่านั้นเซ็นต์ยินยอม

รูปถ่ายที่มีคนอยู่ในรูปด้วยนั้น อาจจะเห็นทั้งตัว(หัวจรดเท้า) หรือเห็นแค่บางส่วน แต่ถ้าพอระบุตัวตนได้ว่าเป็นใคร ก็ต้องส่งแบบฟอร์ม Model Release ครับ ในบางกรณีอาจจะไม่ต้องแนบแบบฟอร์ม Model Release เช่น ถ่ายแค่บางส่วนของร่างกาย อาทิ แขน ขา เท้า นิ้วมือ สะดือ ฯลฯ โดยถ้ารูปไหนทางผู้ตรวจเห็นว่าควรแนบ Model Release ก็จะโดน Rejected ดังรูปด้านล่างครับ

ตัวอย่างรูปที่ไม่ผ่านเพราะไม่ได้แนบ Model Release

จากรูปคน 2 คนเดินเที่ยววัดแถวอยุธยา ผมคิดว่าเห็นข้างหลังไกลๆ คงไม่เป็นไร ก็ส่งขายแบบธรรมดา แต่แล้วก็ไม่รอดครับ

ส่วนใหญ่การถ่ายรูปที่มีนางแบบ/นายแบบ อยู่ในรูป ช่างภาพแนวสต๊อกหลายๆคน จะไม่เลือกรูปแนวนี้ส่งไปขายในช่วงแรก เพราะกระบวนการมันเยอะและยุ่งยากกว่า ก็รวมตัวผมเองด้วย ช่วงแรกๆ ก็ส่งแต่ รูปดอกไม้ ใบหญ้า วัด พระพุทธรูป ผลไม้ ฯลฯ เพราะง่ายกว่ากันครับ

สำหรับรูปแนวงานประเพณี กิจกรรมต่างๆ ที่มีคนอยู่ร่วมในงานจำนวนมาก เราสามารถส่งรูปแนวนี้ขายได้ ให้ส่งขายในแบบ "Editorial" ครับ

     4.10) ถ้ามีรูปสิ่งก่อสร้างอยู่ในภาพต้องมีเอกสารเซ็นยินยอมจากเจ้าของสิ่งก่อสร้างนั้น
สุดท้ายแล้วครับสำหรับข้อแนะนำเบื้องต้นในการพิจารณาเลือกรูปสำหรับส่งขายออนไลน์ ในหัวข้อนี้ก็คล้ายๆ กับหัวข้อก่อนหน้านี้ เพียงแต่เปลี่ยนจากคนมาเป็นสิ่งปลูกสร้าง โดยเรียกแบบฟอร์มสำหรับเซ็นต์ยินยอมจากเจ้าของสิ่งปลูกสร้างว่า "Property Release"

คงไม่ใช่ว่าสิ่งปลูกสร้างทุกสิ่งจะต้องแนบเอกสารยินยอมหมดทุกกรณีหรอกครับ เช่น กระท่อมปลายนา บ้านเรือนทั่วๆไป ก็ไม่ต้องแนบครับ แต่ถ้าสิ่งปลูกสร้างนั้นดูแล้วมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ตึกของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีเอกลักษณ์เด่นชัดมากๆ พอเห็นรูปปุ๊ปเจ้าของตึกรู้ได้ทันทีว่าเป็นตึกของเขา อันนี้นี่แหละที่ควรส่งเอกสารยินยอม

เท่าที่ผมส่งรูปมาโดนประเด็นนี้น้อยน่ะครับ อาจเพราะผมไม่ค่อยส่งรูปตึกราบ้านช่องเท่าไหร่ แต่รูปแนววัด โบสถ์ เกี่ยวกับศาสนาก็ไม่ค่อยโดนเรื่องนี้น่ะครับ ผู้ตรวจคงอนุโลมให้เพราะเป็นสิ่งก่อสร้างสาธารณะ

สำหรับรูปที่มีสิ่งก่อสร้างที่คาดว่าจะโดนให้แนบเอกสารยินยอม Property Release ก็ส่งขายแบบ "Editorial" แทนก็ได้ครับ ในส่วนตัวผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ยากมากในการที่จะให้เจ้าของตึกใหญ่ๆ อย่างเช่น "ตึกใบหยก" มาเซ็นต์เอกสารให้กับช่างภาพมือสมัครเล่นอย่างเรา จริงป่ะ 555+

5). เริ่มต้นการขายรูป
ผ่านไปแล้วสำหรับกฎ 10 ข้อ ในการถ่ายรูปและคัดเลือกรูปสำหรับส่งขายออนไลน์ มาถึงหัวข้อนี้เป็นการแนะนำ การเริ่มส่งรูปขายไปยังตัวแทนขายภาพ (Micro stock agencies) ผมขอแนะนำ 5 เว็บชั้นนำ โดยเรียงจากง่ายไปยากตามประสบการณ์ของผมน่ะครับ

     1. 123RF  (ดูบล็อกอธิบายการสมัครขายรูปที่ 123RF)
     2. Dreamstime (ดูบล็อกอธิบายการสมัครขายรูปที่ Dreamstime)
     3. Fotolia
     4. Shutterstock
     5. iStockphoto

สำหรับการเริ่มต้น ผมแนะนำให้สมัครขายรูปที่ 3 เว็บแรกนี่ก่อน คือ 123rf, Dreamstime และ Fotolia จากนั้นก็คัดเลือกรูปที่ผ่านการอนุมัติจากทั้ง 3 เว็บ จำนวน 10 รูปที่ดีที่สุด เพื่อส่งไปสอบที่เว็บ Shutterstock แล้วเมื่อสอบผ่านแล้ว ก็ให้คัดเลือกรูปที่ดีที่สุดจาก Shutterstock จำนวน 3 รูปที่ดีที่สุดมากๆ (ต้องดีมากจริงๆ) เพื่อส่งไปสอบที่ iStock ครับผม

ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพกันน่ะครับ ^^